มาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น: ศึกษากรณีเพลงพื้นบ้านล้านนา

Last modified: December 4, 2019
You are here:
Estimated reading time: 1 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
มาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น: ศึกษากรณีเพลงพื้นบ้านล้านนา
Legal Measures to Protect Local Wisdom:Study of Lanna Folk Songs
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวนภาลัย จิตรบุรุษ
Miss Napalai  Jitburud
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีพฤทธิ์ ศิริศักดิ์บรรจง
Assoc. Prof. Dr. Tavephut Sirisakbanjong
ระดับการศึกษา:
Degree:
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
Master of Laws Program
สาขาวิชา:
Major:
กฏหมายเอกชนและกฎหมายธุรกิจ
Private and Business Law
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง/citation

นภาลัย จิตรบุรุษ. (2561). มาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น: ศึกษากรณีเพลงพื้นบ้านล้านนา. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพลงพื้นบ้านล้านนาเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น บ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนที่มีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนานในอดีตจนถึงปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่าเพลงพื้นบ้านล้านนาเป็นสิทธิของชุมชน เนื่องจากระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทย ได้รับแนวคิดมาจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เช่นทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) องค์การการค้าโลก (WTO) และองค์การยูเนสโก (UNESCO) อีกทั้งยังให้การยอมรับว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นควรได้รับการปกป้องตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่ควรนำมาใช้ปกป้องสิทธิเพลงพื้นบ้านล้านนา คือพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 แต่เนื่องด้วยเพลงพื้นบ้านล้านนาไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้ใดเป็นผู้ริเริ่มจึงขาดองค์ประกอบความคิดริเริ่ม จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายฉบับนี้ เพลงพื้นบ้านล้านนาเป็นวัฒนธรรม ประเพณีที่สืบทอดกัมาอย่างช้านาน และชุมชนล้านนาเป็นเจ้าของแห่งสิทธิ เพราะกฎหมายลิขสิทธิ์ที่มุ่งปกป้องผลผลิตทางความคิดของมนุษย์ ไม่ปกป้องภูมิปัญญาท้องถิ่นพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ควรได้รับการแก้ไขเพื่อให้เพลงพื้นบ้านล้านนาได้รับการคุ้มครองและสามารถถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้สูญหายต่อไป

คำสำคัญ: เพลงพื้นบ้านล้านนา, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537


Abstract

This research aimed to study Lanna folk music as traditional knowledge, indicating the identity of the community that has been passed down for a long time from the past topresent. Therefore, it was not protected by this laweven thoughLanna folk music is a cultural tradition and the Lanna community is the owner.From the study, it was found that Lanna folk songs were the rights of the community because the intellectual property law system of Thailand was derived from international treaties, such as World Intellectual Property (WIPO), World Trade Organization (WTO) and UNESCO (UNESCO), and also acknowledges that traditional knowledge should be protected according to intellectual property law. Intellectual property laws should be used to protect Lanna folk music rights, but due to the Lanna folk song, it is unclear as to who initiated the tradition. Copyright laws are aimed at protecting human productivity and do not protect local wisdom. The Copyright Act, BE 2537 should prescribe specific laws (sui generis)to protectLanna folk songs with are protected and to be able to pass on local wisdom.

Keywords:  Geographical Indications Protection Act, Handicraft, Law of Intellect Property, Khaneonghin Ban Bu, TRIPs Agreement.


มาตรการทางกฎหมายเพื่อค้มุ ครองภูมิปัญญาท้องถิ่น:ศึกษากรณีเพลงพื้นบ้านล้านนา Legal Measures to Protect Local Wisdom: Study of Lanna Folk Songs

Master of Laws Program, Siam University, Bangkok, Thailand

Related:

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 577
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code