การลดของเสียจากกระบวนการผลิตปะคำทองแดง: กรณีศึกษาโรงงานผลิตเครื่องประดับ

Last modified: July 3, 2019
You are here:
Estimated reading time: 1 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
การลดของเสียจากกระบวนการผลิตปะคำทองแดง: กรณีศึกษาโรงงานผลิตเครื่องประดับ
Defectives Reduction in Copper Ball Production: A Case Study of a Jewelry Factory
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายวรพงษ์   สีจำปา
Mr.Woraphong   Sijumpa
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.วันชัย   ริจิรวนิช
Assoc. Prof. Dr. Vanchai  Rijiravanich
ระดับการศึกษา:
Degree:
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
Master of Engineering in Engineering Management
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการงานวิศวกรรม
Engineering Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง/citation

วรพงษ์   สีจำปา. (2561). การลดของเสียจากกระบวนการผลิตปะคำทองแดง: กรณีศึกษาโรงงานผลิตเครื่องประดับ. (การค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อลดสัดส่วนของเสียในการผลิตปะคำทองแดงของโรงงานผลิตเครื่องประดับแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นสรุปได้ว่าการผลิตปะคำทองแดงดังกล่าวในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 มีสัดส่วนของเสียถึงร้อยละ 20 โดยในแต่ละวันมีเป้าหมายการผลิตที่ 1,000 เม็ด แต่ใน 3 เดือนดังกล่าวมีของเสียเฉลี่ยวันละ 200 เม็ด ผลผลิตปะคำทองแดงนี้จึงไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า

จากการวิเคราะห์ปัญหาที่ทำให้เกิดของเสียโดยวิธีระดมสมองของผู้ที่เกี่ยวข้องสรุปได้ว่า เกิดจากอุณหภูมิในการอบที่ต่ำเกินไปจึงทำให้ทองแดงแข็งเป็นสาเหตุให้เกิดการแตกร้าวถึงร้อยละ 52.7 ของของเสียทั้งหมด จึงได้กำหนดให้ปรับเพิ่มอุณหภูมิของเตาอบจาก 735 °C เป็น 765 °C และให้การอบรมพนักงานในด้านการผลิต และการบำรุงรักษาเครื่องจักรตามข้อกำหนด การปรับปรุงดังกล่าวได้กระทำในเดือนมีนาคม

ผลจากการวิจัยสรุปได้ว่าในระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 การผลิตปะคำทองแดงมีของเสียลดลงเหลือร้อยละ 10.3 ซึ่งลดลงร้อยละ 48.5 และของเสียที่เกิดจากการแตกร้าวเหลือเพียงร้อยละ 18 หรือลดลงร้อยละ 65.9

คำสำคัญ: เครื่องประดับ, ปะคำทองแดง, การแตกร้าว


Abstract

The objective of this research was to reduce fraction defectives of copper pinch balls of a jewelry factory in Bangkok. According to basic information obtained, it could be concluded that the fraction defectives of the copper pinch balls was at 20 percent during January to March 2017. For each working day, the target of 1,000 balls was set according to customer demand. Therefore, the output of 800 balls per day was not enough for the customer.

The brain storming method among related parties was used to seek for the cause of the defectives. From the previous information, it was approximately 52.71 percent of the defectives were from cracking. So, it was pointed out that the root cause of the cracking was a result of the low baking temperature of 735 °C. So, a higher temperature of 765 °C was set to avoid cracking. Also, training courses were arranged for the related staff members, and appropriate machine maintenance was also carried out to keep them in good condition. All improvements mentioned above were completed in March 2017.

The results after the research indicated that during April and May 2017, the fraction defectives was 10.3 percent or a 48.5 percent decrease, and the defectives cause by cracking was 18 percent or a 65.9 percent reduction.

Keywords:  Jewelry, Copper ball, Cracking.

 


 

  M-Eng-2018-IS-Defectives Reduction in Copper Ball Production-A Case Study of a Jewelry Factory

Master of Engineering in Engineering Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 944
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles