การจัดการทรัพย์สินของผู้ล้มละลาย ภายหลังปลดจากล้มละลายโดยอายุความ

Last modified: November 20, 2019
You are here:
Estimated reading time: 1 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
การจัดการทรัพย์สินของผู้ล้มละลาย ภายหลังปลดจากล้มละลายโดยอายุความ
Relating management of the bankrupts after bankruptcy period
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวพรทิพย์ ขุนดี
Miss Porntip khundee
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีพฤทธิ์ ศิริศักดิ์บรรจง
Associate Professor Dr. Tavephut Sirisakbanjong
ระดับการศึกษา:
Degree:
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
Master of Laws Program
สาขาวิชา:
Major:
กฎหมายเอกชนและกฎหมายธุรกิจ
Private and Business Law
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2560
2017

การอ้างอิง/citation

พรทิพย์ ขุนดี. (2560). การจัดการทรัพย์สินของผู้ล้มละลาย ภายหลังปลดจากล้มละลายโดยอายุความ. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

กฎหมายล้มละลายมีวิวัฒนาการจากการที่มุ่งลงโทษลูกหนี้เป็นการให้ความคุ้มครองลูกหนี้มากขึ้น ทั้งยังเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ที่สุจริตได้มีโอกาสเริ่มต้นชีวิตใหม่ (Fresh Start) โดยประเทศไทยก็มีบทบัญญัติว่าด้วยการปลดจากล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483

ซึ่งบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนในบางประการ อาจเป็นเหตุให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้ ไม่ว่าจะเป็น อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ภายหลังลูกหนี้ได้รับปลดจากล้มละลายโดยอายุความ หรือกรณีการตีความว่าทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ได้มาภายหลังจากการปลดจากล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้มากน้อยเพียงใด และการกำหนดหน้าที่ของลูกหนี้ในการให้ความร่วมมือในการจัดการทรัพย์สินภายหลังได้รับการปลดจากล้มละลายโดยอายุความ จึงเป็นปัญหาในการตีความและการบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการปลดจากล้มละลายตามกฎหมายของต่างประเทศมีบทบัญญัติในเรื่องที่กำหนดอำนาจของผู้รักษาทรัพย์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายหลังที่บุคคลล้มละลายได้รับการปลดจากล้มละลาย รวมทั้งหน้าที่ของลูกหนี้ในการให้ความร่วมมือการจัดการทรัพย์สินภายหลังปลดจากล้มละลายที่ชัดเจนกว่ากฎหมายล้มละลายของ ประเทศไทย
ทั้งนี้ หากการปลดจากล้มละลายโดยอายุความของประเทศไทยได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้มีความชัดเจนเช่นเดียวกับการปลดจากล้มละลายของต่างประเทศ ก็จะไม่เกิดปัญหาในการตีความกฎหมายและการบังคับใช้ก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

คำสำคัญ: การจัดการทรัพย์สิน, ผู้ล้มละลาย, อายุความ


Abstract

Bankruptcy law has been leaning more toward protecting the debtor rather than punishing, which also gives a fresh start to sincere but financially strapped debtors, per Thailand law of Bankruptcy Discharge, the Bankruptcy Act BE 2483.

The law still contains some ambiguities, thus gives rise to legal enforcement issues, such as: 1) the Official Receiver’s power to manage the Debtor’s business or property after an Order of Discharge from Bankruptcy due to the expiration of the period, or 2) the power to collect the debtor’s properties received after an Order of Discharge from Bankruptcy, and 3) the Debtor’s duty to co-operate with the Official Receiver in Estate Management after an Order of Discharge from Bankruptcy. This has created, issues of interpretation and ineffective enforcement. However, the foreign regulations of Discharge from Bankruptcy clearly state the Official Receiver’s power after an Order of Discharge from Bankruptcy includes the Debtor’s duty to co-operate in Estate Management after the Discharge.
Thus, it is suggested that in the Bankruptcy Act, the Chapter of Discharge from Bankruptcy after the expiration of the period, should be amended for more clarity as in foreign laws, and thus eliminate the ambiguities and endorse the effective legal enforcement.

Keywords:  Management, Bankrupts, Bankruptcy Period.


การจัดการทรัพย์สินของผู้ล้มละลาย ภายหลังปลดจากล้มละลายโดยอายุความ

Master of Laws Program, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 418
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code