- KB Home
- หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา|Graduate Schools
- หลักสูตรปริญญาโท|Masters Degree
- M.Eng
- การลดของเสียในกระบวนการบรรจุ: กรณีศึกษาโรงงานผลิตยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์
หัวข้อสารนิพนธ์: Project Title: |
การลดของเสียในกระบวนการบรรจุ: กรณีศึกษาโรงงานผลิตยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ Reduction of Waste in the Filling Process: A Case Study of Medicinal Products for Humans |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นางสาวมาลิษา มะกำหิน Miss Mahrlisa Magumhin |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
ดร.วีระกาจ ดอกจันทร์ Dr. Weerakarj Dokchan |
ระดับการศึกษา: Degree: |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) Master of Engineering in Engineering Management |
สาขาวิชา: Major: |
การจัดการงานวิศวกรรม Engineering Management |
คณะ: Faculty: |
บัณฑิตวิทยาลัย Graduate Schools |
ปีการศึกษา: Academic year: |
2564 2021 |
URL: Published แหล่งเผยแพร่ผลงาน |
แหล่งเผยแพร่ผลงาน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้ง ที่ 53 “การจัดการเรียนรู้ การวิจัยและนวัตกรรมเพือ่ การพัฒนาที่ยั่งยืน” วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ |
การอ้างอิง/citation
มาลิษา มะกำหิน. (2564). การลดของเสียในกระบวนการบรรจุ: กรณีศึกษาโรงงานผลิตยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์. (การค้นคว้าอิสระวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
Magumhin M. (2021). Reduction of waste in the filling process: A case study of medicinal products for humans. (Master Independent Study). Bangkok: Master of Engineering in Engineering Management, Siam University.
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อลดปริมาณของเสียที่เกิดจากความผิดพลาดในกระบวนการบรรจุ และ 2) เพื่อหาแนวทางป้องกันข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในกระบวนการบรรจุผลิตภัณฑ์ยาสำเร็จรูปในโรงงานกรณีศึกษาโดยการประยุกต์ใช้แนวทางของซิกซ์ ซิกมา 5 ขั้นตอน (DMAIC)
การดำเนินงานมีดังนี้ คือ การนิยามปัญหา (Define) โดยการศึกษาสภาพปัญหาของเสียที่เกิดจากความผิดพลาดของกระบวนการบรรจุ กำหนดเป้าหมาย ตั้งขอบเขตการปรับปรุงและจัดตั้งทีมงานร่วมระดมสมอง การวัดสภาพปัญหา (Measure) มีการเก็บข้อมูลแยกประเภทของเสีย การวิเคราะห์สาเหตุ(Analyze) โดยการระดมสมองวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดของเสียเพื่อทำแผนภูมิเหตุและผลควบคู่กับการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ ซึ่งมีการประเมินค่าความรุนแรงของผลกระทบ (FMEA) โอกาสที่จะเกิดผลกระทบและความสามารถในการตรวจพบข้อบกพร่อง จากนั้นคำนวณค่าดัชนีความเสี่ยงชี้นำ (RPN) เพื่อให้ค่าลดต่ำกว่า 100 คะแนน การดำเนินการปรับปรุง (Improve) มีการเพิ่มกระบวนการตรวจสอบในกระบวนการบรรจุออกแบบเอกสารบันทึกการตรวจสอบขั้นตอนในการทำงาน และมีการอบรมวิธีการทำงานที่ถูกต้องแก่พนักงาน ขั้นตอนสุดท้าย คือ การควบคุม (Control) โดยการจัดทำฐานข้อมูลของเสียเพื่อใช้เป็นประวัติในการนำมาใช้แก้ไขปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดและจัดทำเอกสารควบคุมกระบวนการบรรจุ เพื่อให้การบรรจุมีประสิทธิภาพสูงสุด จากนั้นเปรียบเทียบข้อมูลของเสียก่อนและหลังการแก้ไขปรับปรุง
ผลของงานวิจัย พบว่า 1) หลังจากการดำเนินการปรับปรุงสามารถลดปริมาณของเสียจาก 73 กล่อง คิดเป็นร้อยละ 0.033 ลดลงเหลือ 3 กล่อง คิดเป็นร้อยละ 0.002 ลดจำนวนของเสียโดยเฉลี่ยจาก 7 กล่องต่อเดือน ลดลงเหลือ 1 กล่องต่อ 4 เดือนโดยเฉลี่ย และ 2)ได้แนวทางการป้องกันข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น โดยเพิ่มกระบวนการตรวจสอบในกระบวนการบรรจุเพิ่มการออกแบบเอกสารการตรวจสอบและเอกสารการควบคุมการบรรจุจากการปรับปรุงคุณภาพของมาตรการเชิงป้องกันในกระบวนการบรรจุส่งผลให้มูลค่าของเสียหลังการแก้ไขปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการบรรจุผลิตภัณฑ์ยาสำเร็จรูปในโรงงานกรณีศึกษาลดลงร้อยละ 95.891
คำสำคัญ: การลดของเสียกระบวนการบรรจุโรงงานผลิตยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์
Abstract
The objectives of this study were to: 1) reduce the quantity of waste caused by errors in the filling process; and 2) find the methods to reduce waste in the filling process of ready-made medicines in the factory as a case of study by applying the operational approach of Six Sigma projects, including Define, Measure, Analyze, Improve and Control (DMAIC) for five steps.
The process of this research were: 1) Define the waste problem which occurred from errors of filling processes, defining the goal, setting scope of modification and building a team for brainstorming;2) Measure condition there data collection about waste sorting;3) Analyze brainstorm the causes of waste to create cause and effect diagram, coupled with analyzing Failure Mode and Effect Analyze process by estimating the severity of effect, the probabilities of effect, and the ability of error identification. Then the Risk Priority Number was calculated to reduce their score to less than 100 points; 4) Improve by adding an examination process into filling processes, designing documents to determine work procedures, and training how to work properly;and 5) Control was performed by creating a waste database as a history for solving problems in the future, making documents about controlling filling processes to make filling have the highest efficiency and comparing waste data before and after modification.
The results of this study indicated: 1) the quantity of waste occurrence was reduced from 73 boxes (0.033%) to 3 boxes (0.002%) the average quantity of waste was reduced from 7 boxes per month to 1 box per 4 months; and 2) methods were found to prevent defects that arise by increasing design of documents about the inspection process and the control of filling process from adjustment the quality of preventive measures in filing process. As a result, value of waste after the filling-processes modification of ready-made medicines in the factory was reduced to 95.891%.
Keywords: Waste Reduction, Filling Processes, Medicinal Products for Humans.
การลดของเสียในกระบวนการบรรจุ: กรณีศึกษาโรงงานผลิตยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ | Reduction of Waste in the Filling Process: A Case Study of Medicinal Products for Humans
Master of Engineering in Engineering Management, Siam University, Bangkok, Thailand