การลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในอุตสาหกรรม: กรณีศึกษาโรงงานผลิตผ้าอนามัยแห่งหนึ่ง

Last modified: July 19, 2024
You are here:
Estimated reading time: 2 min

Title: Electrical Energy Reduction in Industry: A Case Study of a Sanitary Napkin Factory

ชื่อโครงการ: การลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในอุตสาหกรรม: กรณีศึกษาโรงงานผลิตผ้าอนามัยแห่งหนึ่ง

Author: Mr. Visuwat Khantong

ชื่อผู้วิจัย: นายวิษุวัต ขานทอง

Advisor: ดร.วีระกาจ ดอกจันทร์ – Dr. Weerakarj Dokchan

Degree: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม – Master of Engineering Program in Engineering Management

Major: วศ.ม. (การจัดการงานวิศวกรรม) – M.Eng. (Engineering Management)

Faculty: บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School)

Academic year: 2566 (2023)

Published: การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดา เนินงานทางอุตสาหกรรม ครั้งที่ 11 วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 (หน้า 794 – 803) The 11th National Conference of Industrial Operations Development 2020 (CIOD 2020) (p 794 – 803)  คลิก   PDF


บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้าในโรงงานผลิตผ้าอนามัย เพื่อหามาตรการอนุรักษ์พลังงานที่เหมาะสม และเพื่อลดต้นทุนพลังงานไฟฟ้าต่อหน่วยการผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัย

     การวิเคราะห์เพื่อประเมินสถานะการณ์การใช้พลังงาน เป็นการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางสถิติ ด้วยเครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด โดยนำข้อมูลใช้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุการสูญเสียทางพลังงาน และกำหนดมาตรการการอนุรักษ์พลังงานโดยมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการจัดการพลังงานเป็นหลัก

     จากการศึกษาการอนุรักษ์พลังงานและการระดมสมองผู้เกี่ยวข้อง สรุปว่าระบบปรับอากาศมีการเสื่อมสภาพของแผงระบายความร้อนและปั้มอัดสารหล่อเย็น เนื่องจากใช้มาแล้วร่วม 15 ปี ทำให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นตกลงเหลือร้อยละ 77 เป็นปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้า จึงได้กำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงาน 8 มาตรการคือ 1) เปลี่ยน Chiller ใหม่ลดพลังงานลลงร้อยละ44.77, 2) เปลี่ยนหอผึ่งเย็นใหม่ลดพลังงานลงร้อยละ 12, 3) ปรับปรุงเครื่องส่งลมเปลี่ยนมอเตอร์ประสิทธิภาพสูงลดพลังงานลงร้อยละ 11.6, 4) เปลี่ยนใบพัดน้ำหนักเบาและมอเตอร์ของระบบหอผึ่งเย็นลดพลังงานร้อยละ 34, 5) ติดตั้งระบบกำจัดตะกรันของ Chiller อัตโนมัติ “Ball Technic” ลดพลังงานลงร้อยละ 14.2, 6) ปรับปรุงปั๊มน้ำเย็นของระบบ Chiller เปลี่ยนมอเตอร์ประสิทธิภาพสูงลดพลังงานลงร้อยละ 11.89, 7) ติดตั้งโปรแกรม PLC ที่ชุดพัดลมดูดอากาศของระบบกำจัดฝุ่นลดพลังงานลงร้อยละ 6.6, 8) เปลี่ยนหลอดไฟเป็นหลอด LED ลดพลังงานร้อยละ 52.63 รวมเป็นเงินลงทุนทั้งหมด 18,113,381 บาท สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ 8,944,287 บาท/ปี ถ้าคิดอายุโครงการ 5 ปีอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับ 34% ระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 2.03 ปี ทำให้จากเดิมต้นทุนการผลิต 2.604 บาทต่อกิโลกรัม ลดลงเหลือ 2.476 บาทต่อกิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 4.902

คำสำคัญ: การลดการใช้พลังงานไฟฟ้า, พลังงาน, โรงงานผลิตผ้าอนามัย


Abstract

     The purposes of this study were to determine the factors that affect the production energy cost of a Sanitary Napkin Factory to find suitable energy conservation measures and to reduce the cost of electricity per unit of sanitary napkin produced.

     Analysis to assess energy consumption situation, QC 7 tools were used to analyze the causes of energy consumption and establish energy conservation program with a major focus on improving energy efficiency and energy management.

     The study of energy conservation and brainstorming of stakeholders indicated that Low-efficiency air condition system that has been used for 15 years, the cooling efficiency has dropped to 77%. According to the analytical results, the 8 energy conservation measures were identified as follows: 1) changing a new chiller to make energy saving of 44.77%; 2) change a new cooling tower for the energy saving of 12%; 3) improve the air handing units by changing the motor to high efficiency for the energy saving of 11.6%; 4) replace the propeller and the motor of the cooling tower system for the energy saving of 34%; 5) install the automatic descaling system “Ball Technic” for the energy saving of 14.2%; 6) improve the water pump of the chiller system by changing the motor also to high efficiency for the energy saving of 11.89%; 7) install programmable logic controller at the blower to decrease the dust collector consumption for the energy saving of 6.6%; and 8)change the lamps to LED for the energy saving of 52.63%. The total investment was 18,113,381 Baht to be able to save electricity cost of 8,944,287 Baht / year. If the project life was 5 years, the internal rate of return (IRR) was 34% and the payback period was 2.03 years. The energy consumption of the production was reduced from 2.604 to 2.476 Baht per kilogram, or 4.902% reduction.

Keywords: Electrical Energy Reduction, Energy, Sanitary Napkin Factory


Electrical Energy Reduction in Industry: A Case Study of a Sanitary Napkin Factory / การลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในอุตสาหกรรม: กรณีศึกษาโรงงานผลิตผ้าอนามัยแห่งหนึ่ง

6217210008 นายวิษุวัต ขานทอง Mr. Visuwat Khantong 2566 (2023) Electrical Energy Reduction in Industry: A Case Study of a Sanitary Napkin Factory สารนิพนธ์ (Independent Study), Advisor: ดร.วีระกาจ ดอกจันทร์ – Dr. Weerakarj Dokchan, ปริญญาโท (Master’s Degree), บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School), วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม – Master of Engineering Program in Engineering Management, วศ.ม. (การจัดการงานวิศวกรรม) – M.Eng. (Engineering Management), Bangkok: Siam University

Academic Year 2023, Graduate School 2023, IMBA, IMBA 2023, Independent Study, Independent Study 2023, Master of Business Administration, Master of Business Administration (International Program) 2023, Master of Business Administration 2023, ปริญญาโท (Master’s Degree), บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School), วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม – Master of Engineering Program in Engineering Management,วศ.ม. (การจัดการงานวิศวกรรม) – M.Eng. (Engineering Management)

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 92
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles