สีผสมอาหารแบบผงจากเปลือกแก้วมังกรและเปลือกมะละกอ

Last modified: August 18, 2022
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อโครงงาน:
Project Title:
สีผสมอาหารแบบผงจากเปลือกแก้วมังกรและเปลือกมะละกอ
Powdered Food Coloring from Dragon Fruit and Papaya Peels
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวธัญญรัตน์  พงษ์พานิช
Ms. Thanyarat Pongpanich
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
อาจารย์ยุวริน ศรีปาน
Ms. Yuvarin Sripan
ระดับการศึกษา:
Degree:
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
Bachelor of Arts (Liberal Arts)
ภาควิชา:
Major:
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ
Tourism and Hospitality Industry
คณะ:
Faculty:
ศิลปศาสตร์
Liberal Arts
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา:
Semester / Academic year:
1/2564
1/2021

การอ้างอิง/citation

ธัญญรัตน์  พงษ์พานิช. (2564). สีผสมอาหารแบบผงจากเปลือกแก้วมังกรและเปลือกมะละกอ. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.

Pongpanich T. (2020). Powdered food coloring from dragon fruit and papaya peels. (Cooperative Education). Bangkok: Faculty of Liberal Arts, Siam University.


บทคัดย่อ

การจัดทําโครงงานสหกิจศึกษาเรื่องสีผสมอาหารแบบผง จากเปลือกแก้วมังกรและมะละกอ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ จากวัตถุดิบเหลือทิ้งจากครัวร้อนโรงแรมพระยาพาลาซโซ เพื่อจัดทำการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ โดยใช้ประโยชน์จากเปลือกผลไม้ โดยผู้จัดทําได้นำเอาเปลือกมะละกอ,แก้วมังกร ที่เหลือทิ้งจากการทําอาหารเช้ามาทําเป็นสีผสมอาหาร

จากผลการสํารวจพบว่า การประเมินความพึงพอใจของพนักงานโรงแรมพระยาพาลาซโซ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชายจํานวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 มีช่วงอายุ 18-23 ปีและ 24-29 ปีเท่ากันมากที่สุดคิด เป็นร้อยละ 26.70 และมีสถานภาพพนักงานประจํามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70.00 และผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในแผนกครัวมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.70 จากตารางค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจที่มีต่อโครงงานสีผสมอาหารจากเปลือกแก้วมังกร มะละกอ มีระดับความพึงพอใจรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 3.71 โดยคะแนนด้านความคิดสร้างสรรค์ได้รับคะแนนความพึงพอใจระดับมากที่สุดในคะแนนเฉลี่ย 4.53 รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง ได้รับคะแนนความพึงพอใจระดับมากสุดที่คะแนนเฉลี่ย 4.40

คำสำคัญ: เปลือกมะละกอ, เปลือกแก้วมังกร, สีผสมอาหารแบบผงจากเปลือกแก้วมังกรและมะละกอ


Abstract

A cooperative education project was conducted with the aim to study the utilization of waste raw materials from a hot kitchen at Praya Palazzo Hotel ant to conduct product recycling by taking advantage of the fruit peels, where the author used the papaya and dragon fruit peels to make a food coloring.

From the survey results, it was found that the satisfaction assessment of Praya Palazzo Hotel staff revealed that most of staff were male of 19 persons, representing 60.00 %, mostly aged between 18-23 years and 24-29 years equally, accounting for 26.70% and mostly had the permanent employee status, accounting for 70.00 %, and most of the respondents were in the kitchen department, accounting for 46.70%. From the table of average score of satisfaction with the project of food coloring from papaya and dragon fruit peels, overall satisfaction was at a high level with an overall average of 3.71. The score of satisfaction on creativity was at the highest level with an average score of 4.53, followed by satisfaction on the product which could be used for actual benefit at a high level with an average score of 4.40.

Keywords:  Papaya peel, dragon fruit peel, powdered food coloring, dragon fruit, papaya peels.


สีผสมอาหารแบบผงจากเปลือกแก้วมังกรและเปลือกมะละกอ | Powdered Food Coloring from Dragon Fruit and Papaya Peels

Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 1
Views: 863
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print