ปุ๋ยน้ำจากเปลือกไข่

Estimated reading time: 1 min
ชื่อโครงงาน:
Project Title:
ปุ๋ยน้ำจากเปลือกไข่
Liquid Fertilizer from Eggshells
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายธนาธิษณ์ พงษ์หิรัญสุชยา
Mr.Thanatit Ponghirunsuchaya
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
อาจารย์ปัญจมา เปมะโยธิน
Miss Panjama  Pemayodhin
ระดับการศึกษา:
Degree:
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
Bachelor of Arts (Liberal Arts)
ภาควิชา:
Major:
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ
Tourism and Hospitality Industry
คณะ:
Faculty:
ศิลปศาสตร์
Liberal Arts
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา:
Semester / Academic year:
2/2565
2/2022

การอ้างอิง/citation

ธนาธิษณ์ พงษ์หิรัญสุชยา. (2565). ปุ๋ยน้ำจากเปลือกไข่. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.

Ponghirunsuchaya T. (2022). Liquid fertilizer from eggshells. (Cooperative Education). Bangkok: Faculty of Liberal Arts, Siam University.


บทคัดย่อ

โครงงานปุ๋ยน้ำจากเปลือกไข่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเอาขยะจากเปลือกไข่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เนื่องจากการประกอบอาหารในแต่ละวันต้องไข่ไก่เป็นส่วนประกอบในอาหารหลายอย่างจึงทำให้มีการทิ้งเปลือกไข่ไก่เป็นจำนวนมาก  นอกจากนี้ผู้จัดทำยังได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ดูแลแปลงปลูกผักปลอดสารพิษไว้ใช้เอง ผู้จัดทำจึงศึกษาประโยชน์จากเปลือกไข่ พบว่าสารอาหารจากเปลือกไข่สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยชีวภาพ  ช่วยเพิ่มแคลเซียม โพแทสเซียม และสารอาหารที่จำเป็นต่าง ๆ ช่วยให้พืชผักแข็งแรง เจริญเติบโตได้ดี ผู้จัดทำจึงนำเปลือกไข่มาแปรรูปเป็นปุ๋ยชีวภาพ โดยเพิ่มจุลินทรีย์จากนมเปรี้ยวเข้าไปเพื่อทำให้ดินร่วนซุย ช่วยในการย่อยสลายปุ๋ยคอกในดิน และเพิ่มสารอาหารให้กับต้นไม้ได้เช่นกัน  ทางแผนกครัวสามารถนำปุ๋ยน้ำนี้รดให้กับพืชผักสวนครัวต่าง ๆที่ปลูกไว้ได้ เพื่อให้ผักต่าง ๆ เจริญเติบโตได้ดี นำมาประกอบอาหารได้อย่างปลอดภัย   อีกทั้งยังเป็นการลดปริมาณขยะให้กับโรงแรมได้อีกด้วย ผลประเมินความพึงพอใจต่อปุ๋ยน้ำจากเปลือกไข่ของพนักงานในแผนกครัวจำนวน 8 คน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อปุ๋ยน้ำจากเปลือกไข่โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.35 หากพิจารณารายประเด็นพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับมากทุกประเด็น อันดับแรกคือ การเจริญเติบโตของพืชผักและไม่ระคายเคืองต่อผิวหนังมีค่าเฉลี่ย 4.50 เท่ากัน รองลงมาคือ ความสะดวกในการใช้ และการลดขยะในโรงแรม มีค่าเฉลี่ย 4.37 และ 4.00  ตามลำดับ

คำสำคัญ: ปุ๋ยน้ำ, เปลือกไข่, การลดขยะ


Abstract

For daily cooking, eggs are required as an ingredient in many foods, thus causing a many egg shells to be thrown away. The student was assigned take care of a plot to grow non-toxic vegetables for his own use. The student studied the benefits of egg shells and found that the nutrients from egg shells can be used as biological fertilizer to increase calcium, potassium and other essential nutrients, helping vegetables to be strong and grow well. The student then processed the eggshells into a bio-fertilizer by adding microorganisms from sour milk to make the soil friable, helping to decompose the manure in the soil while adding nutrients to the trees. The kitchen department can apply this liquid fertilizer to various vegetable garden plants so the vegetables grow well and can be used safely in cooking. It also reduces the amount of waste for the hotel. The results of the evaluation of satisfaction with liquid fertilizer from eggshells among 8 employees in the kitchen department found that the respondents were overall satisfied with liquid fertilizer from eggshells at a high level, with an average of 4.35.   If considering each issue, it was found that the respondents were at a high level of satisfaction in every issue. The first was the growth of vegetables and no irritation to the skin, with the same average of 4.50, followed by the ease of use and reduction of waste in hotel with averages of 4.37 and 4.00 respectively.

Keywords:  liquid fertilizer, egg shells, waste reduction.


ปุ๋ยน้ำจากเปลือกไข่|Liquid Fertilizer from Eggshells

Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 2329
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print