วิศวกรรมย้อนรอยสำหรับการสร้างเสาสัญญาณวิทยุสื่อสาร

Last modified: December 26, 2019
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อโครงงาน:
Project Title:
วิศวกรรมย้อนรอยสำหรับการสร้างเสาสัญญาณวิทยุสื่อสาร
Reverse Engineering for The Construction of Radio Communication Towers
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายทศพร ศูนย์วงษ์
Mr. Thodsapron Soonwong
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร.ชาญชัย วิรุณฤทธิชัย
Dr. Chanchai Wiroonritichai
ระดับการศึกษา:
Degree:
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
Bachelor of Engineering
ภาควิชา:
Major:
วิศวกรรมเครื่องกล
Mechanical Engineering
คณะ:
Faculty:
วิศวกรรมศาสตร์
Engineering
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา:
Semester / Academic year:
3/2559
3/2016

การอ้างอิง/citation

ทศพร ศูนย์วงษ์. (2559). วิศวกรรมย้อนรอยสำหรับการสร้างเสาสัญญาณวิทยุสื่อสาร. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

รายงานสหกิจศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการใช้วิศวกรรมย้อนรอยสำหรับการสร้างเสาวิทยุสื่อสาร จากที่บริษัทยูไนเต็ดสตีลเวิร์ค จำกัด  เป็นบริษัทที่รับผลิตชิ้นงานและจัดทำจำหน่ายสิ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าและเสากระจายสัญญาณชนิดต่างๆ เนื่องจากมีผู้จัดจ้างสั่งทำชิ้นงานขึ้นโดยใช้รูปภาพจากผู้สั่งทำเอง ซึ่งชิ้นงานเดิมมีปัญหาในเรื่องการเกิดสนิมขึ้นจึงทำให้ระบบการทำงานของชิ้นงานมีประสิทธิภาพน้อยลง ในการสร้างชิ้นงานใหม่นั้นจะใช้หลักการวิศวกรรมย้อนรอยในการออกแบบชิ้นงานขึ้นมาใหม่ โดยมีออกแบบการเลือกใช้อุปกรณ์ด้วยการคำนวณเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานจากการคำนวณในการเลือกใช้เสาในแต่ละท่อนนั้นจะเลือกเสาที่ท่อนที่ 1 ที่มีขนาด OD 101.60 ID98.60 L1500 t1.5 mm. สามารถรับน้ำหนักได้ 380.56 กิโลกรัม แต่การใช้งานจริงเสานี้รับน้ำหนักเพียงแค่ 45.14 กิโลกรัมทำให้เสาต้นนี้มีค่าความ ปลอดภัยเท่ากับ 8.4 เท่าของการใช้งานจริง เสาที่ท่อนที่ 2 ที่มีขนาด OD 89.10 ID86.10 L1500 t1.5 mm. สามารถรับน้ำหนักได้ 356.79 กิโลกรัม แต่การใช้งานจริงเสานี้รับน้ำหนักเพียงแค่ 40.25 กิโลกรัมทำให้เสาต้นนี้มีค่าความ ปลอดภัยเท่ากับ 8.8 เท่าของการใช้งานจริง เสาที่ท่อนที่ 3 ที่มีขนาด OD 76.30 ID73.30 L1500 t1.5 mm. สามารถรับน้ำหนักได้ 324.89 กิโลกรัม แต่การใช้งานจริงเสานี้รับน้ำหนักเพียงแค่ 36.1 กิโลกรัม ทำให้เสาต้นนี้มีค่าความปลอดภัยเท่ากับ 8.9 เท่าของการใช้งานจริง เสาที่ท่อนที่ 4 ที่มีขนาด OD 60.50 ID57.30 L1500 t1.5 mm. สามารถรับน้ำหนักได้ 251.78 กิโลกรัม แต่การใช้งานจริงเสานี้รับน้ำหนักเพียงแค่ 32.61 กิโลกรัมทำให้เสาต้นนี้มีค่าความ ปลอดภัยเท่ากับ 7.7 เท่าของการใช้งานจริงเสาที่ท่อนที่ 5 ที่มีขนาด OD 48.60 ID45.60 L1500 t1.5 mm.  สามารถรับน้ำหนักได้ 201.7 กิโลกรัม แต่การใช้งานจริงเสานี้รับน้ำหนักเพียงแค่ 30 กิโลกรัม ทำให้เสาต้นนี้มีค่าความปลอดภัยเท่ากับ 6.7 เท่าของการใช้งานจริง ในการคำนวณการเลือกใช้สลิงในการรับน้ำหนักของเสาและอุปกรณ์นั้น ลวดสลิงขนาด 3 มิลลิเมตร จะรับน้ำหนักได้ 450 กิโลกรัม สลิงรับน้ำหนักจริง 45.1 กิโลกรัม ทำให้สลิงขนาด 3 มิลลิเมตร มีค่าความปลอยภัยเท่ากับ 9.9 เท่าของการใช้งานจริง การปรับแต่งเพิ่มเติมระบบและกลไกลการทำงาน เพิ่มระบบความปลอดภัยของการใช้งาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต่อการใช้งานจากเดิม ทางบริษัทนั้นได้รับมอบหมายให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการออกแบบและสร้างเสาสัญญาณวิทยุสื่อสาร โดยวิธีการดำเนินงานและรายละเอียดต่างๆของงานได้ถูกเสนอไว้อย่างสมบูรณ์ในรายงานสหกิจศึกษาเล่มนี้

คำสำคัญ: การใช้หลักการทางวิศวกรรมย้อนรอย, การออกแบบและสร้างเสาวิทยุสื่อสาร 


Abstract

This cooperative education report was prepared to present the practice of using reverse engineering forthe construction of radio communication towers. United Steel Works Public Company Limited is a company that produces and distributes various types of electrical and distribution towers. An important step used pictures from customers showed the original workpiece had problems with rusting, which made the work system less efficient. Reverse engineering principles were used to design and create a new workpiece. The equipment design was calculated for safety in usage. For the choice of the columns in each section, the poles in the first section with dimensions OD 101.60 ID 98.60 L 1500 thick 1.5 mm. and can support the weight of 380.56 kilograms, but in reality , these columns can only support 45.14 kilograms, giving this pole a value of safety rating at 8.4 times of real use. The second column, size OD 89.10, ID 86.10 L1500 thick 1.5 mm, can support the weight of 356.79 kilograms, but in reality, this column supports only 40.25 kilograms, giving this column a value of safety rating at 8.8 times of real use. The third columns, size OD 76.30 ID 73.30 L1500 thick 1.5 mm, can support the weight of 324.89 kilograms, but in real use, this column supports only 36.1 kilograms, giving this column a value of safety rating at 8.9 times of real use. The fourth column, size OD 60.50, ID 57.30 L1500 thick 1.5 mm., can support the weight of 251.78 kilograms, but in roal use,

this column can support only 32.61 kilograms with a safety rating at 7.7 times of real use. The fifth columns, size OD 48.60, ID 45.60 L1500 thick 1.5 mm, can support the weight of 201.7 kilograms, but in real use of this column can only support 30kilograms, making this column safety rating 6.7 times of real use. In calculating the use of slings loads of columns and equipment, 3 mm wire rope can support 450 kg. The real load is 45.1 kg, resulting in a 3 mm sling with safety equal to 9.9 times of usage. In terms of additional modifications, systems and working mechanisms increase the safety system of use and increase the efficiency of using from the original. The company had been assigned to participate in the design and construction of radio communication signals. The operation methods and details of the work had been completely proposed in this cooperative education report.

Keywords: reverse engineering , radio communication towers , column support


วิศวกรรมย้อนรอยสำหรับการสร้างเสาสัญญาณวิทยุสื่อสาร / Reverse Engineering for The Construction of Radio Communication Towers  

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม  |  Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok,  Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 336
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code