- KB Home
- หลักสูตรปริญญาตรี|Bachelor Degree
- คณะศิลปศาสตร์
- -สาขาวิชาการโรงแรม
- หมอนเพื่อสุขภาพจากเมล็ดมะขาม
ชื่อโครงงาน: Project Title: |
หมอนเพื่อสุขภาพจากเมล็ดมะขาม Healthy Pillow From Tamarind Seeds |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นางสาวอาริสา ศรีทองปลอด Ms. Arisa Srithongplod นางสาวอาริญา ยอดโรจน์ Ms. Ariya Yodrod |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
อาจารย์ จินต์จุฑา ไชยศรีษะ Ms. Jinjuta Chaisrisa |
ระดับการศึกษา: Degree: |
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) Bachelor of Arts (Liberal Arts) |
ภาควิชา: Major: |
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ Tourism and Hospitality Industry |
คณะ: Faculty: |
ศิลปศาสตร์ Liberal Arts |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
2/2565 2/2022 |
การอ้างอิง/citation
อาริสา ศรีทองปลอด และ อาริญา ยอดโรจน์. (2565). หมอนเพื่อสุขภาพจากเมล็ดมะขาม. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
Srithongplod A., & Yodrod A.. (2022). Healthy pillow from tamarind Seeds. (Cooperative Education). Bangkok: Faculty of Liberal Arts, Siam University.
บทคัดย่อ
โครงงานหมอนเพื่อสุขภาพจากเมล็ดมะขาม มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าที่มาเข้าพัก 2) เพื่อนำวัตถุดิบที่เหลือใช้ในโรงแรมไอบิส กรุงเทพฯ สยาม มาใช้ให้เกิดประโยชน์ 3) เพื่อลดปัญหากลุ่มลูกค้าที่แพ้หมอนขนเป็ด โดยจากการปฏิบัติสหกิจศึกษาในแผนกแม่บ้านของโรงแรมไอบิส กรุงเทพฯ สยาม โดยคณะผู้จัดทำได้เข้าไปปฏิบัติงานแล้ว จึงสังเกตได้ว่าลูกค้าที่เข้ามาพักบางกลุ่มแพ้ขนเป็ด จึงมีความคิดในการเปลี่ยนไส้ด้านในของหมอนในโรงแรม และได้ปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาว่าทดลองนำเมล็ดมะขามมาใช้ในการทำเป็นไส้หมอนแทนขนเป็ดเมล็ดมะขามที่ใช้นำมาจากแผนกครัว และแผนกแม่บ้าน มีการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทำให้เมล็ดมะขามมีจำนวนมาก คณะผู้จัดทำจึงนำมาต่อยอดทดลองทำเป็นหมอน เมล็ดมะขามนำมาทำเป็นไส้หมอนจะช่วยลดอาการปวดเมื่อย คอและศรีษะ ผ้าที่ใช้จะเป็นเศษผ้าที่เหลือใช้จากผ้าปูเตียงทำเป็นไส้หมอนกลิ่นจะใช้เป็นกลิ่นลาเวนเดอร์ จะช่วยในเรื่องของการผ่อนคลายและการนอนหลับ
จากการสำรวจความพึงพอใจของแผนกแม่บ้าน และลูกค้าที่มาใช้บริการ เป็นจำนวน 30 คน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และมีอายุ 20 – 30 ปี ผลจากการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจของหมอนเพื่อสุขภาพจากเมล็ดมะขาม (Healthy Pillow From Tamarind Seeds) สรุปผลจากตารางแสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 4.40
คำสำคัญ: หมอน, เมล็ดมะขาม, สุขภาพ
Abstract
The Healthy Pillow From Tamarind Seeds project aimed: 1) To a guest’s your choice; 2) To use remaining raw materials for maximum benefit in ibis Bangkok Siam; 3) to reduce the problem of customers who are allergic to duck feather pillows. During the cooperative education, as a housekeeping at the Ibis Bangkok Siam, The already started working and has noticed that some guests are allergic to duck feathers. The idea is to change the internal filling of hotel pillows. Used tamarind as pillow filling instead of the tamarind duck feather used in the kitchen and the housekeeping, processed into various products, resulting in a large number of tamarind seeds. Tamarind seeds are used as pillow fillers to alleviate neck and head pain. The fabric used is the remaining fabric on the bed sheet, which is used as pillow filling. The scent is used as lavender. It helps to relax and sleep.
From the employee satisfaction survey of 30 people, it was found that most of the respondents were female, aged 20 – 30 years old. The results of the satisfaction questionnaire for the “Lavender Scented Tamarind Seed Pillow” were summarized in the mean and standard deviation tables. There was a highest level of satisfaction, representing an overall average of 4.40.
Keywords: pillow, tamarind seed, healthy.
หมอนเพื่อสุขภาพจากเมล็ดมะขาม | Healthy Pillow From Tamarind Seeds
Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand