ความพร้อมของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อการเป็นผู้ประกอบการ

Last modified: June 20, 2021
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อบทความ: ความพร้อมของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อการเป็นผู้ประกอบการ
Research Article: The Readiness of University Students toward Entrepreneurs
ผู้เขียน/Author: ธนกร ลิ้มศรัณย์, บุษยา วงษ์ชวลิตกุล, ธีติมา ปิยะศิริศิลป์, อังควิภา แนวจําปา | Tanakorn Limsarun, Busaya Vongchavalitkul, Teetima Piyasirisilp, Angkavipa Naewjumpa
Email: tanakorn.lim@siam.edu
สาขาวิชา/คณะ: หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty Master of Business Administration, Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่ วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2561 | Southeast Bangkok Journal Vol.4 No.2 July – December 2018

การอ้างอิง/citation

ธนกร ลิ้มศรัณย์, บุษยา วงษ์ชวลิตกุล, ธีติมา ปิยะศิริศิลป์ และ อังควิภา แนวจําปา. (2561). ความพร้อมของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก, 7(1), 90-101.


บทคัดย่อ

ผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) นับว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของนานาประเทศ ดังนั้นการศึกษาความพร้อมของนักศึกษาในการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในช่วงที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาจึงมีความสำคัญ เพื่อให้ทราบถึงความถนัด ความสามารถ และความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนาประเทศต่อไป งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีรูปแบบเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือการวิจัยที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 816 คน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์มีความถนัดในการเป็นผู้ประกอบการมากที่สุด และนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจมีความถนัดในการเป็นผู้ประกอบการน้อยที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความถนัดในการเป็นผู้ประกอบการมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ ความถนัดในการเป็นผู้ประกอบการมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการ และความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการอย่างมีนัยสำคัญ

คำสำคัญ: ความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการ,วิสาหกิจเริ่มต้น, นักศึกษาอุดมศึกษา


ABSTRACT

Small and Medium Enterprises (SMEs) are the backbone of economics in many countries. Therefore, the study of the readiness of undergraduate students in the final year of their studies was significant in order to acknowledge students’ aptitude, readiness, and intention to be an entrepreneur in the near future. The questionnaire was employed as the main research instrument for collecting data from the sample group, 816 Co-operative Education students. The statistical data analysis indicated that students from Faculty of Engineering had the highest entrepreneurial aptitude while students from the Faculty of Business Administration had the lowest entrepreneurial aptitude. Moreover, there was a significant correlation between entrepreneurial aptitude and entrepreneurial competence, correlation between entrepreneurial aptitude and entrepreneurial intention, and correlation between entrepreneurial competence and entrepreneurial intention.

Keywords: Readiness of entrepreneur, Start-up, University student.


ความพร้อมของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อการเป็นผู้ประกอบการ | The Readiness of University Students toward Entrepreneurs

Graduate Schools of Master of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 930
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code