- KB Home
- หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา|Graduate Schools
- หลักสูตรปริญญาโท|Masters Degree
- MBA
- ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อเคมีเกษตรของเกษตรกรในอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
Title:
Factors that Affect the Purchasing Behavior of Agricultural Chemicals of Farmers in Song Phi Nong District, Suphan Buri Province
ชื่อโครงการ:
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อเคมีเกษตรของเกษตรกรในอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
Author:
Ms. Matsaya Phunsawat
ชื่อผู้วิจัย:
มัสยา พูลสวัสดิ์
Advisor:
ดร. ธีติมา ปิยะศิริศิลป์ – Dr. Teetima Piyasirisilp
Degree:
การจัดการการเงิน การธนาคาร และการลงทุน – Financial, Banking and Investment Management
Major:
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) – Master of Business Administration
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School)
Academic year:
2566 (2023)
Published:
การประชุมผลงานการวิจัยและวิชาการ นวัตกรรมธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ ครั้งที่ 9, 16 ธันวาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต หน้า 377-393 | NCIBE 2022 National Conference in Innovative Business and Entrepreneuship, pp.343-359 https://www.thaiejournal.com/proceedings-in-thai-2022-2/ PDF
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์มีผลต่อการตัดสินใจการซื้อเคมีเกษตรของเกษตรกร ในอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจการซื้อเคมีเกษตรของเกษตรกร ในอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกร ในอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 246 คน ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนของมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T-test, F-test และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 31-40 ปี การศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี มีพื้นที่ทำเกษตรขนาดเล็ก (ต่ำกว่า 6ไร่) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และจำนวนพื้นที่ในการทำเกษตรไม่มีผลต่อการตัดสินใจการซื้อเคมีเกษตรของเกษตรกร ในอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านราคา และด้านผลิตภัณฑ์ส่งผลต่อการตัดสินใจการซื้อเคมีเกษตรของเกษตรกร ในอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
คำสำคัญ: เคมีเกษตร, เกษตรกร, ส่วนประสมทางการตลาด, พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ
Abstract
The purposes of this research were: 1) to study the farmer’s demographic characteristics that affect the purchasing decision factor on agricultural chemical products in Song Phi Nong District, Suphan Buri Province; 2) to study the marketing factor that affects the farmer’s purchasing decision on agricultural chemical product in Song Phi Nong District, Suphan Buri Province. The methodology for this research adopted quantitative research, and a questionnaire was used as a research tool to collect the data from farmers from July to August 2022. The Purposive Sampling technique was used to select 246 farmers in the sampling strategy, including frequency, percentage, mean, standard deviation, and use of the inferential statistics, including Independent Sample T-test, F-test, and Multiple Regression Analysis.
The results found that most of the respondents were male, aged between 31 and 40 years, education below a bachelor’s degree with a small agricultural area (less than 6 rai). The majority of respondents gave a high level of overall opinion. The hypothesis testing results showed that demographic characteristic including gender, age, education level, and the number of agricultural areas, did not affect the decision to purchase agrochemicals of the farmers in Song Phi Nong District, Suphan Buri Province. The factors that had an effect on agricultural chemicals purchasing decision of farmers in Song Phi Nong District, Suphan Buri Province consisted of marketing promotion, price, and product aspect, consecutively at the statistical significance level of 0.05.
Keywords: agricultural chemicals, farmers, marketing mix, purchase decision behavior.