ผลของโปรแกรมการพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเองต่อความรู้และทัศนคติ เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของแกนนำนักศึกษาพยาบาล

Last modified: July 24, 2024
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเองต่อความรู้และทัศนคติ เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของแกนนำนักศึกษาพยาบาล
Title: The effect of self-efficacy development program on knowledge and attitude about electronic cigarette of nursing student leaders
ผู้วิจัย:
Researcher:
สุกฤตา ตะการีย์, พิชาภรณ์ จันทนกุล, วัฒนีย์ ปานจินดา และศิริพร สามสี | Sukrita Takaree, Pichaporn Janthanakul, Wattanee Panjinda, and Siriporn Samsee
หลักสูตรที่สอน:
Degree:
พย.บ. (สาขาพยาบาลศาสตร์) – B.N.S. (Nursing Science)
สาขาที่สอน:
Major:
พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) – Bachelor of Nursing Science
สังกัดคณะวิชา:
Faculty of study:
พยาบาลศาสตร์ (Nursing)
ปีการศึกษา:
Academic year:
2566 (2023)
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่:
Published:
วารสารพยาบาล ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มีนาคม 2567) หน้า 46-53 | Thai Journal of Nursing Vol. 73 No. 1 (2024): January-March 2024, pp.46-53  คลิก  PDF

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเองต่อความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของแกนนำนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 60 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ประกอบด้วยความรู้พิษภัยบุหรี่ไฟฟ้า 20 ข้อ, ทัศนคติต่อบุหรี่ไฟฟ้า 20 ข้อ และการรับรู้ความสามารถของตนเอง 13 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติต่อบุหรี่ไฟฟ้า และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ภายในกลุ่มเดียวกันและระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความรู้ ทัศนคติต่อบุหรี่ไฟฟ้า และการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05)

คำสำคัญ: แกนนำนักศึกษา, ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า, ทัศนคติ, การรับรู้ความสามารถของตนเอง


Abstract

This quasi-experimental research aims to study the effect of self-efficacy development program on knowledge and attitude about electronic cigarette of nursing student leaders. Using a method of simple random sampling, a total of sixty third-year nursing students was selected as participants. They were divided into the experimental and the control groups, with 30 in each. Data collection tools included the Personal information questionnaire and the questionnaire on knowledge and attitude about electronic cigarette, and self-efficacy. This questionnaire comprises 20 items on knowledge about the dangers of e-cigarettes, 20 items about attitudes towards e-cigarettes, and 13 items about self-efficacy. Data were analyzed using descriptive statistics and compare the average knowledge, attitudes towards electronic cigarette, and self-efficacy within the same group and between groups through t-test. The results showed that after the experiment, knowledge, attitude towards electronic cigarette and self-efficacy regarding the dangers of electronic cigarette in the experimental group were higher than those in the control group (p< .05).

Keywords: Student leaders, Knowledge about dangers electronic cigarette, Attitudes, Self-efficacy


The effect of self-efficacy development program on knowledge and attitude about electronic cigarette of nursing student leaders . 2566 (2023). ผลของโปรแกรมการพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเองต่อความรู้และทัศนคติ เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของแกนนำนักศึกษาพยาบาล . บทความ (Paper). Advisor: อาจารย์สุกฤตา ตะการีย์ – Miss Sukrita Takaree. วิทยาศาสตร์สุขภาพ|Health Science. พยาบาลศาสตร์ (Nursing). พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) – Bachelor of Nursing Science. พย.บ. (สาขาพยาบาลศาสตร์) – B.N.S. (Nursing Science). Bangkok: Siam University

Academic Year 2023, วิทยาศาสตร์สุขภาพ|Health Science, พยาบาลศาสตร์ (Nursing), พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) – Bachelor of Nursing Science,พย.บ. (สาขาพยาบาลศาสตร์) – B.N.S. (Nursing Science)

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 32
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code