ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Last modified: January 25, 2020
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
The effect of marketing mix on students’ choice of postgraduate  education in Buddhist studies at Mahachulalongkornrajavidyalaya University
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวอารยา ทองโชติ
Ms. Araya Tongchot
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร.รุ่งโรจน์ สงสระบุญ
Dr. Rungroje Songsraboon
ระดับการศึกษา:
Degree:
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
Master of Business Administration
สาขาวิชา:
Major:
การตลาด
Marketing
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง/citation

อารยา ทองโชติ. (2561). ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงปัจจัยส่วนบุคคลของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ปีการศึกษา 2560 จำนวน 480 คน  กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 218 คน จากการคำนวณตามสูตรของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane)  ที่ระดับความเชื่อมั่น .05 เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามเกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาด ตามแนวคิดของคอตเลอร์ (Kotler) บูมส์ และบิทเนอร์ (Boom &. Bitner, 1981)  และ นักการตลาดชื่อ Maringe (Maringe, 2005) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบความสัมพันธ์แบบไคสแควร์

ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง  มีอายุเฉลี่ย 40-49 ปี  ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี  มีอาชีพเป็นข้าราชการ/รัฐวิสากิจ  และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อของนิสิต โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้ง 7 ด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมาคือ ด้านบุคลากร  ด้านราคา ด้านสถานที่ ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการส่งเสริมการตลาดตามลำดับ  สำหรับผลทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้แก่ ระดับการศึกษา และรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05

 

คำสำคัญ: ส่วนประสมการตลาด, การตัดสินใจศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา, สาขาพระพุทธศาสนา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


Abstract

In this research, the objectives were to study the Personal Factors of Graduate schools’ students who enrolled in the program of Buddhist Studies, Mahachulalongkornrajavidyalaya University and the marketing mixed factors affecting the making decision in pursuing graduate studies in the mentioned university. The research methodology employed in this research was a Quantitative one. 480 populations of Graduate school, Mahachulalongkornrajavidyalaya University who enrolled in the academic year of 2017 were purposively used. 218 populations were also used as its Sample through the technique of Taro Yamane and its confidence level was at .05. In this research, questionnaires concerning the marketing strategies based on Kotler’s, Boom & Bitner’s and Maringe’s ideas were used as the research tool. Percentage, Means and Standard Deviation were employed in the statistical analysis and then the Chi-Square Test was used to evaluate its relationship respectively.

In the research, it was clearly found that: 1) most of answered questionnaires were given by men more than women, their ages were approximately 40-49 and by and large they completed Bachelor degree and worked in the government sector/state enterprises where they earned 40,001 up in a month, 2) the marketing mixed factors were affecting the making decision in studying which were at most level averagely, in taking seven factors in each domain into account it was found that the highest average domain was of the production, personnel, price, place, process in service and physical aspect. In this, the promotion of market was of less average level respectively. As regards the test of hypothesis in this research, it clearly showed that the demographical factors of the Graduate school s’ students in terms of the educational level and the average income in each month were affecting student’s making decision in pursuing higher education of the program of Buddhist Studies, Mahachulalongkornrajavidyalaya University which were at .05 in the statistical significance.

 

Keywords:  marketing mix, students’s choice of postgaduate, education, buddhist studies, mahachulalongkornrajavidyalaya university.


 

ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Master in Business Administration (MBA), Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 530
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code