การศึกษาและหาปัจจัยที่ทำให้เกิดพฤติกรรมและความสนใจในการเลือกดูคอนเทนต์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กที่อยู่บนโซเชียลมีเดีย

Last modified: August 14, 2024
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อเรื่อง –
Title:
การศึกษาและหาปัจจัยที่ทำให้เกิดพฤติกรรมและความสนใจ ในการเลือกดูคอนเทนต์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กที่อยู่บนโซเชียลมีเดีย
Investigating the Factors Influencing Behavior and Interest in Selecting Content Related to Children’s Products on Social Media
ชื่อผู้เขียน –
Author:
นาย สุวดล โกกุล, นางสาว พลอยชมพู ไกรเจริญ
Mr. Suwadol Gogul, Miss. Ploychomphoo Kraicharoen
อาจารย์ที่ปรึกษา –
Advisor:
อาจารย์ธนาภรณ์ รอดชีวิต – Miss Thanaporn Rodcheewit
ชื่อปริญญา –
Degree:
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ – Bachelor of Science Program in Computer Science
ภาควิชา/สาขาวิชา –
Major:
วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์) – B.Sc. (Computer Science)
คณะวิชา –
Faculty:
วิทยาศาสตร์ (Science)
ภาคเรียน/ปีการศึกษา –
Semester/Academic year:
3/2566 (2023)

บทคัดย่อ

     วัตถุประสงค์ในการจัดทำปริญญานิพนธ์นี้เพื่อศึกษาและหาปัจจัยที่ทำให้เกิดพฤติกรรมและความสนใจในการเลือกดูคอนเทนต์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กที่อยู่บนโซเชียลมีเดีย โดยปัจจุบันการสร้างคอนเทนต์ที่น่าสนใจและโดดเด่นเป็นความท้าทาย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กซึ่งความน่าเชื่อถือและคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญ ทางคณะผู้จัดทำจึงได้ทำการศึกษาและหาปัจจัยจากหลายแพลตฟอร์ม เช่น Facebook, Twitter(X), Instagram, YouTube, TikTok, และ Forum โดยใช้เครื่องมือ Zocial Eye ในการรวบรวมข้อมูล และโปรแกรม Visual Studio Code สำหรับการทำความสะอาดและจัดกลุ่มข้อมูล รวมถึงโปรแกรม Tableau สำหรับการนำเสนอข้อมูล จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความสนใจ ได้แก่ 1) พรีเซนเตอร์หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงที่มีลูกน้อยจะดึงดูดความสนใจได้มากขึ้น เพราะความน่ารักของเด็กๆ ทำให้เกิดความสนใจ 2) แฮชแท็ก (#) ช่วยดึงดูดให้คนอยากคลิกเข้าไปดูรายละเอียดว่าแฮชแท็กนี้เกี่ยวกับอะไร 3) การใช้ภาพหรือวีดีโอที่สะดุดตาจะดึงดูดสายตาผู้คนมากขึ้น ทำให้มีคนสนใจและคลิกเข้าไปดูมากขึ้น 4) ความคิดเห็นและปฏิสัมพันธ์ของคนอื่นๆ เช่น ยอดไลค์หรือโพสต์ที่มีคอมเมนต์เยอะๆ จะช่วยดึงดูดให้ผู้คนสงสัยและสนใจว่าทำไมถึงมีการ Interactive สูง 5) การจัดแคมเปญหรือกิจกรรมที่มีของแจกฟรีหรือของรางวัลจาก Influencer ยิ่งทำให้เกิดความน่าสนใจและการมีส่วนร่วมมากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ช่วยให้แบรนด์หรือผู้ประกอบการเข้าใจวิธีสร้างคอนเทนต์ที่น่าสนใจในยุคโซเชียลมีเดียและนำไปปรับใช้ในการวางแผนการตลาดและการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ: ผลิตภัณฑ์เด็ก, พฤติกรรม, คอนเทนต์


Abstract

     The objective of this thesis is to study and identify factors that influence behavior and interest in selecting content related to children’s products on social media. Creating engaging and standout content has become a challenge, especially for children’s products where credibility and quality are paramount. Therefore, the research team conducted a study to determine these factors across various platforms such as Facebook, Twitter (X), Instagram, YouTube, TikTok, and forums. The data was collected using Zocial Eye, cleaned and categorized with Visual Studio Code, and presented using Tableau. The study’s findings revealed several key factors influencing interest: 1) Presenters or celebrities with young children are particularly effective at attracting attention, as the appeal of children generates interest. 2) Hashtags (#) encourage users to click and explore the content associated with them. 3) Eye-catching images or videos draw more attention and increase the likelihood of clicks. 4) Comments and interactions, such as posts with many likes or comments, arouse curiosity and interest as people wonder why there is high interaction. 5) Campaigns or activities offering free gifts or prizes from influencers significantly increase interest and engagement. These factors help brands and businesses understand how to create engaging content in the social media era and apply these insights to marketing strategies and communication with target audiences effectively.

Keywords: children’s products, behavior, content


อาจารย์ธนาภรณ์ รอดชีวิต – Miss Thanaporn Rodcheewit, วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์) – B.Sc. (Computer Science), วิทยาศาสตร์ (Science), วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ – Bachelor of Science Program in Computer Science, 3/2566 (2023)

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 95
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print