การลดเวลาในการสุ่มตรวจถุง Sachet ในสายการผลิต

Last modified: July 25, 2020
Estimated reading time: 1 min
ชื่อโครงงาน:
Project Title:
การลดเวลาในการสุ่มตรวจถุง Sachet ในสายการผลิต
Reduction of Sampling Time in the Production Process of Sachets
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นุจรี  ชนินกุล
Nujaree Chaninkun
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผศ. จิรนาถ บุญคง
Asst. Prof. Jiranart Boonkong
ระดับการศึกษา:
Degree:
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
Bachelor of Science
ภาควิชา:
Major:
เทคโนโลยีการอาหาร
Food Technology
คณะ:
Faculty:
วิทยาศาสตร์
Science
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา:
Semester / Academic year:
3/2560
3/2017

การอ้างอิง/citation

นุจรี  ชนินกุล. (2560). การลดเวลาในการสุ่มตรวจถุง Sachet ในสายการผลิต. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

กระบวนการผลิตอาหารสัตว์แบบเหลวบรรจุถุง Pouch/Sachet ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้บริโภค โดยการตรวจสอบคุณภาพประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การดึงซีล 10 ถุง การทดสอบแรงกด (Pressed test) 4 ถุง การตรวจสอบฟองอากาศ 4 ถุง และการวัด Dimension 4 ถุง นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบด้วยตาเปล่า (Visual Test) ทุกๆ 30 นาที แต่ปัจจุบันเนื่องจากในกระบวนการผลิตอาหารสัตว์บรรจุถุง Pouch/ Sachet TUM1 มียอดการผลิตเพิ่มขึ้น และยังมีการเปิดสายการผลิตใหม่ ทำให้การสุ่มตรวจคุณภาพใช้เวลาเพิ่มขึ้น  ส่งผลให้การสุ่มตรวจไม่ทันตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ดังนั้นจึงต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการลดเวลาลง เพื่อให้การสุ่มตรวจทันตามระยะเวลาที่กำหนด วิเคราะห์ปัญหาโดยใช้ Multiple Activity Chart จากนั้นหาจุดที่เป็นปัญหาและออกแบบวิธีแก้ปัญหา โดยใช้อุปกรณ์และวิธีต่างๆ ผลการวิเคราะห์พบว่า ขั้นตอนที่สามารถลดเวลาได้ มีจำนวน 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การเก็บตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 2 การวัด Dimension และขั้นตอนที่ 3 การอ่านค่าฟองอากาศให้พนักงานคีย์ข้อมูล  ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาได้ดังนี้  ขั้นตอนที่ 1 จะลดเวลาโดยการใช้กล่องเก็บตัวอย่างแทนการเก็บตัวอย่างแบบเดิม ขั้นตอนที่ 2 ใช้ Jig Fixture แบบที่ 2 ในการวัด Dimension และ ขั้นตอนที่ 3 ใช้วิธีการเขียนข้อมูลให้พนักงานคีย์ข้อมูล สรุประยะเวลาที่ใช้ในการการปฏิบัติงาน พบว่าวิธีเดิมใช้เวลา 875 วินาที วิธีที่ปรับปรุงใช้เวลา 720 วินาที สามารถลดเวลาลงได้ 155 วินาที คิดเป็น 17.71%  และ Productivity เพิ่มขึ้น 20% และการสุ่มตรวจทันตามเวลาที่กำหนด

คำสำคัญ: ถุง Pouch/Sachet, Visual Test, Multiple Activity Chart, Dimension, Jig Fixture


Abstract

Packing process quality of liquid feed in pouches or sachets for pets must be determined in order to obtain the high2est possible product quality per consumer requirements. The quality assessment consisted of 4 steps, tensile strength of 10 sachets, compression force of 4 sachets, bubble test of 4 sachets and dimension of 4 sachets. In addition, visual assessment of the products was done every 30 minutes due to the increasing productivity of Line Pouch Sachet TUM1 as well as the new production line. These problems took more time to check the product quality and led to delayed sampling methods. Therefore, the objective of this study was to solve the problem of sampling time and the problem analysis using Multiple Activity Chart. The results indicated that there were 3 steps that could decrease sampling time; 1) sample collection method; 2) dimension measurement; and 3) bubble evaluation. For first step, sampling time was decreased by using a compact sample box instead of the traditional sample collection. Next, the Jig Fixture type 2 was used for dimension measurement. Finally, the data of bubble evaluation was keyed into the computer by staff. In summary, the time spent in performing each task was found that the traditional method took 875 seconds, while the improved method took only 720 seconds. It reduced sampling time by 155 seconds, represented as 17.71% and productivity increased by 20%.

Keywords:  Pouch/Sachet, Visual Test, Multiple Activity Chart, Dimension, Jig Fixture.


การลดเวลาในการสุ่มตรวจถุง Sachet ในสายการผลิต | Reduction of Sampling Time in the Production Process of Sachets   

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม  |  Faculty of Science, Siam University, ฺBangkok, Thailand

Related:

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 252
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code