ระบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ

Estimated reading time: 1 min
ชื่อโครงงาน:
Project Title:
ระบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ
Automation Temperature Control System
ชื่อนักศึกษา:
Author:
บุญส่ง  ศรีกสิกรณ์
Boonsong  Srikasikorn
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ   นาราษฎร์
Asst. Prof. Dr. Yongyuth  Naras
ระดับการศึกษา:
Degree:
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
Bachelor of Engineering
ภาควิชา:
Major:
วิศวกรรมไฟฟ้า
Electrical Engineering
คณะ:
Faculty:
วิศวกรรมศาสตร์
Engineering
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา:
Semester / Academic year:
3/2561
3/2018

การอ้างอิง|Citation

บุญส่ง  ศรีกสิกรณ์. (2561). ระบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.

Srikasikorn B. (2018). Automation temperature control system. (Cooperative Education). Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok


บทคัดย่อ

รายงานสหกิจศึกษาฉบับนี้นำเสนอประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับระบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ ประสบการณ์การทำงานนี้ได้รับจากการศึกษาและฝึกปฏิบัติงาน ณ บริษัท ยู.พี. มาร์เก็ตติ้ง เยนเนอรัล ซัพพลาย จำกัด ซึ่งได้กระทำขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของบริษัทแห่งนี้ในระหว่างโครงการสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยสยาม ระบบการควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติทำได้โดยใช้ตัวควบคุมอุณหภูมิแบบดิจิตอลยี่ห้อโอมรอนรุ่น E5CWT-Q2K และใช้เทอร์โมคัปเปิลเป็นตัวเซ็นเซอร์อุณหภูมิ โดยเทอร์โมคัปเปิลทำหน้าที่ตรวจจับอุณหภูมิของกระบวนการที่กำหนดและป้อนไปยังตัวควบคุมอุณหภูมิ จากนั้นถอดรหัสนำไปเปรียบเทียบกับค่าอุณหภูมิที่กำหนดไว้ล่วงหน้าหรือค่าที่ต้องการควบคุม ตัวควบคุมอุณหภูมิจะทำการสั่งปิด/เปิดฮีตเตอร์โดยอัตโนมัติตามผลการเปรียบเทียบนี้

คำสำคัญ: ตัวควบคุมอุณหภูมิ, เทอร์โมคัปเปิล, ฮีตเตอร์


Abstract

This cooperative education report presented the work Experience on the automatic temperature control system. The work experience was gained though studying and practicing at U.P. Marketing General Supply Company Limited, which was performed under supervision of this company, during the cooperative education program of Siam University. The system for controlling temperature automatically was achieved by using Omron E5CWT-Q2K digital temperature controller. Thermocouple was used as temperature sensor. The thermocouple sensed the temperature of a given process and fed it to the temperature controller which then decoded it and compared it to a predetermined temperature value or set-point value. The temperature controller would automatically on/off the heater according to the comparison results.

Keywords:  temperature controller, thermocouple, heater.


ระบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ|Automation Temperature Control System

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม  |  Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 659
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code