ประสิทธิผลในการนำนโยบายการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติไปปฏิบัติ

Last modified: February 15, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
ประสิทธิผลในการนำนโยบายการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติไปปฏิบัติ
Universal Service Obligation (USO) Policy Implementation Effectiveness of the National Broadcasting and Telecommunication Commission (NBTC)
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี
Mr. Pongthiti Pongsilamanee
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร
Asst. Prof. Dr. Chanchai Chitlaoarporn
ระดับการศึกษา:
Degree:
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Master Degree of Political Science (Government)
สาขาวิชา:
Major:
รัฐศาสตร์
Political Science (Government)
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2564
2021
URL: Published |แหล่งเผยแพร่ผลงาน: Link
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2564 ในหัวข้อ “From Disruptive to Post COVID-19 World: New Landscapes and Sustainable Development for Thailand”  ในวันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต

การอ้างอิง|Citation

พงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี. (2564). ประสิทธิผลในการนำนโยบายการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติไปปฏิบัติ. (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Pongsilamanee P. (2021). Effectiveness of Covid-19 prevention policy implementation in the area of buddhist temples in Bangkok. (Master’s independent study). Bangkok: Siam University.


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของนโยบายการให้บริการ USO ของ สานักงาน กสทช. ปัจจัยที่มีผลต่อนโยบายการให้บริการ USO ของ สานักงาน กสทช. และเสนอแนะแนวทางพัฒนาประสิทธิผลในการนานโยบายการให้บริการ USO ของ สานักงาน กสทช. ไปปฏิบัติ

ซี่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างของผู้เข้าใช้บริการจานวน 400 ชุด สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และ ค่าการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุ

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านกลุ่มเป้าหมาย ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์นโยบาย และปัจจัยด้านทรัพยากร มีผลเชิงบวกต่อประสิทธิผลในการนานโยบายการให้บริการ USO ของ สานักงาน กสทช ไปปฏิบัติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00โดยค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียรสัน มีค่าเท่ากับ ค่า 0.415 ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุ พบว่า ตัวแปรอิสระ 3 ตัวแปร คือ ปัจจัยด้านกลุ่มเป้าหมาย (X1) ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์นโยบาย (X2) และปัจจัยด้านทรัพยากร (X3) สามารถร่วมกันพยากรณ์ ประสิทธิผลในการนานโยบายการให้บริการอินเทอร์เน็ตชายขอบของ สานักงาน กสทช ไปปฏิบัติ โดยปัจจัยทั้ง 3 ค่า R = 0.565 มีค่าเข้าใกล้ 1.00 แสดงว่ามีความสัมพันธ์สูง

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1. สานักงาน กสทช. ควรพิจารณาเพิ่มจุดให้บริการ USO Net เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ของชุมชน หน่วยงานราชการต่างๆ ในพื้นที่ชุมชน 2. สร้างศูนย์ USO Net ในชุมชน เพื่อให้ประชาชนที่ไม่มีอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสามารถมาใช้บริการได้ 3.จัดอบรมให้แก่ผู้นาชุมชนและประชาชนในชุมชน ให้มีความรู้ความเข้าใจในการใช้งานของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างถูกต้องและรู้เท่าทันสื่อ 4.จัดอบรมให้แก่ผู้นาชุมชนและประชาชนในชุมชน ให้มีความรู้ความเข้าใจในการใช้งานแอพพริเคชันต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อให้สามารถนาไปประยุกต์ใช้งานให้เกิดประโยชน์ทั้งในแง่การพัฒนาเศรษฐกิจในครัวเรือน และคุณภาพชีวิต และข้อเสนอแนะสาหรับงานวิจัยครั้งต่อไป 1.การศึกษาครั้งต่อไปควรมีการศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อความสาเร็จในการนานโยบายของภาครัฐไปปฏิบัติ 2.การศึกษาครั้งต่อไปควรมีการศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างการให้บริการ USO Net กับการให้บริการเน็ตประชารัฐ เพื่อหาแนวทางดาเนินงานที่มีประสิทธิภาพในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตขึ้นให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลต่อไป 3.การศึกษาครั้งต่อไปควรมีการศึกษาเพื่อหาวิธีการนาบริการ USO Net ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ห่างไกล

คำสำคัญ: นโยบายการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO), ประสิทธิผลในการนานโยบายไปปฏิบัติ, สานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ


Abstract

The objectives of this research were: 1) to study level of Universal Service Obligation (USO) policy implementation effectiveness of the National Broadcasting and Telecommunication Commission (NBTC); 2) to s t u d y t h e factors affecting USO policy implementation effectiveness of NBTC; 3) to p ro p o s e research suggestions to improve USO policy implementation effectiveness of NBTC.

This research employed quantitative research methodology that collected data from 400 USO service customers by utilizing a research questionnaire. The statistical techniques were Mean, percentage, standard deviation, Pearson’s correlation analysis, and Multiple Regression analysis The research found that target factor ( X1), policy communication factor (X2), and resource factor (X3) had statistically positive effect on USO policy implementation effectiveness of NBTC at 0.00 level of significance and had Pearson’s correlation value of 0.415.

The result of multiple regression analysis revealed that all independent factors, target factor (X1), policy communication factor (X2), and resource factor (X3) could forecast USO policy implementation effectiveness of NBTC, and R value of 0.565 trending to 1.00 showed high statistical relation.

Suggestions for this research were as followings: 1) the Office of the NBTC should consider adding USO Net service points to cover the community area and various government agencies in the community area; 2) there should more USO net centers in the community so that people who do not have high-speed internet connection devices can use the service; 3) organize training for community leaders and people in the community to have knowledge and understanding of the use of high-speed Internet correctly and be aware of the media; 4) organize training for community leaders and people in the community to have knowledge and understanding of the use of various applications on high speed internet so that it can be applied to benefit both in terms of economic development in the household and quality of life. The recommendations for the next research were: 1) the next study should study other factors. that affects the success in implementing government policies; 2) the next study should be a comparative study between USO net service and Pracharat Internet service to find effective ways to build Internet infrastructure to serve people in remote areas; 3) further studies should be conducted to find out how to use the USO Net service to develop the community base economy and improve the quality of life of people in remote areas.

Keywords:  Universal Service Obligation (USO), policy implementation effectiveness, The National Broadcasting and Telecommunication Commission.


ประสิทธิผลในการนำนโยบายการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติไปปฏิบัติ|Universal Service Obligation (USO) Policy Implementation Effectiveness of the National Broadcasting and Telecommunication Commission (NBTC)

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม | Master of Political Science (Government), Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 181
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code