กลยุทธ์การบริหารความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

Last modified: October 6, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
กลยุทธ์การบริหารความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
Excellence Management Strategies for Secondary Schools Toward School as a Learning Community
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายจิณณภัทร พิบูลวิทิตธำรง
Mr. Jinnaphat Phiboonwithidthamrong
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลเรือตรีหญิงสุภัทรา   เอื้อวงศ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชญาพิมพ์ อุสาโห
Asst. Prof. R.Adm. Supathra Urwongse, Ph. D., Asst. Prof. Chayapin UsaHo, Ph. D
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
ภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา
Leadership and Innovation in Educational Administration
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2564
2021
Published/แหล่งเผยแพร่:
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou
กลยุทธ์การบริหารความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2565
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ptujournal/index
การบริหารความเป็นเลิศ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2565

การอ้างอิง|Citation

จิณณภัทร พิบูลวิทิตธำรง. (2564). กลยุทธ์การบริหารความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Phiboonwithidthamrong J. (2021). Excellence management strategies for secondary schools toward school as a learning community. (Doctoral dissertation). Bangkok: Doctor of Philosophy in Leadership and Innovation in Educational Administration, Siam University


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน และโอกาส ภาวะคุกคาม 2) นำเสนอกลยุทธ์การบริหารความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ตัวอย่างประชากรเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในกรุงเทพมหานคร  จำนวน 92 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (f)  ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ()  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)  ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified)  และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการจำเป็น จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม ในการบริหารความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้  ได้แก่ (1) ผลลัพธ์ ในภาพรวม พบว่า ด้านการมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้เสีย มีค่าความต้องการจำเป็นสูงสุดและเป็นจุดอ่อน รองลงมาได้แก่ ด้านงบประมาณการเงินและการตลาด  ด้านการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ด้านการนำองค์กรและธรรมาภิบาลมีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำสุดและเป็นจุดแข็ง (2) การบริหารความเป็นเลิศ (OBECQA) พบว่า ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร มีค่าความต้องการจำเป็นสูงสุดและเป็นจุดอ่อน รองลงมาได้แก่ ด้านการนำองค์กร ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียน ผู้มีส่วนได้เสีย  ด้านการวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้  ด้านการมุ่งเน้นการปฏิบัติงาน ตามลำดับ และด้านกลยุทธ์มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำสุดและเป็นจุดแข็ง  (3) โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (SLC)  พบว่า ด้านวิสัยทัศน์เป็นจุดแข็ง ด้านปรัชญาและระบบกิจกรรม เป็นจุดอ่อน (4)  สภาพแวดล้อมภายนอก ที่เป็นโอกาส มีผลต่อด้านการนำองค์กรและด้านกลยุทธ์  ที่เป็นภาวะคุกคามมีผลต่อด้านการมุ่งเน้นผู้เรียน ผู้มีส่วนได้เสีย ด้านการวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ และด้านการมุ่งเน้นการปฏิบัติงาน   2 ) กลยุทธ์การบริหารความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ กลยุทธ์หลักที่ 1  พลิกโฉมการพัฒนาขีดความสามารถของครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีวิสัยทัศน์และแนวคิดตามปรัชญา สู่โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ กลยุทธ์หลักที่ 2 พลิกโฉมการพัฒนากระบวนทัศน์ (Paradigm) ของผู้นำองค์กร ด้านปรัชญาและระบบกิจกรรมสู่โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้  กลยุทธ์หลักที่ 3 พลิกโฉมการสร้างปฏิสัมพันธ์และความผูกพันกับผู้เรียนผู้มีส่วนได้เสีย  ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปการจัดการศึกษาของโรงเรียนตามแนวคิดปรัชญาสู่โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง กลยุทธ์หลักที่ 4 พัฒนาระบบการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ให้สอดคล้องกับปรัชญาและระบบกิจกรรมสู่โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้  5 พัฒนากรอบความคิด(Mindset)การปฏิบัติงานของครู ให้สอดรับกับปรัชญาและระบบกิจกรรม สู่โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้  และ    กลยุทธ์หลักที่ 6  ต่อยอดแผนกลยุทธ์ที่สอดรับกับวิสัยทัศน์สู่โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

คำสำคัญ : กลยุทธ์การบริหาร, การบริหารความเป็นเลิศ, โรงเรียนมัธยมศึกษา, โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้


Abstract

This research study aimed to: 1) study the priority needs and analyze the strengths, weaknesses, opportunities, and threats of excellence management for secondary schools towards school as a learning community; 2) propose excellence management strategies for secondary schools towards school as a Learning Community. This study employed the Mixed Method. The sample in the study were 92 secondary schools in the Office of the Basic Education Commission, Bangkok. The questionnaire, feasibility, and suitability evaluation forms, and focus group of experts were used as the research instruments in the study. The collected data were analyzed using frequency, percentage, average, standard deviation, the formula of PNI Modified and content analysis.

The findings revealed: 1) the priority needs, strengths, weaknesses, opportunities, and threats of excellence management for secondary schools toward school as a learning community were; 1.1) the overall RESULT criteria showed that the CUSTOMER-Focused criteria, the weak point, contained the highest priority needs; followed by budget, financial, market students learning WORKFORCE-Focused and the leadership and governance -the strength – contained the lowest values of priority needs; 1.2) Excellence management of schools revealed that WORKFORCE-Focused criteria, the weak point, has the highest value of priority needs; followed by LEADERSHIP  STUDENT- and other CUSTOMER Focused Measurement, Analysis, and Knowledge Management  and WORKFORCE, the strength, has the lowest priority needs; 1.3) School as learning community revealed that vision is the strength while philosophy and activities were weaknesses; 1.4) In the external environment, the opportunity factors affected the LEADERSHIP and STRATEGY, while the threats factors affected CUSTOMERS MEASUREMENT, ANALYSIS and KNOWLEDGE MANAGEMENT and OPERATION.  2) Excellence Management Strategies for secondary schools towards School as a Learning Community consists of 6 main strategies  1) Transform the development of teachers and educational staffs’ capacity towards the vision and philosophy of School as a Learning Community;  2) Transform the development of school principals’ paradigm on Vision and philosophy of School as a Learning Community; 3) Transform the relationship and engagement with learners and stakeholders to enhance participation in education reform in schools based on the philosophy of School as a Learning Community; 4) Develop management, analysis, and knowledge management system following the philosophy and activities of the School as a Learning Community; 5) Develop teachers’ mindset and performance consistent with the philosophy and activities of School as a Learning Community; and 6) Continue developing the strategic plans in line with the Vision of the School as a Learning Community.

Keywords:  Strategic management, Excellence management, Secondary school, School as a Learning Community.


 กลยุทธ์การบริหารความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ | Excellence Management Strategies for Secondary Schools Toward School as a Learning Community

Doctor of Philosophy in Leadership and Innovation in Educational Administration, Siam University, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 924
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code