อิทธิพลของระดับความเค้นแบบกระทำซ้ำที่มีผลต่อพฤติกรรมการเปลี่ยนรูปของดินเหนียวเคโอลิน

Last modified: March 3, 2022
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อบทความ: อิทธิพลของระดับความเค้นแบบกระทำซ้ำที่มีผลต่อพฤติกรรมการเปลี่ยนรูปของดินเหนียวเคโอลิน
Research Article: The effects of cyclic stress ratio on the deformation behavior of kaolin clay
ผู้เขียน|Author: ปริตตา  ศุภโกวิทย์ และ พงษ์พิพัฒน์ อานันทนสกุล | Paritta Suphakowit and Pongpipat Anantanasakul
Email: paritta.sup@siam.edu
ภาควิชา|คณะ: ภาควิชาวิศวกรรมโยธาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department|Faculty: Department of Civil Environment and Sustainable Engineering, Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok 10160
Published|แหล่งเผยแพร่: การประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 60 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ “เกษตรศาสตร์วิถีถัดไป พลิกวิกฤติสู่ความยั่งยืน”21-23 กุมภาพันธ์ 2565 | The 60th Kasetsart University Annual Conference “Next Normal KASETSART: Turning Crisis into Sustainability” February 21-23, 2022

การอ้างอิง|Citation

ปริตตา ศุภโกวิทย์ และพงษ์พิพัฒน์ อานันทนสกุล. (2565). อิทธิพลของระดับความเค้นแบบกระทำซ้ำที่มีผลต่อพฤติกรรมการเปลี่ยนรูปของดินเหนียวเคโอลิน. ใน รายงานการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 60 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ “เกษตรศาสตร์วิถีถัดไป พลิกวิกฤติสู่ความยั่งยืน”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Suphakowit P., & Anantanasakul P. (2022). The effects of cyclic stress ratio on the deformation behavior of kaolin clay. In The 60th Kasetsart University Annual Conference “Next Normal KASETSART: Turning Crisis into Sustainability”. Bangkok: Kasetsart University.


บทคัดย่อ

จุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้คือศึกษาการรับแรงแบบกระทำซ้ำของดินเหนียวเคโอลิน (Kaolin Clay) โดยจำลองสถานการณ์การรับแรงในสนามด้วยการทดสอบอัดตัวคายน้ำแรงอัดสามแกนในห้องปฏิบัติการ ภายใต้เงื่อนไขการอัดตัวปกติและรับแรงเฉือนในสภาพไม่ระบายน้ำของดินเหนียว (Consolidated-undrained triaxial test on normally consolidated Kaolin clay) ที่ความถี่ 0.05 Hz จำนวน 10,000 รอบ ในระดับความเค้นจากแรงแบบกระทำซ้ำ (Cyclic stress ratio, CSR) ที่แตกต่างกัน 5 ระดับ ซึ่งผลการทดสอบพฤติกรรมทางกลศาสตร์ของดินเหนียวเคโอลินที่รับแรงแบบกระทำซ้ำนั้นจะวิเคราะห์ในรูปของความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดถาวรสะสม (Accumulative plastic strain) ที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนรอบแรงกระทำ (Number of cycles) ตลอดระยะเวลาการทดสอบ อีกทั้งยังกล่าวถึงการจำแนกพฤติกรรมการเปลี่ยนรูปของตัวอย่างดินที่ทำการทดสอบในแต่ละระดับความเค้นด้วยด้วยทฤษฎี Shakedown

คำสำคัญ: ความเครียดถาวรสะสม, เครื่องมือทดสอบแรงอัดสามแกน, แรงแบบกระทำซ้ำ


ABSTRACT

Consolidated-undrained cyclic triaxial tests were performed on normally consolidated Kaolin clay specimens to investigate the deformation behavior of Kaolin subjected to repeated loading at a cyclic frequency of 0.05 Hz and undergo a number of load cycles of 10,000. Cyclic stress ratios (CSR) of 0.30, 0.45, 0.60, 0.75, and 0.90 were employed. The obtained results indicate that the accumulated plastic strains are brightly dependent on CSR. When CSR value is 0.90, the plastic strains increase insignificantly and the specimens present ratcheting behavior or failure. For CSR values equal to or less than 0.60, plastic strains increase only marginally. The specimens stabilize and elastic shakedown behavior is present.

Keywords:  Accumulative plastic strain, Cyclic loading, Triaxial test.


อิทธิพลของระดับความเค้นแบบกระทำซ้ำที่มีผลต่อพฤติกรรมการเปลี่ยนรูปของดินเหนียวเคโอลิน|The effects of cyclic stress ratio on the deformation behavior of kaolin clay

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 301
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print