การวิเคราะห์กระบวนการและประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ดี กรณีศึกษา: บริษัทผลิตสุขภัณฑ์ แผนกเจียรผิว ขัดมัน

Last modified: January 30, 2024
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อเรื่อง –
Title:
การวิเคราะห์กระบวนการและประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ดี กรณีศึกษา: บริษัทผลิตสุขภัณฑ์ แผนกเจียรผิว ขัดมัน
A Case Study of GOOD PRACTICES for SANITARY WARE GRINDING AND POLISHING DEPARTMENT
ชื่อผู้เขียน –
Author:
นายไพรัตน์ อินทอง
Mr. Pairat Intong
อาจารย์ที่ปรึกษา –
Advisor:
อาจารย์ภาณุพงศ์ ทองประสิทธิ์ – Mr. Panupong Thongprasit
ชื่อปริญญา –
Degree:
วศ.บ. (วิศวกรรมอุตสาหการ) – B. Eng. (Industrial Engineering)
ภาควิชา/สาขาวิชา –
Major:
วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering)
คณะวิชา –
Faculty:
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ – Bachelor of Engineering Program in Industrial Engineering
ภาคเรียน/ปีการศึกษา –
Semester/Academic year:
2/2566 (2023)

บทคัดย่อ

โครงงานนี้เป็นการนำเสนอแนวทางในการจัดทำการชี้บ่งและประเมินความเสี่ยงให้กับแผนกเจียรผิว ขัดมัน โดยการประเมินความเสี่ยง เลือกใช้เครื่องมือ WHAT-IF (WHAT-IF Analysis) เป็นกระบวนการในการศึกษา วิเคราะห์ และทบทวนเพื่อชี้บ่งอันตรายในการดำเนินงานต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม โดยการศึกษากระบวนการผลิตทั้งหมด และตั้งคำถามเพื่อชี้บ่งอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินงานในโรงงาน ผลจากการศึกษา และประเมินความเสี่ยงพบว่า กิจกรรมที่มีความเสี่ยงยอมรับไม่ได้จำนวน 9 กิจกรรม กิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงจำนวน 14 กิจกรรม กิจกรรมที่มีความเสี่ยงที่ยอมรับได้จำนวน 97 กิจกรรม และกิจกรรมที่ความเสี่ยงเล็กน้อยจำนวน 280 กิจกรรม นอกจากนี้สำหรับกิจกรรมที่มีความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ และกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงได้นำมากำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมอันตราย เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุในการทำงานของแผนกเจียรผิว ขัดมัน และเป็นแนวทางในการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ดีของแผนกอื่น ๆ

คำสำคัญ: การจัดการความเสี่ยง, การระบุความเสี่ยง, การวิเคราะห์ความเสี่ยง, การประเมินค่าความเสี่ยง


Abstract

This project presents good practice guidelines by analyzing the identification process and the production risk evaluation of the grinding and polishing department. The WHAT-IF (WHAT-IF Analysis) data was collected by asking questions that indicate thepotential dangers towards the production process and were analyzed and reviewed to identify hazard risks and to set good practice guidelines. The findings revealed that there were 9 unacceptable risk activities and there were 44 high-risk activities. However, there were 97 acceptable risk activities, and there were 280 low-risk activities. In addition, the unacceptable risk activities and the high-risk activities were set for the prevention and control measures of dangers, to prevent accidents in the grinding and polishing department, and to provide good practice guidelines for other departments.

คำสำคัญ: risk assessment, risk identification, risk analysis, risk evaluation


Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 192
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code