การพัฒนาการบริหารมหาวิทยาลัยเอกชนไทยตามแนวคิดมหาวิทยาลัยผู้ประกอบการ

Last modified: February 17, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การพัฒนาการบริหารมหาวิทยาลัยเอกชนไทยตามแนวคิดมหาวิทยาลัยผู้ประกอบการ
The Development of Thai private University’s Management According to the Concept of Entrepreneurial University
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวณิชมล ขวัญเมือง
Miss Nichamon Kwanmueang
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช
Assoc. Prof. Dr. Jomphong Mongkhonvanit
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
ภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา
Leadership and Innovation in Educational Administration
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2564
2021
Published/แหล่งเผยแพร่:
https://journal-social.mcu.ac.th/
วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์  ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 มีนาคม-เมษายน 2566
https://rcim-ncame.rcim.in.th/wp-content/uploads/2021/02/Proceedings-NCAME-2020-1.pdf
การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ การบริหาร การจัดการศึกษาและสหวิทยาการศึกษา (NCAME2020) และเผยแพร่ผลงาน ครั้งที่ 2 ปี2563 : บทบาทของการยริหารและการจัดการในการเสริมพลังทางสังคม 18 ธันวาคม 2563 ณ.อาคารสรินธร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ พื้นที่ศาลายา จ.นครปฐม

การอ้างอิง|Citation

ณิชมล ขวัญเมือง. (2564). การพัฒนาการบริหารมหาวิทยาลัยเอกชนไทยตามแนวคิดมหาวิทยาลัยผู้ประกอบการ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Kwanmueang N. (2021). The development of Thai private university’s management according to the concept of entrepreneurial university. (Doctoral dissertation). Bangkok: Doctor of Philosophy in Leadership and Innovation in Educational Administration, Siam University


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษากรอบแนวคิดมหาวิทยาลัยผู้ประกอบการที่เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยเอกชนไทย 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารมหาวิทยาลัยเอกชนไทยตามแนวคิดมหาวิทยาลัยผู้ประกอบการ และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารมหาวิทยาลัยเอกชนไทยตามแนวคิดมหาวิทยาลัยผู้ประกอบการ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ 1) มหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 20 สถาบัน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวนรวมทั้งสิ้น 154 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) แบ่งตามภูมิภาคและเลือกกลุ่มตัวอย่างสัดส่วนประชากร และ 2) ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 5 คน ได้แก่ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชนและ ผู้บริหารองค์กรภาครัฐ/ ภาคธุรกิจ/ อุตสาหกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการพัฒนาการบริหารมหาวิทยาลัยเอกชนไทยตามแนวคิดมหาวิทยาลัยผู้ประกอบการ  การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. กรอบแนวคิดมหาวิทยาลัยผู้ประกอบการที่เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยเอกชนไทยพบว่า มี 6 แนวทางหลัก คือ 1) การจัดการองค์กร 2) การจัดการเรียนรู้ 3) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม 4) การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา 5) เครือข่ายความร่วมมือ และ6) ผลการดำเนินงาน
  2. สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ในการบริหาร และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารมหาวิทยาลัยเอกชนไทยตามแนวคิดมหาวิทยาลัยผู้ประกอบการพบว่า สภาพปัจจุบันในการบริหารเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยผู้ประกอบการภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยการจัดการองค์กรมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และผลการดำเนินงานมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด สภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยผู้ประกอบการภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยการจัดการองค์กรมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดและการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและเครือข่ายความร่วมมือมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ส่วนความต้องการจำเป็นที่ต้องพัฒนา เรียงตามอันดับได้ดังนี้ 1) ผลการดำเนินงาน 2) เครือข่ายความร่วมมือ 3) การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา 4) การจัดการองค์กร 5) การจัดการเรียนรู้ และ6) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ตามลำดับ
  3. แนวทางการพัฒนาการบริหารมหาวิทยาลัยเอกชนไทยตามแนวคิดมหาวิทยาลัยผู้ประกอบการประกอบด้วย 6 แนวทางหลัก 16 แนวทางย่อย ดังนี้ 1) ผลการดำเนินงาน 4 แนวทางย่อย 2) เครือข่ายความร่วมมือ 2 แนวทางย่อย 3) การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา 2 แนวทางย่อย 4) การจัดการองค์กร 3 แนวทางย่อย 5) การจัดการเรียนรู้ 3 แนวทางย่อย และ 6) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม 2 แนวทางย่อย

คำสำคัญ : การพัฒนา, การบริหาร, แนวคิด, มหาวิทยาลัยเอกชน, มหาวิทยาลัยผู้ประกอบการ


Abstract

The purposes of this research were to: 1) study the conceptual framework of entrepreneurial university suitable for Thai private university; 2) study the current situation, desirable conditions of management, and need assessment for developing Thai private university management according to the concept of entrepreneurial university; and 3) propose guidelines for development of Thai private university’s management according to the concept of entrepreneurial university. The sample groups were: 1) private university, in which the informants were 154 private university administrators from 20 institutions, selected by cluster sampling, divided by region and population proportion; and          2) 5 qualified experts acquired by purposive sampling, including private university administrators and government organization/business/industrial organization executives. The research instruments consisted of a questionnaire, an interview instrument, and assessment to reveal the appropriateness and feasibility of developing Thai private university’s management under the concept of entrepreneurial university. Data were analyzed using frequency, mean, standard deviation, priority need index, and content analysis.

The research results can be summarized as follows: 1. The study found 6 main guidelines for Thai private university’s management according to the concept of entrepreneurial university: a) organization management; b) learning management; c) research and innovation development; d) intellectual property management; e) cooperation network; and f) performance result. 2. Current situations, desirable conditions of management, and need assessment of developing Thai private university’s management according to the concept of entrepreneurial university showed the overall current situation of management for entrepreneurial university was moderate with organizational management having the highest average, and performance having the lowest average. Overall desirable condition of management for entrepreneurial university was high with organizational management having the highest average, and intellectual property management and cooperation network having the lowest average. The need regarding development, the ranking was as follows: 1) performance result; 2) cooperation network; 3) intellectual property management; 4) organization management; 5) learning management; and 6) research and innovation development. 3. Guidelines for developing Thai private university’s management according to the concept of entrepreneurial university consisted of 6 main guidelines and 16 sub-guidelines as follows: 1) performance result with 4 sub-guidelines; 2) cooperation network with 2 sub-guidelines; 3) intellectual property management with 2 sub-guidelines; 4) organization management with 3 sub-guidelines; 5) learning management with 3 sub-guidelines; and 6) research and innovation development with 2 sub-guidelines.

Keyword: development, administration, concept, private university, entrepreneurial university


  การพัฒนาการบริหารมหาวิทยาลัยเอกชนไทยตามแนวคิดมหาวิทยาลัยผู้ประกอบการ|The Development of Thai private University’s Management According to the Concept of Entrepreneurial University

Doctor of Philosophy in Leadership and Innovation in Educational Administration, Siam University, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 833
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles