การจัดการงานสงกรานต์ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: กรณีศึกษา ถนนตระกูลข้าวในประเทศไทย

Last modified: November 25, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การจัดการงานสงกรานต์ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ : กรณีศึกษา ถนนตระกูลข้าวในประเทศไทย
Management for Non-Alcoholic Songkran Festival : A Case Study of the Rice Family Roads in Thailand
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายวิฑูร อินทจันท์
Mr. Vitoon Intajan
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยนันท์  ปัญญาศิริ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย  จันทร์เรือง
Assistant Professor Dr. Chaiyanant  Panyasiri, Assistant Professor Dr. Sommai  Chanruango
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2562
2019

การอ้างอิง|Citation

วิฑูร อินทจันท์. (2562). การจัดการงานสงกรานต์ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: กรณีศึกษา ถนนตระกูลข้าวในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Intajan V. (2017). Management for non-alcoholic Songkran festival: A case study of the rice family roads in Thailand. (Doctoral dissertation). Bangkok: Doctor of Philosophy in Management, Siam University.


บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาหลักการและวิธีการในการจัดการงานสงกรานต์ที่ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2) เพื่อถอดบทเรียนหาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดงานสงกรานต์ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการจัดงานสงกรานต์ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายในการให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน เจ้าภาพจัดงานรับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จำนวน 8 คน  ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมจำนวน 20 คน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและผู้ประสานงานและเจ้าหน้าที่เครือข่ายองค์กรงดเหล้า จำนวน 20 คน ด้วยการจัดทำประชุมกลุ่ม (Focus Group) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลจากการศึกษาพบว่า การวางแผนเป็นการวางแผนระยะสั้นมอบหมายให้กองการศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบในการประสานงานสำรวจพื้นที่จัดโซนนิ่ง  เสนอโครงการของบสนับสนุนจาก สสส. และภาวะผู้นำในการร่วมกันติดตามผลการดำเนินงาน ผลของการถอดบทเรียนปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดงานสงกรานต์ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ การวางแผนเชิงปฏิบัติการล่วงหน้า  แบ่งหน้าที่รับผิดชอบตามความชำนาญ  เชิญชวนให้ ชุมชน ภาคีเครือข่ายร่วมเป็นเจ้าของงาน การใช้มาตรการทางกฎหมาย และมาตรการทางสังคม และการให้เครือข่ายมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนของกระบวนการทำงาน แนวทางที่เหมาะสมการจัดงานสงกรานต์ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ ควรมีการวางแผนล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย กำหนดรูปแบบจัดงาน งบประมาณ  แบ่งบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน สร้างข้อตกลงระหว่างเครือข่าย หน่วยงาน ชุมชน การแต่งตั้งผู้รับผิดชอบงาน และการจัดทำฐานข้อมูลให้ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนเป็นเจ้าของงาน และขยายภาคีเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น

คำสำคัญ: การจัดการ, งานสงกรานต์, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ถนนตระกูลข้าว


Abstract

The objectives of this research were: 1) to study the principles and methods of managing non-alcoholic Songkran festival; 2) to extract the lessons learned of the key success factors in organizing an non-alcoholic Songkran festival; and 3) to propose constructive solutions in organizing non-alcoholic Songkran festival. This study used qualitative research methods. In-depth interview were conducted with key informants consisting of 8 experts and professionals, 8 event hosts funded by Thai Health Promotion Foundation and 20 stakeholders/participants. The focus group method was conducted with 20 coordinators and officers from non-alcohol campaign networks. All data were analyzed by content analysis method.

The results from the study found that short-term planning was assigned as the responsibility of the Education Division in coordinating zoning areas, surveys, and the budget proposition from Thai Health Promotion Foundation, as well as co-leadership in performance evaluation. The results of lesson learned extraction on the factors affecting the success of non-alcoholic Songkran Festival included advanced operational planning, skill based-division of responsibility,   the pursuance of community, partnership and network to be involved in the projects, legal and societal measures and the ongoing participation of the networks in the process. The guidelines for non-alcoholic Songkran Festival included yearly planning, clear objectives, goals and practices of the events, budgetary management, clear division of jobs and mutual agreement between the networks, authorities, community, responsible persons as well as the database co-owned by all expansive networking partners.

Keywords:  Management, Songkran festival, Non-alcoholic beverages, Rice family road.


การจัดการงานสงกรานต์ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ : กรณีศึกษา ถนนตระกูลข้าวในประเทศไทย / Management for Non-Alcoholic Songkran Festival : A Case Study of the Rice Family Roads in Thailand

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Related by advisor:

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 376
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print