การตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย พ.ศ. 2565

Last modified: March 18, 2023
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
การตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสังกัดพรรคเพื่อไทย พ.ศ. 2565
Voters’ Decisions in the Bangkok Metropolitan Councilor (BMC) Election of  the Pheu Thai Political  Party in 2022
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวแสงจันทร์ ทองนาค
Miss Sangchan Tongnak
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ศาสตราจารย์ พิเศษ ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี
Prof. Dr. Yuwat Vuthimedhi
ระดับการศึกษา:
Degree:
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Master Degree of Political Science (Government)
สาขาวิชา:
Major:
รัฐศาสตร์
Political Science (Government)
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2565
2002
URL: Published /แหล่งเผยแพร่ผลงาน แหล่งเผยแพร่ผลงาน(ตัวอย่าง) Link สำรอง
วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ ปริทรรศน์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566, หน้า 165-174 | Journal of Administration and Social Science Review, Vol. 6 No. 1 (2023): January-February 2023

การอ้างอิง|Citation

แสงจันทร์ ทองนาค. (2565). การตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสังกัดพรรคเพื่อไทย พ.ศ. 2565. (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Tongnak S. (2022). Voters’ decisions in the Bangkok Metropolitan Councilor (BMC) Election of  the Pheu Thai Political Party in 2022. (Master’s independent study). Bangkok: Siam University.


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในการเลือกผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ที่สังกัดพรรคเพื่อไทย พ.ศ.2565 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในการเลือกผู้สมัคร ส.ก.ที่สังกัดพรรคเพื่อไทย พ.ศ.2565 และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมการใช้สิทธิในการเลือกตั้ง ส.ก.  งานวิจัยนี้เป็นการเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกรุงเทพมหานครในพื้นที่ เขตบางกะปิ เขตวังทองหลาง เขตดุสิต และเขตธนบุรี ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยใช้วิธีการเก็บตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย

ผลการศึกษา พบว่า 1) การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในการเลือกผู้สมัคร ส.ก.ที่สังกัดพรรคเพื่อไทย พ.ศ.2565 พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ และสถานภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจในการเลือกตั้ง ส.ก.สังกัดพรรคเพื่อไทย พ.ศ. 2565 แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.00 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และอาชีพที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจในการเลือกตั้ง ส.ก.สังกัดพรรคเพื่อไทย พ.ศ. 2565 ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในการเลือกผู้สมัคร ส.ก.ที่สังกัดพรรคเพื่อไทย พ.ศ.2565พบว่า ปัจจัยแวดล้อม ได้แก่ ปัจจัยการสื่อสารทางการเมือง และปัจจัยการตลาดทางการเมือง มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในการเลือกตั้ง ส.ก.สังกัดพรรคเพื่อไทย พ.ศ. 2565 ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) ข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมการใช้สิทธิในการเลือกตั้ง ส.ก. ได้แก่ การใช้สื่อให้เหมาะสมกับการรณรงค์การเลือกตั้ง และผู้สมัครจำเป็นต้องมีการเลือกใช้ประเภทของสื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายในการเลือกตั้ง

คำสำคัญ: การตัดสินใจในการเลือกตั้ง, สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร, พรรคเพื่อไทย


Abstract

The research’s objectives were: 1) to compare personal factors and voters’ decisions in the Bangkok Metropolitan Councilor (BMC) election of the Pheu Thai Political  Party  in 2022; 2) to study factors related to voters’ decisions in the Bangkok Metropolitan Councilor (BMC) election of  the Pheu Thai Political Party in 2022; and 3) to suggest ways to promote the exercise of rights in the BMC election. The research employed a quantitative research methodology. The population and samples were residents with their names in  Bangkok’s household registration in Bangkapi, Wang Thonglang, Dusit, and Thonburi districts, and aged 18 years  and over. The research utilized an accidental sampling method to collect data from 400 members, using a questionnaire.

The result were as follows: 1)  The differences in sex and economic status were related to difference in the voters’ decisions in the BMC election of the Pheu Thai Political Party in 2022 at the statistical significance level of 0.00. According to the assumptions, age and occupation factors were not related to difference in voters’ decisions in the BMC election of the Pheu Thai Political Party  in 2022 at the statistical significance level of .05, not according to the assumptions, 2) The environmental factors, including political communication and marketing, were correlated with the BMC election decision of the Pheu Thai Political  Party in 2022 at the statistical significance level of 0.00, in accordance with the assumptions, 3) It was necessary for candidates to use appropriate media for election campaigns and target voters in the election.

Keywords: voting decision, Bangkok Metropolitan councilors, Pheu Thai Political Party


การตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย พ.ศ. 2565 | Voters’ Decisions in the Bangkok Metropolitan Councilor (BMC) Election of the Pheu Thai Political Party in 2022

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม | Master of Political Science (Government), Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 81
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code