การพัฒนาตำรับยาสอดเต้าแบบผงแห้งสำหรับผสมเป็นยาแขวนตะกอนใช้ในโคนม

Last modified: August 20, 2024
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาตำรับยาสอดเต้าแบบผงแห้งสำหรับผสมเป็นยาแขวนตะกอนใช้ในโคนม
Title: Development of Intramammary Dry Powder for Suspension in Dairy Cows Use
ผู้วิจัย:
Researcher:
วิริยาพร ศิริกุล, ชุติมน หมื่นแก้ว และนฤพร สุตัณฑวิบูลย์ – Wiriyaporn Sirikun, Chutimon Muankaew
หลักสูตรที่สอน:
Degree:
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม – Doctor of Pharmacy Program in Pharmaceutical Care
สาขาที่สอน:
Major:
เภสัชศาสตรบัณฑิต ภ.บ. (การบริบาลทางเภสัชกรรม) – Pharm.D. (Pharm.Care)
สังกัดคณะวิชา:
Faculty of study:
เภสัชศาสตร์ (Pharmacy)
ปีการศึกษา:
Academic year:
2566 (2023)
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่:
Published:
วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2567 หน้า 73 – 85 | Isan Journal of Pharmaceutical Sciences Vol. 20 No. 2, April – June 2024 p.73 – 85.  คลิก  PDF

บทคัดย่อ

โรคเต้านมอักเสบในโคนม เป็นปัญหาสำคัญในด้านเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม ซึ่งในปัจจุบันปัญหาหลักของตำรับยาสอดเต้าคือมีปริมาณตัวยากระจายไปยังบริเวณเป้าหมายได้ไม่เพียงพอ เนื่องจากตัวยาไม่สามารถยึดเกาะบริเวณเต้านมได้ วัตถุประสงค์: งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นพัฒนาสูตรตำรับยาโดยลดขนาดอนุภาคผงยาของสูตรตำรับเพื่อเพิ่มการกระจายยาในเต้านม วิธีการศึกษา: งานวิจัยนี้ใช้ตัวยาคลินดามัยซิน ไฮโดรคลอไรด์เป็นยาต้นแบบในการพัฒนารูปแบบนำส่งแบบยาแขวนตะกอน ซึ่งใช้พอลิเมอร์ 3 ชนิดที่มีประจุแตกต่างกันได้แก่ ไคโตซาน (ประจุบวก) โซเดียมคาร์บอกซี เมทิลเซลลูโลส (ประจุลบ) และไฮดรอกซี โพรพิล เมทิลเซลลูโลส (ไม่มีประจุ) โดยมีอัตราส่วนระหว่างพอลิเมอร์และตัวยาคลินดามัยซิน ไฮโดรคลอไรด์เป็น 0.5:1 1:1 และ 2:1 จากนั้นทำให้เป็นผงแห้งด้วยกระบวนการอบแห้งแบบพ่นฝอย ผลการวิจัย: พบว่ามีเพียงสูตรตตำรับที่ประกอบด้วยโซเดียมคาร์บอกซี เมทิลเซลลูโลสและไฮดรอกซีโพรพิล เมทิลเซลลูโลส 4000 ในอัตราส่วน 1:1 และ 2:1 เท่านั้นที่ให้ร้อยละการกักเก็บตัวยาอยู่ในช่วงร้อยละ 90.00-120.00 โดยมีรูปร่างลักษณะเป็นทรงกลมและขนาดของอนุภาคอยู่ในระดับไมครอน และเมื่อนำมาศึกษาการปลดปล่อยตัวยาแบบภายนอกร่างกายในสารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ (ค่าความเป็นกรดด่าง 7.4) เป็นสารละลายตัวกลางพบว่าสูตรตำรับที่มีโซเดียมคาร์บอกซี เมทิลเซลลูโลส หรือ ไฮดรอกซีโพรพิล เมทิลเซลลูโลส 4000 ในอัตราส่วน 1:1 ตัวยาปลดปล่อยได้อย่างสมบูรณ์ภายในเวลา 30 นาที และเมื่อนำมาศึกษาการปลดปล่อยแบบภายนอกร่างกายในสารละลายตัวกลางเป็นน้ำนมดิบ ผลการศึกษาพบว่าสูตรตำรับของโซเดียมคาร์บอกซี เมทิลเซลลูโลส ให้ร้อยละการปลดปล่อยตัวยาคลินดามัยซิน ไฮโดรคลอไรด์ คือร้อยละ 75.06 ซึ่งใกล้เคียงกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (Q ≥ ร้อยละ 85) และสามารถยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus ได้ สรปุผลการวิจัย: สูตรตำรับโซเดียมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสอัตราส่วน 1:1 จึงให้แนวโน้มที่ดีที่จะนำไปพัฒนาในงานวิจัยต่อไป

Keywords: ยาสอดเต้านมวัว, คลินดามัยซิน ไฮโดรคลอไรด์, เต้านมอักเสบ, โซเดียมคาร์บอกซี เมทิลเซลลูโลส, ไฮดรอกซีโพรพิล เมทิลเซลลูโลส.


Abstract

Mastitis in dairy cows has been a major economic problem for dairy industries. Nowadays, the main problem of intramammary preparations is insufficient amounts of drugs at the target site. It is due to the fact that the preparations do not spread and adhere in udders. Objective: This research was aimed to develop formulations by reducing particle sizes of the preparations to increase spreadability in udder. Method: Clindamycin HCl was selected as a model drug to develop suspensions. Chitosan (cationic charge), sodium carboxymethylcellulose; NaCMC (anionic charge) and hydroxypropyl methylcellulose; HPMC (nonionic charge) were chosen to develop the preparations in this study. The proportions of each polymer and clindamycin HCl were varied as 0.5:1, 1:1 and 2:1. All formulas were generated as dried powders via spray drying process. Result: There were only the formulas which contained NaCMC and HPMC 4000 in the ratio of 1:1 and 2:1 gave the percentages of entrapment in the ranges of 90.00-120.00%. The morphology was spherical and particle sizes were in the ranges of microns. Those formulas were selected to evaluate in vitro release study in phosphate buffered (pH 7.4). The results showed that the formulas which were composed of NaCMC or HPMC 4000 in the ratio of 1:1 were completely released within 30 minutes. Therefore, those formulas were carried out in vitro release study in full cream milk. The results showed that only NaCMC formula gave the percentages of clindamycin HCl released at 75.06%, that was close to the criteria (Q≥85%). The NaCMC formula could inhibit Staphylococcus aureus. Conclusion: The NaCMC (1:1) formula gave a good trend to develop in the further experiments.

Keywords: intramammary clindamycin HCl, mastitis sodium, carboxymethylcellulose, hydroxypropyl methylcellulose.


Development of Intramammary Dry Powder for Suspension in Dairy Cows Use. 2566 (2023). การพัฒนาตำรับยาสอดเต้าแบบผงแห้งสำหรับผสมเป็นยาแขวนตะกอนใช้ในโคนม. บทความ (Paper). Advisor: ดร. วิริยาพร ศิริกุล – Dr. Wiriyaporn Sirikun. วิทยาศาสตร์สุขภาพ|Health Science. เภสัชศาสตร์ (Pharmacy). เภสัชศาสตรบัณฑิต ภ.บ. (การบริบาลทางเภสัชกรรม) – Pharm.D. (Pharm.Care). หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม – Doctor of Pharmacy Program in Pharmaceutical Care. Bangkok: Siam University

Academic Year 2023, วิทยาศาสตร์สุขภาพ|Health Science, เภสัชศาสตร์ (Pharmacy), เภสัชศาสตรบัณฑิต ภ.บ. (การบริบาลทางเภสัชกรรม) – Pharm.D. (Pharm.Care),หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม – Doctor of Pharmacy Program in Pharmaceutical Care

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 40
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code