ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรส่วนบุคคลกับปัจจัยจูงใจในการเลือกงานของบุคคลในเขตบางแค

Last modified: January 16, 2022
You are here:
Estimated reading time: 1 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรส่วนบุคคลกับปัจจัยจูงใจในการเลือกงานของบุคคลในเขตบางแค
Relationships Between Personal Variables and Job Choice Motivators of People in Bangkae Area
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายมารุต ศิริคันธะมาต
Mr. Maroot Sirikuntamat
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช
Assoc. Prof. Dr. Jomphong Mongkhonvanit
ระดับการศึกษา:
Degree:
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
Master of Business Administration
สาขาวิชา:
Major:
ธุรกิจระหว่างประเทศ
International Business
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2560
2017

การอ้างอิง|Citation

มารุต ศิริคันธะมาต. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรส่วนบุคคลกับปัจจัยจูงใจในการเลือกงานของบุคคลในเขตบางแค. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Sirikuntamat M. (2017). Relationships between personal variables and job choice motivators of people in Bangkae Area. (Master’s independent study). Bangkok: Master in Business Administration (MBA), Siam University.


บทคัดย่อ

การศึกษานี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรส่วนบุคคลกับปัจจัยจูงใจในการเลือกงาน เพื่อเป็นประโยชน์ในการหาบุคคลเข้าทำงานได้อย่างเหมาะสม สามารถเข้าใจถึงปัจจัยจูงใจในการเลือกงาน สามารถปรับตัวและลดอัตราการโยกย้ายงานของประชากรในองค์การ และลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาบุคคล โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่บุคคลในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และใช้การวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research) ด้วยการใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 430 ตัวอย่าง ตัวแปรต้นที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ต่อเดือนของครอบครัว อาชีพของบิดามารดา ระดับการศึกษาสูงสุด ประสบการณ์การทำงาน ส่วนตัวแปรตาม คือ ปัจจัยจูงใจในการเลือกงาน ได้แก่ ค่าตอบแทน สวัสดิการ ลักษณะงาน สภาพแวดล้อมของที่ทำงาน ความมีชื่อ เสียงของ หน่วยงาน โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) ทีเทสท์ (t-test)ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน มีผลต่อผลต่อปัจจัยจูงใจในการเลือกงานของบุคคลในเขตบางแค ได้แก่ ประสบการณ์ทำงาน และฐานะครอบครัว ผลการศึกษาที่ได้

นอกจากจะเป็นแนวทางในการคัดเลือกบุคคลที่มีการโยกย้ายงานน้อยหรือมีระยะเวลาการทำงานในแต่ละที่ยาวนานในสายงานใกล้เคียงกัน รวมถึงมีที่พักอาศัยเป็นของตนเองหรือครอบครัว เข้าทำงานกับองค์การ


Abstract

This study is to examine relationships between personal variables and job choice motivators of people in BANGKAE area to have for employee to find a suitable person for employment. The samples were collected with questionnaire for 3 months target group at BANGKAE area. This research used quantitative study and survey, to collect data from 430 samples. Independent variables used in the study were sex, age, monthly income of the family, parental occupation, education and level experience. Dependent variables used in the study were the incentive to choose the job, such as compensation, welfare, work environment, workplace, reputation and Job opportunities. The statistics used in the data analysis were statistic, frequency, percentage, one-way analysis of variance, t-test.

The results indicated that work experience and family wealth, was high impact on job selection. This study suggest to select people who have a little job move or have a long working period and similar jobs.


ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรส่วนบุคคลกับปัจจัยจูงใจในการเลือกงานของบุคคลในเขตบางแค / Relationships Between Personal Variables and Job Choice Motivators of People in Bangkae Area

Master in Business Administration (MBA), Siam University, Bangkok, Thailand

Related by Advisor:

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 389
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code