ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการดำเนินนโยบายเมาไม่ขับในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Last modified: December 13, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการดำเนินนโยบายเมาไม่ขับในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
People’s Attitudes Towards Implementing a Don’t Drink and Drive Policy in Muang District Nakhon Ratchasima Province
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายปัญญา สุทธิยุทธิ์
Mr. Panya Suttiyut
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิดาภา ถิรศิริกุล
Asst. Prof. Dr. Jidapa Thirasirikul
ระดับการศึกษา:
Degree:
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Master Degree of Political Science (Government)
สาขาวิชา:
Major:
รัฐศาสตร์
Political Science (Government)
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2565
2022
URL:
Published /แหล่งเผยแพร่ผลงาน
แหล่งเผยแพร่ผลงาน
วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม – ธันวามคม พ.ศ.2565)|Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat, Vol. 9 No. 2 (2022): July-December 2022

การอ้างอิง|Citation

ปัญญา สุทธิยุทธิ์. (2565). ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการดำเนินนโยบายเมาไม่ขับในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Suttiyut P. (2022). People’s attitudes towards implementing a don’t drink and drive policy in Muang District Nakhon Ratchasima Province. (Master’s independent study). Bangkok: Master of Political Science (Government), Siam University.


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล และความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลของสื่อมวลชนกับทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการดำเนินนโยบายเมาไม่ขับในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเสนอแนวทางการเสริมสร้างทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการดำเนินนโยบายเมาไม่ขับในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ) จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 385 ตัวอย่าง และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ

ผลการศึกษา พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับอิทธิพลของสื่อมวลชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.68 และทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการดำเนินนโยบายเมาไม่ขับในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ และอายุที่แตกต่างกันมีทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการดำเนินนโยบายเมาไม่ขับในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการดำเนินนโยบายเมาไม่ขับในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และอิทธิพลของสื่อมวลชนมีความสัมพันธ์กับทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการดำเนินนโยบายเมาไม่ขับในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่  ในการดำเนินนโยบายควรมีการรณรงค์เกี่ยวกับโครงการเมาไม่ขับอย่างสม่ำเสมอ  และควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด

คำสำคัญ: ทัศนคติของประชาชน, นโยบายเมาไม่ขับ, จังหวัดนครราชสีมา


Abstract

The research aimed to compare personal factors and the relationship between the influence of the mass media and people’s attitudes towards implementing a “Don’t Drink and Drive” policy in Muang district of Nakhon Ratchasima Province, and to propose guidelines for enhancing people’s attitudes towards implementing a “Don’t Drink and Drive” policy in the Muang district of Nakhon Ratchasima Province. The research utilized quantitative research method and collected data from 400 samples of Muang district Nakhon Ratchasima Province, by employing a questionnaire.

The results of the study found that opinions about the influence of mass media as a whole were at a high level with an average of 3.68 and the attitudes of the people towards the implementation of “Don’t Drink and Drive” policy in Muang district of Nakhon Ratchasima Province as a whole was at a high level with an average of 4.09. The hypothesis testing revealed that sex and age were not related to people’s attitudes towards the implementation of “Don’t Drink and Drive” policy at the statistical significance level of 0.05, which did not satisfy the hypothesis. Level of education and average monthly income were related to people’s attitudes towards the implementation of “Don’t Drink and Drive” policy in Muang district at the statistical significance level of 0.05, which satisfied the hypothesis. Finally, the influence of the mass media was related to the attitudes towards the implementation of “Don’t Drink and Drive” policy in Muang district at the statistical significance level of 0.05, which satisfied the hypothesis. Recommendations from the research were that the campaign under “Don’t Drink and Drive” policy should be implemented continuously and the law should be strictly enforced.

Keywords:  attitudes, Don’t Drink and Drive policy, Nakhon Ratchasima Province.


ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการดำเนินนโยบายเมาไม่ขับในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม | Master of Political Science (Government), Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 220
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code