มาตรการทางกฎหมายในการให้ความคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นตามกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์: ศึกษากรณี ขันลงหิน บ้านบุ

Last modified: November 20, 2019
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
มาตรการทางกฎหมายในการให้ความคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นตามกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์: ศึกษากรณี ขันลงหิน บ้านบุ
Legal Measures for The Protection of Traditional Knowledge under Geographical Indication : A Case Study of The Khaneonghin Ban Bu
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นาย สุกิตติ คงสถิตมั่น
Mr. Sukitti Kongsatitmon
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รศ.ดร. ทวีพฤทธิ์ ศิริศักดิ์บรรจง
Assoc. Prof. Dr. Tavephut Sirisakbanjong
ระดับการศึกษา:
Degree:
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
Master of Laws Program
สาขาวิชา:
Major:
กฏหมายเอกชนและกฎหมายธุรกิจ
Private and Business Law
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง/citation

สุกิตติ คงสถิตมั่น. (2561). มาตรการทางกฎหมายในการให้ความคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นตามกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์: ศึกษากรณี ขันลงหิน บ้านบุ. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

ขันลงหิน บ้านบุ เป็นเครื่องโลหะผสมระหว่างดีบุกและทองแดง เป็นสินค้างานหัตถกรรมที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นสินค้าที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน เป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์พิเศษแตกต่างจากสินค้าประเภทเดียวกัน เพราะมีขั้นตอนการทำถึง 7 ขั้นตอน ปัจจุบันมีแหล่งผลิตอยู่ในกรุงเทพมหานคร สินค้าขันลงหิน บ้านบุ จึงนับเป็นผลผลิตทางความคิดของมนุษย์และผลผลิตดังกล่าวได้รับการปกป้องตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
ระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเกิดขึ้นจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความตกลงทริปส์ (TRIPs) ขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งการใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าสินค้าขันลงหิน บ้านบุจึงจำเป็นต้องอาศัยบทบัญญัติกฎหมายหลายฉบับ โดยหนึ่งในบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย พ.ศ. 2546 ในฐานะที่กฎหมายฉบับนี้มีประโยชน์ต่อการปกป้องตลาดทางการค้า ทำให้ผู้บริโภคทราบว่าสินค้านั้นมีคุณภาพ ชื่อเสียง แตกต่างจากสินค้าอื่น และเป็นการมอบสิทธิในการใช้ชื่อทางภูมิศาสตร์แก่สินค้า เป็นการจูงใจให้ผู้ผลิตผลิตสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อไปและก่อให้เกิดการพัฒนาสินค้าสืบเนื่องกันไป แต่ด้วยคำนิยามศัพท์ “สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย พ.ศ.2546 ในปัจจุบันมีความไม่สมบูรณ์ ทำให้ขันลงหิน บ้านบุ ขาดองค์ประกอบ จึงไม่สามารถได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายฉบับนี้

จากปัญหาดังกล่าวจึงเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย พ.ศ. 2546 นั้นสมควรที่จะได้รับการแก้ไขเพิ่มเติม โดยเฉพาะคำนิยามศัพท์ “สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าสินค้าใดบ้างที่สามารถได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายฉบับนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรณี คุณลักษณะเชื่อมโยงระหว่างสินค้ากับแหล่งภูมิศาสตร์ หรือกรณีที่สินค้ามีแหล่งภูมิศาสตร์แห่งหนึ่ง แต่มีขั้นตอนการผลิตบางขั้นตอนนำออกไปทำภายนอกแหล่งภูมิศาสตร์ควรที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายฉบับนี้ ดังนั้นพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย พ.ศ.2546 จึงควรที่จะแก้ไขเพิ่มเติมให้มีขอบเขตการคุ้มครองที่กว้างขึ้นและสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นได้

คำสำคัญ : พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย, งานหัตถกรรม, กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา, ขันลงหิน บ้านบุ, ความตกลงทริปส์


Abstract

The Khaneonghin Ban Bu is a an alloy of tin and copper.It is a handicraft that has come from the past to the present. A product that has been paired with social Thailand for a long time. The product has a unique distinction of offering because of the seven steps in the process of making the product. Current production is in Bangkok and The Khaneonghin Ban Bu is a product derived from human intellect and such product is protected by law on intellectual properties.

Intellectual properties jurisprudence came from an international treaty, in particular, TRIPs Agreement of World Trade Organization (WTO), where the use of intellectual property laws to protect trade commercial benefits of The Khaneonghin Ban Bu. In one of the provisions of the laws, The Geographical Indications Protection Act, B.E. 2546, is useful for protecting the commercial market. Causing consumers to know that the product has quality, reputation and is different from other products and thus granting the right to use geographic name for products, is an incentive for manufacturers to continue to produce products from traditional knowledge and promote continual product development. However, the definition “Geographical Indication” under The Geographical Indications Protection Act, B.E. 2546, is currently incomplete, causing The Khaneonghin Ban Bu to lack specific elements preventing it from being protected by this law.

As a result of this problem, it is evident that The Geographical Indications Protection Act, B.E. 2546, is appropriate to be amended. Especially the terminology “Geographical Indication”, which determines products that can be protected under this law. Whether the case features linking between products with geographic location or the case products has a geographic source, but has some production steps taken outside the geographic location should be protected by this law. Therefore, The Geographical Indications Protection Act, B.E. 2546 (2003), should be amended to provide broader coverage and be in line with current social condition to be able to protect traditional knowledge.

Keyword : The Geographical Indications Protection Act, Handicraft, Law of Intellect Prosperty, The Khaneonghin Ban Bu, TRIPs Agreement


 มาตรการทางกฎหมายในการให้ความคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นตามกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ : ศึกษากรณี ขันลงหิน บ้านบุ Legal Measures for The Protection of Traditional Knowledge under Geographical Indication : A Case Study of The Khaneonghin Ban Bu

Master of Laws Program, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 559
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code