- KB Home
- หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา|Graduate Schools
- หลักสูตรปริญญาโท|Masters Degree
- M.Eng
- ผลกระทบของการปรับปรุงเนื้อหาสื่อออนไลน์ต่อตัวชี้วัด: กรณีศึกษา เว็บไซต์ธุรกิจขายสินค้าออนไลน์และสื่อแห่งหนึ่ง
หัวข้อวิทยานิพนธ์: Project Title: |
ผลกระทบของการปรับปรุงเนื้อหาสื่อออนไลน์ต่อตัวชี้วัด: กรณีศึกษา เว็บไซต์ธุรกิจขายสินค้าออนไลน์และสื่อแห่งหนึ่ง The Effect of Content Improvement on Indicators of Online Media: A Case Study of the Website of Online Shops and Media |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นางสาวธัญญ์นภัส ธนารังสิมาพงศ์ Miss Thannapat Thanarangsimapong |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธชัย บรรเทิงจิตร Assoc. Prof. Dr. Yuthachai Bunterngchit |
ระดับการศึกษา: Degree: |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) Master of Engineering in Engineering Management |
สาขาวิชา: Major: |
การจัดการงานวิศวกรรม Engineering Management |
คณะ: Faculty: |
บัณฑิตวิทยาลัย Graduate Schools |
ปีการศึกษา: Academic year: |
2565 2022 |
URL: Published แหล่งเผยแพร่ผลงาน |
แหล่งเผยแพร่ผลงาน การประชุมวิชาการด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรมแห่งชาติครั้งที่ 9 ประจำปี 2561 | The 9th National Conference of Industrial Operations Development 2018 (CIOD 2018) วันที่ 11 พฤษภาคม 2561 ณ โรงแรมจัสมิน ซิตี้ สุขุมวิท 23 กรุงเทพฯ |
การอ้างอิง|Citation
ธัญญ์นภัส ธนารังสิมาพงศ์. (2565). ผลกระทบของการปรับปรุงเนื้อหาสื่อออนไลน์ต่อตัวชี้วัด: กรณีศึกษา เว็บไซต์ธุรกิจขายสินค้าออนไลน์และสื่อแห่งหนึ่ง. (การค้นคว้าอิสระวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
Thanarangsimapong T. (2022). The effect of content improvement on indicators of online media: A case study of the website of online shops and media. (Master’s independent study). Bangkok: Master of Engineering in Engineering Management, Siam University.
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้งานเพื่อนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้ และ เพื่อปรับปรุงเว็ปไซต์ให้ตัวชี้วัดเพิ่มขึ้นจากเดิม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10
วิธีการเก็บผลวิเคราะห์พฤติกรรมการเข้าถึงของผู้ใช้งานบนเว็บไซต์โดยใช้โปรแกรมเครื่องมือวิเคราะห์และเก็บข้อมูลเชิงสถิติของผู้เข้าเว็บไซต์ ผลการวิเคราะห์จะออกมาเป็นตัวเลขโดยระบุจำนวนในหมวดหมู่ต่าง ๆ เช่น เพศ จำนวนการเข้าใช้ จำนวนคนเห็น จำนวนการเข้าใช้งานแต่ละช่วงเวลา เป็นต้น การพัฒนาโดยการปรับปรุงเนื้อหา ตารางเวลาการโพสต์เพื่อให้เข้ากับพฤติกรรมการเข้าถึง และทำการเก็บผลเพื่อวิเคราะห์อีกรอบ เพื่อเปรียบเทียบว่าหลังการปรับปรุงมีผลเปลี่ยนแปลงดีขึ้นหรือไม่
จากการเก็บข้อมูลก่อนการปรับปรุง ได้จำนวนผู้เข้ามาใช้งาน เป็นจำนวน 5,858 คน ในเวลา 14 วัน ผลสรุปหลังปรับปรุงแล้วจำนวนผู้ใช้งานโดยรวมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 33.43 โดยเพศชายมีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 27.51 เพศหญิงมีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 34.26 ผู้ใช้งานเข้าชมเว็บไซต์เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 22.64 ผู้ใช้งานมีปฏิสัมพันธ์กับโพสต์ต่าง ๆ ของ เว็บไซต์ เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 19.08 ผู้เข้าใช้งานอ่านข้อความที่โพสต์เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 19.47 มีผู้ใช้งานดูรูปภาพเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 51.72 จากผล พบว่า ตัวชี้วัดเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ทุกตัวชี้วัด
คำสำคัญ: พฤติกรรมการใช้งาน, การปรับปรุง, เครื่องมือวิเคราะห์, เว็บไซต์
Abstract
The purposes of this research were to study user behavior on a website for user analysis and to improve the website by increase indicators at least 10%.
The users’ behavior statistics were collected in this study. The output were numbers in each category such as gender, number of visits, number of users, or when the peak time of usage. After data analysis, the content and the content schedules were improved to suit the user’s behavior. Afterwards, the data was collected again in order to compare the results.
Before the improvement, there were 5,858 users over 14 days. After adjusting the content and upload schedules, the number of users increased by 33.43%. Male and female users showed an increase to 27.51% and 34.26%, respectively. The amount of the users that visited the website increased to 22.64%. The amount of the users that interacted with the article increased to 19.08%. The amount of the users that read the article increased by 19.47%. The amount of the users that looked at the image on the website increased by 51.72%. From the results, all the indicators were increased at least 10%.
Keywords: behavior, improve, analysis tool, website.
ผลกระทบของการปรับปรุงเนื้อหาสื่อออนไลน์ต่อตัวชี้วัด: กรณีศึกษา เว็บไซต์ธุรกิจขายสินค้าออนไลน์และสื่อแห่งหนึ่ง | The Effect of Content Improvement on Indicators of Online Media: A Case Study of the Website of Online Shops and Media
Master of Engineering in Engineering Management, Siam University, Bangkok, Thailand