ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของกลุ่มตัวอย่างในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

Last modified: October 4, 2022
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อบทความ: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของกลุ่มตัวอย่างในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
Research Article: Factors affecting exercise behavior of subjects in Phasicharoen District, Bangkok
ผู้เขียน/Author: วราภรณ์ คำรศ, ชนิดา มัททวางกูร, ชัยสิทธิ์ ทันศึก
Email: wara_aui@hotmail.com
สาขาวิชา/คณะ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty Faculty of Nursing,  Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่ Chula Med Bull Vol. 1 No. 4 July – August 2019  359 – 368

การอ้างอิง/citation

วราภรณ์ คำรศ, ชนิดา มัททวางกูร และ ชัยสิทธิ์ ทันศึก. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของกลุ่มตัวอย่างในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. Chula Med Bull, 1(4), 359 – 368.


บทคัดย่อ

เหตุผลของการทำวิจัย : ปัจจุบันการดำเนินชีวิตประจำวัน ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพในด้านต่าง ๆ พฤติกรรมสุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อปัญหาสุขภาพของประเทศในสังคมปัจจุบันประชากรในกรุงเทพมหานครมีการออกกำลังกายน้อย และการประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายนั้นยิ่งพบน้อยมาก ผู้วิจัยจึงมึความสนใจศึกษาเรื่องดังกล่าว

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของกลุ่มตัวอย่าง ในเขตภาษีเจริญ

วิธีการทำวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา นำมาหาความเชื่อมั่นโดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 0.8988  โดยทำการเก็บข้อมูลชุมชนในพื้นที่เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร รวมทั้งหมด 7 แขวง ขนาดตัวอย่างจำนวน 404 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ (Analytic Statistics) ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์(Correlation Analysis) T-test และ F-test

ผลการศึกษา : ทัศนคติต่อการออกกำลังกาย การรับรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย และปัจจัยสนับสนุนการออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมและการเข้าถึงการออกกำลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001)

สรุป : ควรมีศึกษาพฤติกรรมและการเข้าถึงการออกกำลังกายของคนภาษีเจริญโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางในการส่งเสริมการอออกกำลังกายของประชากรในประเทศไทยต่อไป

คำสำคัญ : พฤติกรรมการออกกำลังกาย, การออกกำลังกาย, ปัจจัย, เขตภาษีเจริญ


ABSTRACT

Background: Daily activities affect health behavior. That is an important factor relating to health problems in the society. People have less exercise and the application of local wisdom to promote exercise are limited in Bangkok, Thailand. Researchers are interested in studying such factors.

Objectives:  To study factors that affect exercise behavior of subjects in Phasicharoen District.

Methods: This cross-sectional descriptive study was designed. Data were collected using questionnaires to assess factors that affect exercise behavior, Cronbach’s alpha coefficient was 0.8988. The population sample were used in Phasicharoen subjects. The accidental sampling data were collected from 404 subjects by comparing the rule of three in arithmetic among seven the sub-district. The data were analyzed with descriptive statistics such as percentage, mean, standard deviation, correlation analysis, T-test and F-test.

Results: The results showed that attitude towards exercise, exercise awareness and supporting factors were statistically correlated the behavior and exercise aousibility directs (P-value <0.01).

Conclusion: This study access to the exercise of the Phasicharoen using qualitative research process. The data will collect by interview and should exercise behavior and access to the other areas. The analysis to find ways to promote the fitness of the population in Thailand.

Keywords: Behavior exercise, exercise, factor, people in Phasicharoen.

Correspondence to: Khumros K. Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand


ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของกลุ่มตัวอย่างในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 1
Views: 4220
Previous: การรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง พฤติกรรมการควบคุมระดับความดันโลหิต และแรงสนับสนุนจากครอบครัว ระหว่างผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ และไม่ได้ ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลวัดบางไกรใน จังหวัดนนทบุรี
Next: โรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยเสี่ยงและผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles