- KB Home
- -ประเภทของโครงการ | Project Type
- -ทุนวิจัยภายใน|Internal Research Funding
- การเปลี่ยนผ่านของตลาดน้ำในประเทศไทย: กระบวนการสร้างสรรค์ สมุดภาพเรียงความขาวดำ เพื่อเล่าเรื่องราวตลาดน้ำในประเทศไทย
- 1. การอ้างอิง/citation
- 2. บทคัดย่อ
- 3. ABSTRACT
- 4. การเปลี่ยนผ่านของตลาดน้ำในประเทศไทย: กระบวนการสร้างสรรค์ สมุดภาพเรียงความขาวดำ เพื่อเล่าเรื่องราวตลาดน้ำในประเทศไทย / The transition of Thailand floating market: The making of black and white photo essay of Thailand floating market
- 5. รายงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยสยาม:
ชื่อบทความ: | การเปลี่ยนผ่านของตลาดน้ำในประเทศไทย: กระบวนการสร้างสรรค์ สมุดภาพเรียงความขาวดำ เพื่อเล่าเรื่องราวตลาดน้ำในประเทศไทย |
Research Article: | The transition of Thailand floating market: The making of black and white photo essay of Thailand floating market |
ผู้เขียน/Author: | ผู้ช่วยศาสตราจารย์เวทิต ทองจันทร์ | Assistant Professor Vethit Thongchantr |
Email: | vethit.tho@siam.edu |
สาขาวิชา/คณะ: | ภาควิชาสื่อดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160 |
Department/Faculty | Faculty of Communication Arts in Digital Media, Siam University, Bangkok 10160 |
Published/แหล่งเผยแพร่ | รายงานการวิจัย เรื่อง การเปลี่ยนผ่านของตลาดน้ำในประเทศไทย: กระบวนการสร้างสรรค์ สมุดภาพเรียงความขาวดำ เพื่อเล่าเรื่องราวตลาดน้ำในประเทศไทย |
การอ้างอิง/citation
เวทิต ทองจันทร์. (2560). การเปลี่ยนผ่านของตลาดน้ำในประเทศไทย: กระบวนการสร้างสรรค์ สมุดภาพเรียงความขาวดำ เพื่อเล่าเรื่องราวตลาดน้ำในประเทศไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ “การเปลี่ยนผ่านของตลาดน้ำในประเทศไทย : กระบวนการสร้างสรรค์ สมุดภาพเรียงความขาวดำ เพื่อเล่าเรื่องราวตลาดน้ำในประเทศไทย” โดยผู้วิจัยมีส่วนร่วมในฐานะนักท่องเที่ยว ที่สร้างสรรค์ภาพถ่ายและศึกษาพื้นที่ในมุมมองแนวคิดยุคหลังสมัยใหม่ และ สร้างสรรค์ศิลปะภาพถ่ายสมุดภาพเรียงความขาวดำ โดยบันทึกภาพถ่ายจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นของตลาดน้ำรวมจำนวน 19 แห่ง รวม 8 จังหวัด ทั่วพื้นที่ภาคกลาง โดยมี วัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงของตลาดน้ำกับการท่องเที่ยวที่ตอบสนองความต้องการในยุคหลังสมัยใหม่ มีการประกอบสร้างความหมายเพื่อเป็นตัวแทนการโหยหาอดีตอย่างไร และ 2. การสร้างสรรค์ภาพถ่ายเรียงความในแบบขาวดำ มีแนวทางในการสร้างตัวบท เพื่อนำเสนอให้ผู้ชมในยุคหลังสมัยใหม่ได้เข้าใจถึงการเปลี่ยนผ่านของตลาดน้ำด้วยภาพถ่ายได้อย่างไร
ผลของการวิจัย สรุปได้ว่า ตลาดน้ำ ได้มีการเปลี่ยนผ่าน ให้ผู้ชมได้เข้าใจผ่านภาพถ่าย โดยเปลี่ยนจากพื้นที่ที่มีความเป็น ย่านตลาด หรือ แหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าทางเรือมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีลักษณะของตลาดโบราณ เพื่อใช้ดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วยอารมณ์โหยหาอดีต ตลาดน้ำจึงถูกจัดสรรพัฒนาพื้นที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวชาวไทย จะใช้ตลาดน้ำเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวพักผ่อนในวันหยุดสุดสัปดาห์มีการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวทางเรือ และท่องเที่ยวทำบุญทางศาสนาพุทธ ส่วนชาวต่างชาติจะเที่ยวชมตลาดน้ำ และจ้องมองกิจกรรมของชาวไทยในฐานะแขกต่างถิ่น งานสร้างสรรค์สมุดภาพเรียงความขาวดำ จึงมีโครงสร้างของตัวบท เพื่อนำเสนอให้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านของตลาดน้ำในยุคปัจจุบันผ่านภาพถ่าย บอกเล่าเรื่องราว 6 มิติ ดังต่อไปนี้ ตลาดเรือลอยน้ำ ตลาดโบราณ ตลาดเพื่อการท่องเที่ยวในแบบผจญภัย ตลาดวันหยุด ตลาดอาหารริมทาง ตลาดริมน้ำ
คำสำคัญ: ตลาดน้ำ, การโหยหาอดีต, ภาพถ่ายเรียงความ, การสื่อสารท่องเที่ยว, เหตุการณ์เทียม
ABSTRACT
This creative research “The Transition of Thailand Floating Market : The Making of Black and White Photo Essay of Thailand Floating Market” was created by the researcher who participated as a tourist photographer who studied the concept of postmodernism in order to produce a black and white photographic essay by photographic actual events of 19 floating markets in 8 provinces throughout Central Thailand. The objectives of the research were 1) to study the transition of Thailand floating market and Postmodernist Tourism; how they represents and construct the significance of nostalgia. 2) what are the required concepts of communication, texts, messages implied to the targeted postmodernist audiences in understanding the transition of Thailand’s floating market through photographs.
Through the photographic essay, the research concludes that Thailand floating market have shown the message to postmodernist audiences that the floating market area have been shifted from the buy-and-sell areas to the historical tourist attractions with the concept of nostalgia, the floating market areas has recently been developed for Thai tourist as weekend markets with travel boats carrying tourists and Buddhist pilgrims alike. Meanwhile, the foreign tourists preferred voyeur sightseeing and gazing on Thai tourists’ activities.
The production of black and white photo essay contains messages in short paragraph which help represent the transition has 6 area of storytelling through photographs which are: Floating Market, Historical Market, Adventure Tourist Market, Weekend Market, Street Food Market, and Waterside Market.
Keywords: floating market, nostalgia, photo essay, tourism communication, pseudo-event.
การเปลี่ยนผ่านของตลาดน้ำในประเทศไทย: กระบวนการสร้างสรรค์ สมุดภาพเรียงความขาวดำ เพื่อเล่าเรื่องราวตลาดน้ำในประเทศไทย / The transition of Thailand floating market: The making of black and white photo essay of Thailand floating market
รายงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยสยาม:
- การศึกษาขนาดยาต้านจุลชีพที่ใช้บ่อยในหอผู้ป่วยวิกฤต โดยวิธี Monte Carlo simulation ในผู้ป่วยภาวะไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง
- การเปลี่ยนผ่านของตลาดน้ำในประเทศไทย: กระบวนการสร้างสรรค์ สมุดภาพเรียงความขาวดำ เพื่อเล่าเรื่องราวตลาดน้ำในประเทศไทย
- ความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการของฝ่ายต้อนรับส่วนหน้าในโรงแรม 5 ดาว
- สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม
Faculty of Communication Arts, Siam University, Bangkok, Thailand