นโยบายการจ่ายปันผลสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ

Last modified: October 2, 2021
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อบทความ: นโยบายการจ่ายปันผลสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ
Research Article: Dividend Policy for SMES Entrepreneurs in Economic Crisis Situation
ผู้เขียน|Author: สุรชัย ภัทรบรรเจิด | Surachai Pattarabanjird
Email: surachai.pat@siam.edu
ภาควิชา|คณะ: ภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department|Faculty: Department of Finance & Banking, Faculty of Business Administration,  Siam University, Bangkok 10160
Published|แหล่งเผยแพร่: วารสารการจัดการสมัยใหม่ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 | Modern Management Journal Vol.15 No.1 Jan-Jun 2017

การอ้างอิง|Citation

สุรชัย ภัทรบรรเจิด. (2560). นโยบายการจ่ายปันผล สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 15(1), 23-34.

Pattarabanjird S.. (2017). Dividend policy for SMES entrepreneurs in economic crisis situation. Modern Management Journal. , 15(1), 23-34.


บทคัดย่อ

ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 90 ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมดในประเทศ  ผลกระทบต่อ SMEs อยู่ในภาวะที่ขาดทุน และผลกระทบที่สำคัญ คือ ผู้ประกอบการ SMEs ไม่สามารถจ่ายปันผลได้ ดังนั้นในช่วงภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการ SMEs ต้องวางแผนในด้านนโยบายการจ่ายปันผลที่จะทำให้ผู้ถือหุ้นมีความเชื่อมั่นต่อกิจการและยังคงถือหุ้นของ SMEs ต่อไป

ผลการศึกษาจากงานวิจัยและบทความต่างๆ ที่เกี่ยวกับหุ้นปันผลทั้งในและต่างประเทศแสดงให้เห็นว่า หุ้นปันผลเป็นทางเลือกหนึ่งในการลงทุนในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ  โดยในระยะยาว หุ้นปันผลจะให้ผลตอบแทนรวมสูงกว่าตลาด และกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีองค์ประกอบด้วยหุ้นปันผลที่มีอัตราเงินปันผลตอบแทนสูงจะสามารถสร้างอัตราผลตอบแทนรวมสูงกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ที่มีองค์ประกอบด้วยหุ้นปันผลที่มีอัตราเงินปันผลตอบแทนต่ำ  และผลตอบแทนดังกล่าวสูงกว่าการลงทุนในพันธบัตรระยะยาว ตั๋วเงินคลังและตราสารเงินฝากในตลาดเงิน นอกจากนี้อัตราเงินปันผลตอบแทนมีผลต่ออัตราผลตอบแทนรวมในสัดส่วนค่อนข้างสูง  ดังนั้นหุ้นปันผลจึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมและน่าสนใจอย่างยิ่งในการลงทุนระยะกลางและระยะยาวในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ

สำหรับนโยบายการจ่ายปันผลสำหรับผู้ประกอบการ สามารถจำแนกได้เป็น 1. นโยบายการจ่ายปันผลปกติ(Regular dividend policy) 2. นโยบายการจ่ายปันผลคงที่ (Stable Dividend Policy) 3. นโยบายการจ่ายปันผลไม่คงที่ (Irregular Dividend Policy) 4. นโยบายการไม่จ่ายปันผล (No Dividend Policy) และ 5. นโยบายการจ่ายปันผลแบบกำหนดสัญญาระยะกลางหรือระยะยาว(Medium-term and Long-term Contracted Dividend Policy) ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่สำหรับผู้ประกอบการ SMEs อันเป็นนโยบายที่จะช่วยให้ราคาหุ้นไม่ได้รับผลกระทบจากการชะลอจ่ายปันผลในช่วงวิกฤติการณ์ โดยมีข้อดีที่สำคัญ เช่น ลดภาระการจ่ายปันผลให้กับผู้ประกอบการ SMEs ของไทยในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ  ช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ของไทย สามารถรักษาสภาพคล่องของกิจการและดำรงกิจการอยู่รอดไปได้ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนำเงินปันผลไปลงทุนหรือขยายกิจการได้ต่อเนื่อง และช่วยลดภาระหนี้สินระยะสั้นและระยะกลาง เป็นต้น

คำสำคัญ: ผู้ประกอบการ SMEs, นโยบายการจ่ายปันผล, ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ, หุ้นปันผล


ABSTRACT

World Economic Crisis has been an effect to Economic Crisis in Thailand from past to present time. These economic crises have a huge impact to Thai entrepreneurs especially SMEs entrepreneurs that has more than 90% of Thai entrepreneurs. These crises make a loss to SMEs entrepreneurs and has an impact to decrease return to equity (ROE) that come from unable to pay dividend. So in these crises, SMEs entrepreneurs must have a plan for dividend policy that will make a confident for its enterprises and shareholders.

Research studies on dividend payment in Thailand and other countries show that stock dividend is a good investment during economic crises especially in the long-term, stock dividend can pay return more than market return. Dividend yield from stock has a greater yield than longterm bond, treasury bill and money market instrument. So investment in stock dividend is a suitable and interesting for a medium-term and long-term investment during economic crises situation.

Dividend policies for SMEs entrepreneurs can be categorized in five approach ; 1) Regular Dividend Policy 2) Stable Dividend Policy 3) Irregular Dividend Policy 4) No Dividend Policy and 5) Medium-term and Long-term Contracted Dividend Policy, the new idea for SMEs entrepreneurs that cannot pay dividend during economic crisis but do not has a critical impact to stock price. This dividend policy has many advantages for SMEs entrepreneurs during economic crisis such as, decrease cash dividend for SMEs entrepreneurs, keep financial liquidity for SMEs entrepreneurs, SMEs entrepreneurs can use capital for another investments and Decrease shortterm debt.

Keywords : SMEs Entrepreneurs, Dividend Policies, Economic Crises, Stock Dividend.


นโยบายการจ่ายปันผลสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ|Dividend Policy for SMES Entrepreneurs in Economic Crisis Situation

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 536
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print