ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเงิน แอพพลิเคชั่น Mobile Banking ของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร

Last modified: January 10, 2020
You are here:
Estimated reading time: 1 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเงิน แอพพลิเคชั่น Mobile Banking ของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร
Factors that influence to accept financial technology Mobile Banking application of service users in Bangkok
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวศุภิสรา คุณรัตน์
Miss Suphisara  Khunrat
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร. พิเชษฐ์  มุสิกะโปดก
Dr.Pichet Musikapodok
ระดับการศึกษา:
Degree:
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
Master of Business Administration
สาขาวิชา:
Major:
การเงินและการธนาคาร
Finance and Banking
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง/citation

ศุภิสรา คุณรัตน์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเงิน แอพพลิเคชั่น Mobile Banking ของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่น และคุณภาพการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเงินแอพพลิเคชั่น Mobile Banking ของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคือ ผู้ใช้บริการแอพพลิเคชั่น Mobile Banking ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์อนุมาน ได้แก่ Independent Sample t-test ,One-way Analysis of Variance, Multiple Regression Analysis ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามโดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 26-35 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ/ข้าราชการ รายได้เฉลี่ย 15,000- 30,000 บาทต่อเดือน  การทดสอบสมมติฐานปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเงินแอพพลิเคชั่น Mobile Banking ของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานครได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และ ความถี่ในการใช้บริการ ส่วนคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ ด้านความสามารถของระบบ มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเงินแอพพลิเคชั่ Mobile Banking ของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร มากที่สุด (β = 0.361)

คำสำคัญ: แอพพลิเคชั่นโมบายแบงก์กิ้ง, การยอมรับเทคโนโลยี, การให้บริการอิเล็กทรอนิกส์


Abstract

The objectives of the research were to study the personal factors and behavioral factors for the usage of Mobile Banking applications and e-service quality that influenced the acceptance of Mobile Banking applications in Bangkok.

The sample group of this study was 400 Mobile Banking application users living in Bangkok, by using questionnaires as a tool to collect data. The statistics used in this research were descriptive statistics such as frequency, percentage, mean and standard deviation, including the inferential analytical statistics such as Independent Sample t-test, One-way Analysis of Variance, Multiple Regression Analysis at 0.05 statistically significant level.

The results of the study showed that most respondents were female, aged between 26-35 years, obtained undergraduate degree, worked as enterprise employee/civil servants and had average income per month of 15,001- 30,000 Baht. For the assumption test, the fators that effected the acceptance of Mobile Banking applications in Bangkok were age, educational level, occupation and the frequency of usage Mobile Banking applications. As for e-service quality, the ability of the system had the most influence on the acceptance of Mobile Banking application in Bangkok (β = 0.361)

Keywords:  Mobile Banking applications, Technology acceptance, E-service.


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเงิน แอพพลิเคชั่น Mobile Banking ของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร  / Factors that influence to accept financial technology Mobile Banking application of service users in Bangkok

Master in Business Administration (MBA), Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 1
Views: 6697
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code