การรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง พฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิต และแรงสนับสนุนจากครอบครัว ระหว่างผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ และไม่ได้ ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลวัดบางไกรใน จังหวัดนนทบุรี

Last modified: October 5, 2022
You are here:
  • KB Home
  • หลักสูตรปริญญาตรี|Bachelor Degree
  • คณะพยาบาลศาสตร์
  • การรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง พฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิต และแรงสนับสนุนจากครอบครัว ระหว่างผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ และไม่ได้ ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลวัดบางไกรใน จังหวัดนนทบุรี
Estimated reading time: 2 min
ชื่อบทความ:

การรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง พฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิต และแรงสนับสนุนจากครอบครัว ระหว่างผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ และไม่ได้ ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลวัดบางไกรใน จังหวัดนนทบุรี

Research Article: Stroke Warning Signs Perception, Self-care Behaviors and Family Support  between Controlled and Uncontrolled Hypertensions in the Responsible Area of Bang-Krai-Nai Subdistrict Health Promoting Hospital, Nonthaburi Province
ผู้เขียน|Author: รัฐกานต์ ขำเขียว, ชนิดา มัททวางกูร
Email: k.ruttakarn@gmail.com
สาขาวิชา|คณะ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department|Faculty: Faculty of Nursing,  Siam University, Bangkok 10160
Published|แหล่งเผยแพร่: วารสารควบคุมโรค 2561|Disease Control Journal  2018

การอ้างอิง

รัฐกานต์ ขำเขียว และ ชนิดา มัททวางกูร. (2561). การรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง พฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิต และแรงสนับสนุนจากครอบครัว ระหว่างผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ และไม่ได้ ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลวัดบางไกรใน จังหวัดนนทบุรี. วารสารควบคุมโรค, 44(2), 130-144.


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง พฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิต และแรงสนับสนุนจากครอบครัว ระหว่างผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้และไม่ได้ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดบางไกรใน จังหวัดนนทบุรี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงนานอย่างน้อย 1 ปี และยินดีให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม จำนวน 210 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมดที่ส่งแบบสอบถาม 230 คน คิดเป็นร้อยละ 91.3 รวบรวมข้อมูลระหว่างระหว่างเดือนมิถุนายน 2559 ถึง พฤษภาคม 2560 โดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป การรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง พฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิต และแรงสนับสนุนจากครอบครัว ตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ได้เท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตได้และไม่ได้ มีการรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับมากและปานกลาง (x̄ = 3.50, S.D. = 1.28; = 3.26, S.D. = 1.13) ตามลำดับ มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการรับประทานอาหารอยู่ในระดับน้อยที่สุดทั้งสองกลุ่ม (x̄ = 1.22, S.D. = 0.28; = 1.37, S.D. = 0.33 ตามลำดับ) มีพฤติกรรมการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลางและน้อย (x̄ = 2.79, S.D. = 1.22; x̄ = 2.28, S.D. = 0.97) ตามลำดับ มีการจัดการกับความเครียดอยู่ในระดับมากและปานกลาง (x̄ = 3.75, S.D. = 0.72; x̄ = 3.49, S.D. = 0.70) ตามลำดับ มีการใช้ยาและการไปตรวจตามนัดอยู่ในระดับมากทั้งสองกลุ่ม (x̄ = 4.11, S.D. = 0.58; x̄ = 3.96, S.D. = 0.58 ตามลำดับ) และมีแรงสนับสนุนจากครอบครัวอยู่ในระดับมากและปานกลาง (x̄ = 3.63, S.D. = 1.61; x̄ = 3.32, S.D. = 1.24) ตามลำดับ นอกจากนี้ผู้ป่วยกลุ่มที่ควบคุมความดันโลหิตได้และไม่ได้ มีภาพรวมของการรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง พฤติกรรมการใช้ยาและการไปตรวจตามนัด และแรงสนับสนุนจากครอบครัวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p = 0.158, 0.066 และ 0.060 ตามลำดับ) ในขณะที่ผู้ป่วยกลุ่มที่ควบคุมความดันโลหิตได้ มีภาพรวมของการดูแลตนเองด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและการจัดการกับความเครียดแตกต่างจากกลุ่มที่ควบคุมไม่ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p = 0.000, 0.014 และ 0.007 ตามลำดับ) ดังนั้น บุคลากรสาธารณสุขควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและการจัดการกับความเครียดที่เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่โดยเน้นย้ำในกลุ่มผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้อย่างต่อเนื่อง

คำสำคัญ: การรับรู้อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง, พฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิต, แรงสนับสนุนจากครอบครัว, โรคความดันโลหิตสูง


ABSTRACT

The present study was aimed to compare the perception of stroke warning sign, blood pressure behavior and family support among controlled and uncontrolled hypertensive patients in the responsible area of Bang-Krai-Nai subdistrict health promoting hospital, Nonthaburi province. 230 simples who were diagnosed with hypertension at least a year were collected from June 2016 to May 2017. Only 210 questionnaires were collected. The instruments used in data collection included demographic data form, perception of stroke warning signs, blood pressure controlled behavior and family support. Cronbach’s alpha correlation coefficient revealed that the reliability of the instrument was 0.89. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test. The study findings showed that the controlled and uncontrolled hypertensive groups had high and moderate level of perception of stroke warning signs ( = 3.50, S.D. = 1.28; = 3.26, S.D. = 1.13) respectively, both of them had lowest level of diet-risk behavior (x̄ = 1.22, S.D. = 0.28; x̄ = 1.37, S.D. = 0.33, respectively), had moderate and low level of exercise behavior (x̄ = 2.79, S.D. = 1.22; x̄ = 2.28, S.D. = 0.97), respectively, had high and moderate level in stress management behavior ( = 3.75, S.D. = 0.72; = 3.49, S.D. = 0.70), respectively, both of them had high level of drug-intake behavior and medical follow-up ( = 4.11, S.D. = 0.58; = 3.96, S.D. = 0.58, respectively) and had high and moderate level in family support (x ̅ = 3.63, S.D. = 1.61; x ̅ = 3.32, S.D. = 1.24), respectively. Furthermore, the finding revealed that the perception of stroke warning signs, drug-intake behavior, and medical follow-up and family support were not significantly differences from the uncontrolled group at 0.05 (p = 0.158, 0.066 and 0.060, respectively). While the diet-risk behavior, exercised behavior and stress management behavior in the controlled group were significantly differences from the uncontrolled group at 0.05 (p = 0.000, 0.014 and 0.007, respectively). Thus, health personal should continuously motivate the hypertensive patients to have proper diet-behavior, exercise behavior and stress management, especially in uncontrolled hypertensive patients.

Keywords: perception of stroke warning signs, blood pressure controlled behaviors, family support, hypertension


   Link สำรอง

การรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง พฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิต 

Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1582
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles