เภสัชบำบัดในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีโรคเรื้อรังทางกายร่วม

Last modified: September 14, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อบทความ: เภสัชบำบัดในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีโรคเรื้อรังทางกายร่วม
Research Article: Pharmacotherapy of Depression in Patients with Chronic Medical lllness
ผู้เขียน|Author: ถนอมพงษ์ เสถียรลัคนา | Thanompong Sathienluckana
Email: thanompong.sat@siam.edu
สาขาวิชา|คณะ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department|Faculty: Faculty of Pharmacy,  Siam University, Bangkok 10160
Published|แหล่งเผยแพร่: วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 ก.ค. – ก.ย. 2560 | IJPS Vol. 13 No. 3 July – September 2017

การอ้างอิง|Citation

ถนอมพงษ์ เสถียรลัคนา. (2560). เภสัชบำบัดในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีโรคเรื้อรังทางกายร่วม. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 13(3), 1-13.

Sathienluckana T. (2017). Dividend policy for SMES entrepreneurs in economic crisis situation. Modern Management Journal, 13(3), 1-13.


บทคัดย่อ

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่เป็นปัญหาสาคัญทางสาธารณสุขซึ่งก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพได้ และเป็นโรคที่พบร่วมกับโรคเรื้อรังอื่นๆ ได้บ่อย ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคพาร์กินสัน และโรคอัลไซเมอร์ ปัจจุบัน พบว่าโรคซึมเศร้าและโรคเรื้อรังหลายชนิดมีความสัมพันธ์ต่อกันในลักษณะสองทาง (bidirectional) กล่าวคือ ทั้งสองโรคถือเป็นปัจจัยเสี่ยงซึ่งกันและกัน และยังพบว่าโรคซึมเศร้าจะส่งผลให้การดาเนินไปของโรคเรื้อรังแย่ลง การรักษาโรคซึมเศร้าอย่างเหมาะสมจึงมีความสาคัญอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังร่วมด้วย การรักษาโดยใช้ยาถือเป็นการรักษาหลักในโรคซึมเศร้า หลักการเลือกชนิดของยาแก้ซึมเศร้าในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังร่วมด้วย จะต้องพิจารณาถึงประสิทธิภาพร่วมกับความปลอดภัยของยาทั้งในเรื่องของอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจส่งผลต่อโรคร่วมของผู้ป่วย รวมทั้งอันตรกิริยาระหว่างยาแก้ซึมเศร้าและยาอื่นของผู้ป่วย การใช้ยาแก้ซึมเศร้าในผู้ป่วยที่มีโรคร่วม ได้แก่ การใช้ยาแก้ซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีโรคหัวใจขาดเลือด (coronary artery disease) ร่วมด้วย ยาที่แนะนา คือ ยากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) เช่น sertraline และ escitalopram ซึ่งมีประสิทธิภาพดี และค่อนข้างปลอดภัยต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ส่วนยาที่ควรหลีกเลี่ยง คือ ยากลุ่ม tricyclic antidepressants (TCAs) เช่น amitriptyline เนื่องจากมีอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดค่อนข้างมาก การใช้ยาแก้ซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีโรคหัวใจล้มเหลว (heart failure) ร่วมด้วย จากหลักฐานทางวิชาการในปัจจุบันทั้ง SADHART-CHF และ MOOD-HF ยังไม่พบว่าการให้ยาแก้ซึมเศร้าช่วยรักษาอาการโรคซึมเศร้าได้ การใช้ยาแก้ซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เกิดตามหลังโรคหลอดเลือดสมอง (poststroke depression) ยาที่แนะนา ได้แก่ ยากลุ่ม SSRIs ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการซึมเศร้า และการใช้อย่างเหมาะสมยังสามารถลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้อีกด้วย ส่วนการใช้ยาแก้ซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีโรคพาร์กินสันร่วมด้วย พบว่ายากลุ่ม TCAs เช่น nortriptyline ซึ่งออกฤทธิ์เพิ่มสารสื่อประสาทได้หลายชนิด ทั้ง norepinephrine (NE) และ serotonin (5-HT) ในสมองส่วนต่างๆ รวมถึง dopamine ที่สมองส่วน prefrontal cortex จึงมีแนวโน้มด้านประสิทธิภาพที่ดีกว่ายากลุ่ม SSRIs อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามหรือเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ของ TCAs ที่อาจเกิดกับผู้ป่วย โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ การใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยที่มีโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer disease) ร่วมด้วย ควรหลีกเลี่ยงยาแก้ซึมเศร้าที่ส่งผลเสียต่อพุทธิปัญญา (cognitive function) คือ ยาที่มีฤทธิ์ปิดกั้นตัวรับโคลิเนอร์จิก (anticholinergic effect) ได้แก่ ยากลุ่ม TCAs และ paroxetine ส่วนยาที่แนะนาให้ใช้เป็นอันดับแรก คือ ยากลุ่ม SSRIs (ยกเว้น paroxetine) ส่วนการใช้ยาแก้ซึมเศร้าในผู้ป่วยที่มีภาวะปวดเรื้อรังร่วมด้วย ควรเลือกใช้ยาแก้ซึมเศร้าที่สามารถเพิ่มระดับสารสื่อประสาทได้ทั้ง NE และ 5-HT เช่น ยากลุ่ม TCAs และ serotonin and norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) เนื่องจากให้ผลในการรักษาได้ทั้งโรคซึมเศร้าและภาวะปวด

คำสำคัญ : โรคซึมเศร้า, โรคร่วม, เภสัชบำบัด, ยาแก้ซึมเศร้า


ABSTRACT

Major depressive disorder (MDD) is a psychiatric disorder which affects to public health system and lead to disability. MDD is prevalent in several medical illnesses including cardiovascular disease, stroke, cancer, Parkinson’s disease and Alzheimer disease. Evidence from clinical studies suggest that the relationship between MDD and chronic medical illness is a bidirectional relationship, moreover, depression is associated with poor prognosis of chronic medical illnesses. Therefore, appropriate treatment of depression is an important issue in depression with comorbid medical illnesses. Pharmacotherapy is the mainstay for treatment of depression. Selection of antidepressant must consider both efficacy and safety of medications in a various medical conditions in individual patient. This article will cover some of antidepressant therapy in depression with comorbid medical illnesses: treatment of depressive patients with coronary artery disease recommended selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) such as sertraline and escitalopram as a first-line therapy because SSRIs showed efficacious outcomes and low risk for adverse cardiovascular events. Tricyclic antidepressants (TCAs) were associated with a significant risk for cardiovascular events. Therefore, TCAs should not use as first-line agents in depressive patients with coronary artery disease. Pharmacotherapy of depression in patients with heart failure still has limited data and conflicted results especially in large trial (SADHART-CHF and MOOD-HF study), which showed inefficacy for both depressive and cardiovascular outcomes. Pharmacotherapy of post-stroke depression (PSD) is an important strategy to improve patient outcome because appropriate use of antidepressant can reduce both depressive symptom and mortality risk. SSRIs are first-line therapy in PSD because the study showed beneficial effect and well tolerated. Treatment of depression in patients with Parkinson’s disease focused on antidepressants that increased various monoamines, therefore, TCAs (e.g. nortriptyline) that increase serotonin, norepinephrine in numerous brain areas and dopamine in prefrontal cortex may be more effective than SSRIs in these patients. However, weighed risk against benefit of TCAs in depressive patients with Parkinson’s disease especially in elderly should be consider. Pharmacotherapy of depression in patients with Alzheimer’s disease recommended SSRIs as first-line therapy and avoided antidepressants causing cognitive impairment such as TCAs and paroxetine because these drugs have anticholinergic effect. Selection of antidepressants in patients with chronic pain should use drugs that increase both norepinephrine and serotonin such as TCAs and serotonin and norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) because these drugs provide benefit both depressive and pain symptoms improvement.

Keywords: major depressive disorder, comorbid medical illness, pharmacotherapy, antidepressant


เภสัชบำบัดในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีโรคเรื้อรังทางกายร่วม|Pharmacotherapy of Depression in Patients with Chronic Medical lllness

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Pharmacy, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 535
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code