การศึกษาทางกายวิภาคศาสตร์ของหลอดเลือดในบริเวณผนังหน้าท้อง เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดในหัตถการดูดไขมันที่บริเวณผนังหน้าท้องส่วนล่าง: เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือด

Last modified: April 3, 2024
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อเรื่อง: การศึกษาทางกายวิภาคศาสตร์ของหลอดเลือดในบริเวณผนังหน้าท้อง เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดในหัตถการดูดไขมันที่บริเวณผนังหน้าท้องส่วนล่าง: เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือด
Title: Topographic Anatomy of the Blood Vessels in Anterior Abdominal Wall Implicating to Avoid the Vascular Complications in Lower Abdominal Liposuction: Computed Tomography Angiography
ผู้วิจัย:
Researcher:
ดร.เฉลิมขวัญ รุ่งสว่าง – Chalermquan Rungsawang, Ph.D.
หลักสูตรที่สอน:
Degree:
แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) – Doctor of Medicine (M.D.)
สาขาที่สอน:
Major:
แพทยศาสตรบัณฑิต – Doctor of Medicine Program
สังกัดคณะวิชา:
Faculty of study:
แพทยศาสตร์ (Doctor of Medicine Program)
ปีการศึกษา:
Academic year:
2566 (2023)
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่:
Published:
รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยสยาม เรื่อง การศึกษาทางกายวิภาคศาสตร์ของหลอดเลือดในบริเวณผนังหน้าท้อง เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดในหัตถการดูดไขมันที่บริเวณผนังหน้าท้องส่วนล่าง: เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือด | Topographic Anatomy of the Blood Vessels in Anterior Abdominal Wall Implicating to Avoid the Vascular Complications in Lower Abdominal Liposuction: Computed Tomography Angiography 

บทคัดย่อ

การดูดไขมันเป็นหัตถการทางความงามที่มีแนวโน้มได้รับความนิยมอย่างมาก จากการริเริ่มคิดค้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1970 หัตถการดังกล่าวถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว เพื่อผลลัพธ์ทางความงามที่มีประสิทธิภาพและมีภาวะแทรกซ้อนที่น้อย อย่างไรก็ตามภาวะเลือดออกจากการบาดเจ็บของหลอดเลือดอาจกลายเป็นปัญหาเกินคาดหมายได้ เช่น ภาวะช็อกจากภาวะช็อกจากการขาดสูญเสียสารน้ำหรือเลือด (Hypovolemic shock) ได้ จากการศึกษาก่อนหน้าพบว่า การศึกษาหลอดเลือดในผนังหน้าท้องส่วนหน้าที่สัมพันธ์กับขั้นตอนการดูดไขมันหน้าท้องส่วนล่างมีน้อยมาก เนื่องจากตำแหน่งของหลอดเลือดเหล่านั้นอยู่ใกล้กับจุดเข้าของ cannula จึงสามารถเกิดการบาดเจ็บของหลอดเลือดได้ ซึ่งเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือด(Computed Tomography Angiography) ให้ข้อมูลที่มีความแม่นยำและความเฉพาะเจาะจงสูง จึงเป็นที่มาการศึกษาข้อมูลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือด ที่ครอบคลุมบริเวณช่องท้องและต้นขาส่วนบน จากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ไม่มีพยาธิสภาพทางหลอดเลือดจำนวน 50 คน 100 ข้าง โดยศึกษาลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ของหลอดเลือด ประกอบด้วย ตำแหน่งที่สัมพันธ์กับจุดสังเกตภายนอก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง โดยพบว่า หลอดเลือดแดง Superficial inferior epigastric มีต้นกำเนิดอยู่ใต้ต่อปุ่ม ASIS 47.8 มิลลิเมตร และวางตัวในตำแหน่งสัมพันธ์กับแกน Y1 ที่ระยะ -1.64 ถึง +4.14 มิลลิเมตร และหลอดเลือดแดงชั้นลึกมีตำแหน่งที่อยู่ตื้นขึ้น เมื่อแทงเข้ามาใน rectus sheath ซึ่งอยู่ห่างจากปุ่มกระดูก ASIS ในแนวแกนนอน 66.33±3.87 มิลลิเมตร และอยู่ต่ำกว่าปุ่มกระดูก ASIS 4.19±8.94 มิลลิเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 1.45±0.35 มิลลิเมตร ดังนั้น ความรู้ทางกายวิภาคของหลอดเลือดนี้เป็นประโยชน์ในการช่วยให้แพทย์ด้านความงามสามารถหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดที่เกิดจากการเจาะโดยไม่ได้ตั้งใจระหว่างการดูดไขมันหน้าท้องได้

Keywords: การดูดไขมันหน้าท้อง, ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือด, หลอดเลือดผนังหน้าท้อง, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือด


Abstract

Liposuction trends to be the most popular performed aesthetic procedure in the world after it was introduced for the first time in 1970s. Moreover, this procedure has had rapid development to obtain the effective aesthetic outcomes with much less complications by many cosmetic surgeons. Unfortunately, bleeding from vascular injury may become a major problem, resulting hypovolemic shock. The study of blood vessels in anterior abdominal wall in relation to the lower abdominal liposuction procedure is less. Because of their location closer to the cannula entry site, these vascular injuries can be occurred. This study was studied in CT abdomen from 26 medical records without the vascular pathology. Because of its accuracy and specificity, each hemi-abdomen from MDCTA was investigated the blood vessels correlated to the surface landmarks, and diameter. It was found that the superficial inferior epigastric artery originated 47.8 mm below the ASIS and is positioned relative to the Y1 axis at a distance between -1.64 and +4.14 mm. The deep arterial vessel had a shallower position that inserted into the rectus sheath, it is 66.33±3.87 mm from the ASIS in the horizontal axis and 4.19±8.94 mm below the ASIS, with an average diameter of 1.45±0.35 mm. Finally, this knowledge will help aesthetic physician to ascertain the anatomical information of the blood vessels, therefore vascular complications caused by accidental perforations during abdominal liposuction can be avoided.

Keywords: abdominal liposuction, vascular complication, vessel in anterior abdominal wall, Computed tomography angiography


Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 71
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles