ชื่อโครงงาน: Project Title: |
ฮอร์โมนนมสด Milk Hormones |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นางสาววิมลสิริ รัตนุ่มน้อย Miss Wimonsiri Ratnoomnoi |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
อาจารย์นันทินี ทองอร Miss Nantinee Thongorn |
ระดับการศึกษา: Degree: |
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) Bachelor of Arts (Liberal Arts) |
ภาควิชา: Major: |
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ Tourism and Hospitality Industry |
คณะ: Faculty: |
ศิลปศาสตร์ Liberal Arts |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
2/2564 2/2021 |
การอ้างอิง|Citation
วิมลสิริ รัตนุ่มน้อย. (2564). ฮอร์โมนนมสด. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
Ratnoomnoi W. (2021). Milk hormones. (Cooperative Education). Bangkok: Faculty of Liberal Arts, Siam University.
บทคัดย่อ
โครงงานสหกิจศึกษาเรื่อง ฮอร์โมนนมสด มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการทำฮอร์โมนนมสด 2) เพื่อลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยที่จะมาบำรุงผักและต้นไม้ในร้านอาหารบ้านน้ำเคียงดิน 3) เพื่อลดขยะจำพวกนมสด จากการที่ผู้จัดได้เข้าปฏิบัติงานในตำแหน่งพนักงานรับออเดอร์และเสิร์ฟ จึงทำให้เห็นปัญหาในส่วนงานของตัวสเตชั่นการทำเครื่องดื่ม ซึ่งจะมีการใช้นมสดมาเป็นส่วนผสมทั้งแบบร้อนและแบบเย็น ทั้งนี้นมสดที่นำมาใช้บางส่วนจะต้องมีการนำมาสตีมนมร้อน และในบางครั้งนมที่นำมาสตีมก็จะมีเหลือทิ้ง เนื่องจากใช้ไม่หมด และนมที่สตีมแล้วก็ไม่สามารถนำกลับมาสตีมได้อีก ดังนั้นผู้จัดได้นำนมสตีมที่เหลือใช้มาทำเป็นฮอร์โมนนมสด เพื่อใช้ในการการฉีดพ่น ผักที่ทางร้านได้ปลูกไว้ ฮอร์โมนนมสดช่วยเร่งการเจริญเติบโต เมื่อนำไปใช้กับผักทานใบ จะช่วยให้ผักมีรสชาติ หวาน กรอบ อร่อยยิ่งขึ้น แล้วยังสามารถต่อยอดเป็นสินค้าภายในองค์กรต่อไป
จากการที่ได้ทำแบบสอบถามความพึงพอใจ โดยมีกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งหมด 20 คน พบว่า พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในโครงงาน ส่วนมากเป็นเพศ หญิงจำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 65.00 มีอายุระหว่าง 21- 40 ปี มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 50.00และเป็นพนักงานที่อยู่ในแผนกงานคนสวน มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 45.00 ผลสรุปจากตารางค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่มีต่อโครงงานมีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.08
คำสำคัญ: บ้านน้ำเคียงดิน, ฮอร์โมนนมสด, ร้านอาหาร
Abstract
The cooperative study on fresh milk hormones aimed: 1) to study the production of fresh milk hormones; 2) to reduce the cost of using fertilizers to nourish vegetables and trees in Ban Nam Kieng Din restaurant; 3) to reduce milk waste. From the students work taking orders and serving, problems were found in the beverage station. It used fresh milk as a mixture for both hot and cold, however, some of the fresh milk that was used must be steamed with hot milk. Sometimes the milk that is steamed had leftovers due to incomplete use and the milk that was steamed cannot be steamed again. The students used the remaining steam milk to make fresh milk hormones used in spraying vegetables that the shop grew. Fresh milk hormones help speed up growth when used with leafy vegetables. It helps vegetables taste sweeter, crisper, more delicious, and can continue made into products within the organization.
From the satisfaction questionnaire of a total population of 20 people, it was found that the respondents were satisfied with the project. Most were 13 females, representing 65.00 percent, aged 21-40 years, representing the most percentage 50.00, and is an employee in the gardener department. The highest level of satisfaction was 45.00 percent. The results from the table was average satisfaction with the project at the highest level of satisfaction, overall average was 4.08.
Keywords: Ban Nam Kieng Din, milk hormones, restaurant.
ฮอร์โมนนมสด|Milk Hormones
Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand