การศึกษาลักษณะผื่น การดำเนินโรค และความพึงพอใจของการรักษาโรคขนคุดในผู้ป่วยไทย

Last modified: August 16, 2023
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อรายงานการวิจัย: การศึกษาลักษณะผื่น การดำเนินโรค และความพึงพอใจของการรักษาโรคขนคุดในผู้ป่วยไทย
Research Report: Keratosis Pilaris: Clinical Features, Clinical Course, and Treatment Satisfaction in Thai Patients
ผู้เขียน|Author: พญ.ยอดมณี เชี่ยวสิริขจร และคณะ | Yodmanee Chiawsirikajorn, et al.
Email: yodmanee.chi@siam.edu
สาขาวิชา|คณะ: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department|Faculty: Faculty of Medicine,  Siam University, Bangkok 10160
Published|แหล่งเผยแพร่: รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยสยาม เรื่อง การศึกษาลักษณะผื่น การดำเนินโรค และความพึงพอใจของการรักษาโรคขนคุดในผู้ป่วยไทย | Keratosis Pilaris: Clinical Features, Clinical Course, and Treatment Satisfaction in Thai Patients

การอ้างอิง|Citation

ยอดมณี เชี่ยวสิริขจร. (2565). การศึกษาลักษณะผื่น การดำเนินโรค และความพึงพอใจของการรักษาโรคขนคุดในผู้ป่วยไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.

Chiawsirikajorn Y. (2022). Keratosis pilaris: Clinical features, clinical course, and treatment satisfaction in Thai patients (Research Report). Bangkok: Faculty of Medicine, Siam University.


บทคัดย่อ

    การศึกษาวิจัยโรคขนคุดครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โรคกำเริบ ลักษณะคลินิก ความพึงพอใจต่อผลการรักษาและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยก่อนและหลังการรักษาได้ 1 และ 3 เดือน โดยใช้การศึกษาแบบล่วงหน้าไปในเวลา (prospective cohort) และรวบรวมผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่คลินิกผิวหนัง โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2564 และใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคผิวหนังตามที่มีผู้รายงานไว้แล้ว ปรากฎว่า มีผู้ป่วยนอกเข้าโครงการจำนวน 192 ราย แต่สามารถติดตามผลการรักษาได้ครบ 3 เดือนจำนวน 164 ราย จึงนำข้อมูลของผู้ป่วย 164 รายมาวิเคราะห์ในการศึกษาครั้งนี้

งานวิจัยนี้พบว่า พบผื่นขนคุดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีแนวโน้มจะพบผื่นเห่อมากในคนที่มีดัชนีมวลกายมาก พบได้ตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เห็นผื่นในช่วงอายุ 11-20 ปี และมีอาการแสดงของโรคคงที่ โรคนี้มีความสัมพันธ์กับประวัติโรคขนคุดในญาติสายตรงและประวัติภูมิแพ้ของผู้ป่วย โดยสัมพันธ์กับภูมิแพ้จมูกมากที่สุด ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้เข้าร่วมงานวิจัย มีอาการแสดงของผื่นคงที่ตลอดปี หนึ่งในสี่ของผู้เข้าร่วมวิจัยมีผื่นเห่อในฤดูร้อนแต่ผื่นเห่อเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่เห็นผื่นมาก่อนแต่ไม่ทราบว่าเป็นโรคขนคุด และไม่เคยได้รับการรักษามาก่อน

ตำแหน่งที่พบผื่นมากที่สุดคือ ขาท่อนล่าง ต้นแขน และต้นขา ตามลำดับ โดยพบผื่นโดยเฉลี่ย 4 ตุ่มต่อ 1 ตารางเซนติเมตรของผิวกาย ตำแหน่งที่เป็นขนคุดในและนอกร่มผ้าไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตที่แตกต่างกัน ประมาณร้อยละ 30 พบว่าผื่นขนคุดมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างชัดเจน
เมื่อให้การรักษาผื่นขนคุดด้วยยาทาในกลุ่ม steroids, salicylic acid ร่วมกับครีมทาผิวที่ช่วยให้ผิวชุ่มชื้นและยากินกลุ่ม antihistamines ตามอาการของแต่ละคน พบว่า หลังได้รับการรักษาที่ 1 และ 3 เดือน ผู้ป่วยส่วนมากมีความพึงพอใจต่อการรักษาและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยผู้ป่วยที่มีความแดงของผื่นลดลงในเดือนแรกหลังการรักษา มีความพึงพอใจและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน


ABSTRACT

This research aims to study clinical features, numbers of lesions per 1 square centimeter and course of keratosis pilaris in Thai patients including aggrevating and related factors, satisfaction after standard treatment and quality of life. The study is prospective cohort and collect patients at skin clinic, Pranangklao hospital from July 2020 to December 2021. There are 192 patients enrolled in the study, 164 patients could follow at 1 and 3 after treatment and completed the protocol of this research.

The study reported that keratosis pilaris were found in females more than males, in high body mass index more than normal and low body mass index. It can be seen since childhood but mostly found in 2nd decade of life with stable disease progression. It related to family history of keratosis pilaris and personal history of keratosis pilaris. Aquarter of them had more rash in summer. Most of patients have seen the rash before but they did not know as this disease and did not receive any medication before.

The lesions occurred mostly on calves, arms and thighs, respectively with mean density of lesions is 4 papules per square centrimeter. About 30% of patients were affected quality of life.

After treatment with moisturizing cream, weak acidic cream and corticosteroid cream, most of patients satisfied and have a better quality of life.

 


การศึกษาลักษณะผื่น การดำเนินโรค และความพึงพอใจของการรักษาโรคขนคุดในผู้ป่วยไทย|Keratosis Pilaris: Clinical Features, Clinical Course, and Treatment Satisfaction in Thai Patients

รายงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยสยาม:

Faculty of Medicine, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 220
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code