- KB Home
- หลักสูตรปริญญาตรี|Bachelor Degree
- คณะเภสัชศาสตร์
- เทคนิคทางเลือกสำหรับศึกษาลักษณะฟิล์มและเมมเบรน
ชื่อบทความ: | เทคนิคทางเลือกสำหรับศึกษาลักษณะฟิล์มและเมมเบรน |
ผู้เขียน|Author: | ผศ.ดร.ภญ.ศศิประภา ชิตรัตถา และ รศ.ดร.ภก.ธวัชชัย แพชมัด | Assist. Prof. Dr. Sasiprapa Chitrattha & Assoc. Prof. Dr. Thawatchai Phaechamud |
Email: | sasiprapa.chi@siam.edu |
สาขาวิชา|คณะ: | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160 |
Department|Faculty: | Faculty of Pharmacy, Siam University, Bangkok 10160 |
Published|แหล่งเผยแพร่: | วารสารเภสัชกรอุตสาหการ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (2564) หน้า 1-10 | Thai Industrial Pharmacist Association (TIPA) Journal Volume 9 Issue 2 September 2021 |
การอ้างอิง|Citation
ศศิประภา ชิตรัตถา และ ธวัชชัย แพชมัด. (2564). เทคนิคทางเลือกสำหรับศึกษาลักษณะฟิล์มและเมมเบรน. วารสารเภสัชกรกรอุตสาหการ, 9(2), 1-10.
Chitrattha S. & Phaechamud T. (2021). Alternative techniques for film and membrane characterization. Thai Industrial Pharmacist Association (TIPA) Journal, 9(2), 1-10.
บทคัดย่อ
ปัจจุบันระบบฟิล์มและเมมเบรนมีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางในหลายสาขา เช่น อิเล็กทรอนิกส์ พลังงานทางเลือก เภสัชกรรม ชีววิทยา และการแพทย์ ทั้งนี้สมบัติทางเคมีกายภาพของฟิล์มและเมมเบรนถือเป็นพื้นฐานที่ควรทราบก่อนการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งการวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีกายภาพสามารถทำได้หลายวิธี โดยขึ้นกับการนำฟิล์มและเมมเบรนนั้นไปใช้ประโยชน์ด้านใด ในบางกรณีวิธีการตรวจวัดมาตรฐานไม่สามารถวิเคราะห์ลักษณะของวัสดุเหล่านี้ได้ ดังนั้น จึงมีการพัฒนาเทคนิคใหม่ขึ้นเพื่อใช้เป็นทางเลือกในการวิเคราะห์ลักษณะเหล่านั้น บทความนี้ได้รวบรวมเทคนิคใหม่ ๆ ในการวิเคราะห์ลักษณะฟิล์มและเมมเบรน ได้แก่ การทดสอบสมบัติทางความร้อนพลวัติเชิงกล (dynamic mechanical thermal analysis, DMTA) ของฟิล์ม การใช้คลื่นเสียงอุลตร้าโซนิค (ultrasonic technique) เพื่อตรวจวัดขนาดของรูพรุน การวิเคราะห์ลักษณะทางสัณฐานวิทยาแบบสามมิติด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านและส่องกราด (scanning transmission electron microscopy, STEM) การใช้วิธีฮิสเทอรีซิสแบบพลวัติ (dynamic hysteresis) เพื่อจำแนกลักษณะทางพื้นผิว การวัดมุมสัมผัสแบบเคลื่อนที่ (dynamic contact angle) เพื่อศึกษาการสลายตัวด้วยน้ำ และการทดสอบด้วยคลื่นวิทยุโดยไม่ทำลายตัวอย่าง (microwave nondestructive testing) เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของปริมาณตัวยาสำคัญ เทคนิคใหม่ ๆ เหล่านี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการเข้าใจสมบัติทางเคมีกายภาพของฟิล์มและเมมเบรนได้มากขึ้น
คำสำคัญ: เทคนิคทางเลือก, การวิเคราะห์คุณสมบัติ, ฟิล์ม เมมเบรน
เทคนิคทางเลือกสำหรับศึกษาลักษณะฟิล์มและเมมเบรน
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Pharmacy, Siam University, Bangkok, Thailand