สุนทรียะการจัดองค์ประกอบภาพในงานวิดีโอแนวตั้ง

Last modified: January 7, 2025
Estimated reading time: 1 min
ชื่อเรื่อง: สุนทรียะการจัดองค์ประกอบภาพในงานวิดีโอแนวตั้ง
Title: Esthetic of Composition in Vertical Video
ผู้วิจัย:
Researcher:
อาจารย์ณัฐวุฒิ สิงห์หนองสวง – Mr. Nutthawut Singnongsaung
หลักสูตรที่สอน:
Degree:
นศ.บ. (ภาพยนตร์ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล) – B.Com.Arts. (Film Television and Digital Media)
สาขาที่สอน:
Major:
นิเทศศาสตรบัณฑิต – Bachelor of Communication Arts Program
สังกัดคณะวิชา:
Faculty of study:
นิเทศศาสตร์ (Communication Arts)
ปีการศึกษา:
Academic year:
2567 (2024)
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่:
Published:
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2567 หน้า 370-381 | Journal of Humanities and Social Sciences Nakhon Phanom University Vol.14 No.3 September – December 2024, pp.370-381  Click  คลิก  PDF

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายลักษณะการจัดองค์ประกอบที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานวิดีโอแนวตั้ง และเป็นแนวทางการใช้ประโยชน์ในการสื่อสารผ่านวิดีโอแนวตั้งที่กำลังได้รับความนิยมตอบสนองพฤติกรรมการรับชมสื่อแนวตั้งของผู้ใช้งานในปัจจุบันการสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือในรูปแบบสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต ซึ่งเปรียบเสมือนช่องทางการสื่อสาร (Channel) ได้เปลี่ยนลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวนอนมาเป็นแนวตั้ง ดังนั้นภาพที่ใช้ในการสื่อสารผ่านสื่อ จึงได้เปลี่ยนรูปลักษณ์ตามลักษณะของช่องทางการสื่อสาร โดยที่ องค์ประกอบของสร้างสรรค์ผลงานวิดีโอแนวตั้งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ เช่น กฎของที่ว่าง กฎสามส่วน ฉากหน้า ความสมดุล มุมภาพ และขนาดของภาพ ซึ่งการวางบุคคลหรือวัตถุให้อยู่ตรงกลางของภาพเพื่อให้ผลงานภาพเคลื่อนไหวในแนวตั้งมีความสวยงามด้านศิลปะและนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการสื่อสารต่อไป ข้อควรระวังในการถ่ายวิดีโอแนวตั้งคือการรักษาสมดุลของภาพ คือการเหลือพื้นที่ว่างของภาพโดยเฉพาะด้านบนหรือด้านล่างของภาพไม่ควรเหลือพื้นที่ว่างมากเกินไป พื้นที่ของวิดีโอแนวตั้งจะมีพื้นที่ให้วางอักษร หรือกราฟิกประกอบน้อย ดังนั้นในกรณีต้องใช้อักษรหรือกราฟิกประกอบควรเหลือพื้นที่ในการวางโดยสามารถวางทับตัวบุคคลหรือวัตถุในภาพได้ซึ่งขนาดภาพที่เหมาะสมจะเป็นภาพระยะปานกลาง และภาพระยะไกล จุดเด่นขององค์ประกอบภาพวิดีโอแนวตั้งคือความลึกหรือทัศนมิติ (Perspective)ของภาพ

คำสำคัญ: วิดีโอแนวตั้ง, การจัดองค์ประกอบภาพ, สุนทรียะ, ขนาดภาพ, สมาร์ตโฟน


Abstract

This academic articleaims todescribethe appropriate composition techniques for vertical video applicationsandto provide applicative guidelines for communication through vertical videos, which are popular in response to the current vertical viewing behavior of users. As communication through mobile devices such as smartphones and tablets has shifted from horizontal to vertical orientation, the visual content has also changed. The elements of vertical video creation that can be applied include the rule of negative space, the rule of thirds, foreground, balance, camera angle, and image size. Positioning subjects or objects in the center of the frame can enhance the artistic value of vertical motion graphics and improvecommunication effectiveness. In vertical video shooting, it is crucial to be careful of thebalance by ensuring the empty space, especiallyat the top or bottom of the frame, should not be tooexcessive. Due to the limited space in vertical videos, placing text or graphics may require overlapping with subjects or objects in the frame. Medium and long shots are generally considered suitable for vertical videos. The distinguishing feature of vertical video composition is the depth or perspective of the image

Keywords: Vertical Video; VisualComposition; Aesthetics; Image Size; Smartphones


อาจารย์ณัฐวุฒิ สิงห์หนองสวง – Mr. Nutthawut Singnongsaung. 2567 (2024). สุนทรียะการจัดองค์ประกอบภาพในงานวิดีโอแนวตั้ง – Esthetic of Composition in Vertical Video. บทความ (Paper). สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์|Social Sciences and Humanities. นิเทศศาสตร์ (Communication Arts). นิเทศศาสตรบัณฑิต – Bachelor of Communication Arts Program. นศ.บ. (ภาพยนตร์ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล) – B.Com.Arts. (Film Television and Digital Media). Bangkok: Siam University

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 14
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print