กฎความสัมพันธ์ด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูลเพื่อแนะนำการขายสินค้าปลีกในร้านค้าชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนสวนหลวง

Last modified: June 28, 2023
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อบทความ: กฎความสัมพันธ์ด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูลเพื่อแนะนำการขายสินค้าปลีกในร้านค้าชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนสวนหลวง
Research Article: Using Association Rules in Data Mining Techniques to Enhance Retail Sales in Community Stores: A Case Study of Suan-Luang Community
ผู้เขียน|Author: ณิชาวีร์ อรุณกิจเจริญ, เปรมพงศ์ พงศ์ธีรธรรม และพิชญากร เลค | Nichawee Arunkijcharoen, Preamphong Phongtheeratham, Pitchayakorn Lake
Email: pitchayakorn@siam.edu
ภาควิชา|คณะ: ภาควิชาธุรกิจดิจิทัล คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department|Faculty: Department of Digital Business, Faculty of Information Technology, Siam University, Bangkok 10160
Published|แหล่งเผยแพร่: การประชุมสหวิทยาการระดับชาติ (TNIAC2023) ครั้งที่ 9 | The 9th TNI Academic Conference (TNIAC) Bangkok, Thailand 18-19 May, 2023

การอ้างอิง|Citation

ณิชาวีร์ อรุณกิจเจริญ, เปรมพงศ์ พงศ์ธีรธรรม และพิชญากร เลค. (2566). กฎความสัมพันธ์ด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูลเพื่อแนะนำการขายสินค้าปลีกในร้านค้าชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนสวนหลวง. ใน รายงานการประชุม การประชุมการประชุมสหวิทยาการระดับชาติ (TNIAC2023) ครั้งที่ 9 (หน้า 129-133). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น: สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (TNI), สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) (TPA) และสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT).

Arunkijcharoen N., Phongtheeratham P., & Lake P. (2023). Using association rules in data mining techniques to enhance retail sales in community stores: A case study of Suan-Luang Community. In The 9th TNI Academic Conference (TNIAC) (pp. 129-133). Bangkok: Thai-Nichi Institute of Technology (TNI), Technology Promotion Association (Thailand-Japan) (TPA) and Artificial Intelligence Association of Thailand (AIAT).


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการหากฎความสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าปลีก ในร้านค้าปลีกชุมชนสวนหลวง ด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูล เพื่อนำผลที่ได้จากการพยากรณ์ไปเป็นแนวทางส่งเสริมการขายภายในร้านค้า ข้อมูลที่ใช้มาจากสินค้าในชุมชนสวนหลวง เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างสินค้า การศึกษานี้ใช้ข้อมูลเดือน มิถุนายน 2565 ถึง เดือน กรกฎาคม  2565 จากใบเสร็จจำนวน 555 รายการ  โดยใช้อัลกอริทึมวิธีเทคนิคเหมืองข้อมูลคือ Apriori ด้วยโปรแกรม Weka 3.8.4 กำหนดค่าสนับสนุนขั้นต่ำ (Minimum Support) เท่ากับ 0.01 และค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 80% – 100% จากสินค้าที่ลูกค้าซื้อบ่อย พบว่า สินค้าที่ลูกค้าซื้อคู่กันดังต่อไปนี้ 1) โดนัทริงเคลือบช็อคโกแลต และโดนัทริงเคลือบสตรอเบอร์รี่ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 100% 2) เฮลซ์บลูบอย กลิ่นสละ และน้ำตาลทราย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 89% จากข้อค้นพบสินค้าและรูปแบบที่ลูกค้าซื้อสินค้านี้ ชุมชนสวนหลวงสามารถพัฒนากลยุทธ์การตลาดทำให้เพิ่มยอดขายเพราะลูกค้าสามารถหาสินค้าที่ต้องการได้สะดวกขึ้น

คำสำคัญ: กฎความสัมพันธ์, อัลกอรึทึม Apriori, เทคนิคเหมืองข้อมูล


ABSTRACT

This research aims to study the discovery of association rules to promote retail sales in community store in Suan- Luang using data mining techniques. Based on the results provided, a case study was conducted on sales promotion within the store. The data used in this study came from the products in Suan-Luang community to find the relationship between the products. This study collected data from June to July 2022, with a total of 555 receipts. The Apriori algorithm was used for data mining with minimum support of 0.01 and confidence levels ranging from 80% to 100%, with Weka 3.8.4 software. This study found that the following products were frequently purchased together: 1) Chocolate donut ring and strawberry donut ring, with 100% confidence, and 2) Hale Blue Boy rose flavored syrup and cane sugar, with an 89% confidence level. By understanding the products and patterns that customers purchase together, Suan-Luang Commodity store can develop marketing strategies to increase sales and provide better customer convenience.

Keywords:  algorithm, Apriori, data mining.


กฎความสัมพันธ์ด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูลเพื่อแนะนำการขายสินค้าปลีกในร้านค้าชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนสวนหลวง|Using Association Rules in Data Mining Techniques to Enhance Retail Sales in Community Stores: A Case Study of Suan-Luang Community

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Information Technology, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 92
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code