ความพึ่งพาทางเศรษฐกิจจากการค้าชายแดน ไทย – กัมพูชา กรณีศึกษา : จังหวัดสระแก้ว

Last modified: June 11, 2021
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อบทความ: ความพึ่งพาทางเศรษฐกิจจากการค้าชายแดน ไทย – กัมพูชา กรณีศึกษา : จังหวัดสระแก้ว
Research Article: Economic Dependency from Thailand – Cambodia Border Trade A Case Study : Srakaew Province
ผู้เขียน/Author: ดร.ชลิศา รัตรสาร และ ดร.สมชาย เบ็ญจวรรณ์ | Dr. Chalisa Rattarasarn & Dr. Somchai Benjawan
Email: chalisa.rat@siam.edu
สาขาวิชา/คณะ: สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty Faculty of Business Administration in International Business Management,  Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่ รายงานการวิจัย (ทุนภายใน) มหาวิทยาลัยสยาม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

การอ้างอิง/citation

ชลิศา รัตรสาร และ สมชาย เบ็ญจวรรณ์. (2564). ความพึ่งพาทางเศรษฐกิจจากการค้าชายแดน ไทย – กัมพูชา กรณีศึกษา : จังหวัดสระแก้ว (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การค้าชายแดน ไทย – กัมพูชา ทั้งโดย รูปแบบและทิศทางการค้า ตลอดจนแนวโน้มของการค้า ณ ด่านอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์ที่สุด ทั้งด้วย ขนาด ระดับ และมูลค่าทางการค้าที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองลงมาจาก อันดับ 1 ด่านสะเดา และ อันดับ 2 ด่านปาดังเบซาร์ โดยมีตลาดโรงเกลือเป็นตลาดการค้าที่สำคัญของไทย

ความพึ่งพาทางเศรษฐกิจ จากการค้าชายแดน ไทย – กัมพูชา ใช้ทฤษฎีพึ่งพา ทฤษฎีระบบโลก และทฤษฎีโลกาภิวัฒน์ และแนวคำอธิบายวัฒนธรรมจากสื่อ เป็นหลัก ในการวิเคราะห์ด้วยวิธีวิทยาในการวิจัย (Research Methodology) ทั้งในเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และในเชิงปริมาณ (Quantitative Approach) ด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนาความ (Descriptive Approach) และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics)

ผลการศึกษา สรุปเป็น 2 แนวทาง สรุปได้ว่า

  • ในเชิงปริมาณ พบว่า ธุรกิจการค้าในตลาดโรงเกลือ การเข้า – ออก ด่านการค้าชายแดนของประชาชนชาวกัมพูชา และการให้อนุญาตแก่รถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถโดยสารสาธารณะ ของชาวกัมพูชา มีความสัมพันธ์ต่อ มูลค่าการค้าสินค้าไทยที่ผ่านเข้าไปในกัมพูชา ในส่วนของแบบสอบถาม 3 ประเภทสำหรับชิปปิ้ง ให้ข้อสรุปที่ตรงกันว่า กัมพูชาพึ่งพาไทย มากกว่าที่จะเป็น ไทยพึ่งพากัมพูชา จากปริมาณ ขนาด และระดับการค้าไทย – กัมพูชา สำหรับผู้ทำการค้าในตลาดโรงเกลือ ให้ข้อสรุปว่า กัมพูชาพึ่งพาไทย ในด้านสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าแฟชั่น รวมทั้งการแพทย์และการสาธารณสุขของไทย ส่วนไทยพึ่งพากัมพูชา ในด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยว เพราะว่ามีกรุ๊ปทัวร์ของไทยเข้าไปอยู่เนืองๆ แต่เมื่อศึกษาด้วยความคิดเห็น พบว่า โดยเฉลี่ยแล้ว กัมพูชาพึ่งพาไทย สำหรับชาวกัมพูชา ให้ข้อสรุปเช่นกันว่า กัมพูชาพึ่งพาไทย
  • ในเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In – depths Interview) มีแนวโน้มว่า กัมพูชาพึ่งพาไทยจากการค้าชายแดน อย่างไม่อาจถ่ายถอนได้ สืบเนื่องมาจากการพัฒนาถนนและปรับปรุงระเบียบวิธีการขนส่งผ่านแดน การเปิดจุดตรวจด่านศุลกากร และสถิติการตรวจคนเข้าเมืองของชาวกัมพูชาในทุกมิติที่เกี่ยวข้อง

เมื่อนำผลการศึกษาทั้ง 2 ส่วน มาวิเคราะห์ พบว่า ในความสัมพันธ์บนระนาบเชิงเดี่ยวทางประวัติศาสตร์ ระหว่างไทย – กัมพูชา นั้น ทุกสิ่งยืนอยู่บนหลักการจักรวรรดินิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Imperialism) เป็นความพึ่งพาทางโครงสร้าง (Structural Dependency) ที่กัมพูชาขึ้นต่อไทย ตามแนวคำอธิบายของทฤษฎีพึ่งพา (Dependency Theory) และเป็นการครอบงำกัมพูชาโดยอำนาจการเป็นเจ้าผู้ครอบครองในทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นไปอย่างไม่เสมอภาคต่อกัน (Hegemony / Rivalry) ตามแนวคำอธิบายของทฤษฎีระบบโลก (World System Theory) มากกว่าที่จะเป็น การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม (Cultural Assimilation) กล่าวโดยสรุป สภาวะการพึ่งพาทางเศรษฐกิจ จากการค้าชายแดน ไทย – กัมพูชา เกิดขึ้น.

คำสำคัญ: ความพึ่งพาทางเศรษฐกิจ,  การค้าชายแดน ไทย – กัมพูชา,  ทฤษฎีพึ่งพา


ABSTRACT

Thailand – Cambodia Border Trade with its patterns and trends, including the normal trade at Aranyaprateth, Srakaew Province, is the best example of completeness in terms of size, level and volume of trade.  Aranyaprateth has been allocated as the top 3 following successful border trades in addition to Sadao and Padang Bezar. In facts, Rong Klea Market is the most important market for Cambodian.

To study the economic dependency between Thailand – Cambodia Border Trade, in this research we have used the Dependency Theory, World System Theory, Globalization Theory and Popular Culture with regard to both Qualitative and Quantitative Research Methodology Approaches.

The results of our research are as the following:

  • Quantitative Approach; Rong Klea Market’s trading business represents inbound and outbound number of Cambodian citizens. And the permission for Cambodian for inbound and outbound in private Cambodia cars and public Cambodian buses. By the relations in volume of border trade passing through Cambodia. Three types of questionnaires for shipping agent, the Cambodian businessmen and entrepreneurs and Cambodian citizens represent the situation in Thailand – Cambodia’s border trade. Cambodia depends on Thailand by the economic dependency.
  • Qualitative Approach: After conducting a couple of in –depth interviews, it was understood that Cambodia depends on Thailand continuously. From the development in roads’ networking and transport’s regulations and measurements for border trade including with customs checking point at Aranyaprateth in variety of dimensions represent that Cambodia depends on Thailand.

From the research results analyzed beyond the historical background between Thailand – Cambodia, everything still stands on Economic Imperialism. It is the structural dependency that Cambodia depends on Thailand with the main descriptions by using Dependency Theory and World System Theory. And it shows the economic dominance by economic and political hegemonic power. These relations represent the situation in Hegemony –Rivalry by the description of World System Theory more than Cultural Assimilation. The conclusions of this research are economic dependency occurred from Thailand – Cambodia Border Trade.

Keywords: Economic Dependency, Thailand – Cambodia Border Trade, Dependency Theory.


ความพึ่งพาทางเศรษฐกิจ จากการค้าชายแดน ไทย – กัมพูชา กรณีศึกษา : จังหวัดสระแก้ว | Economic Dependency from Thailand – Cambodia Border Trade A Case Study : Srakaew Province

Faculty of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

รายงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยสยาม:

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1854
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles