การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เครื่องเป่าลมทดแทนถังลมที่ใช้ในกิจการคาร์แคร์

Last modified: March 28, 2024
You are here:
Estimated reading time: 1 min

Title:
A Feasibility Study on the Use of a Blower Instead of the Compressed Air Tank Used in the Car Care Business

ชื่อโครงการ:
การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เครื่องเป่าลมทดแทนถังลมที่ใช้ในกิจการคาร์แคร์

Author:
Mr. Sedtasak Ruenwet

ชื่อผู้วิจัย:
นายเศรษฐศักดิ์ รื่นเวช

Advisor:
ดร.วีระกาจ ดอกจันทร์ – Dr. Weerakarj Dokchan

Degree:
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม – Master of Engineering Program in Engineering Management

Major:
วศ.ม. (การจัดการงานวิศวกรรม) – M.Eng. (Engineering Management)

Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School)

Academic year:
2566 (2023)

Published:
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ประจำปี 2566 หน้า 185-193 | The 6th KRU NATIONAL ACADEMIC CONFERENCE pp.185-193  KRU


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและผลิตเครื่องเป่าลมสำหรับใช้เป่าลมแทนที่การใช้ถังลม และเพื่อ วิเคราะห์ความคุ้มค่าและผลตอบแทนทางการเงินสำหรับใช้ในกิจการร้านคาร์แคร์ โดยแบ่งกรอบหัวข้อการวิจัยเป็น 3 ด้าน ออกแบบและผลิต ศักยภาพเชิงเทคนิค และศักยภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ โดยผลิตเครื่องเป่าลมใช้ในการเป่าลมให้น้ำออกจากชิ้นส่วนของตัวรถ ในการคำนวณและประเมินกำลังการใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจลงทุนการผลิต เพื่อลดค่าใช้จ่าย ในส่วนของค่าไฟฟ้าในอนาคตได้ ในการศึกษานี้ใช้สมมุติฐานทางการเงินที่อัตราคิดลด 5% ตลอดอายุการใช้งาน ระยะเวลาของโครงการอยู่ที่ 10 ปี ผลวิจัยพบว่าเครื่องเป่าลมมีความแรงลม 270 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง และเครื่องเป่าลมใช้พลังงานไฟฟ้ารวมต่อปีอยู่ที่ 133.50 กิโลวัตต์สูงสุด โดยระบบสามารถลดพลังงานไฟฟ้าได้เท่ากับ 1,521.90 หน่วยต่อปี คิดเป็นมูลค่าเงินจากการประหยัดพลังงานต่อปีเท่ากับ 7,000.74 บาทต่อปี โดยใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 11,980.00 บาท ค่า IRR เท่ากับร้อยละ 50 และมีระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 1 ปี 8 เดือน

Keywords: เครื่องเป่าลม การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ร้านคาร์แคร์


Abstract

The objectives of this research were to design and produce a blower for blowing air as an alternative of using a compressed air tank and to analyze its efficiency and profitability for car care industry. This work had three main aspects: (1) designing and producing a blower to effectively remove water from cars after-washing, thereby assessing its technical and economic potential, (2) calculating and estimating the electrical power consumption to inform production investment decisions, and (3) evaluating future cost reductions in terms of electricity bills. A financial assumption of 5% discount rate was applied over the 10-year lifespan of the project. The research findings indicated that the blower had an airflow rate of 270 cubic meters per hour and consumes a maximum of 133.50 kilowatts of electricity annually. The system can reduce electricity consumption by 1,521.90 units per year, leading to annual energy cost savings of 7,000.74 Baht. The total investment cost was 11,980.00 Baht. The Internal Rate of Return (IRR) was 50%, with payback period of 1 year and 8 months.

Keywords: Blower, Economic Analysis, Car Care Shop


A Feasibility Study on the Use of a Blower Instead of the Compressed Air Tank Used in the Car Care Business / การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เครื่องเป่าลมทดแทนถังลมที่ใช้ในกิจการคาร์แคร์

6117212004 นายเศรษฐศักดิ์ รื่นเวช Mr. Sedtasak Ruenwet 2566 (2023) A Feasibility Study on the Use of a Blower Instead of the Compressed Air Tank Used in the Car Care Business สารนิพนธ์ (Independent Study), Advisor: ดร.วีระกาจ ดอกจันทร์ – Dr. Weerakarj Dokchan, ปริญญาโท (Master’s Degree), บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School), วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม – Master of Engineering Program in Engineering Management, วศ.ม. (การจัดการงานวิศวกรรม) – M.Eng. (Engineering Management), Bangkok: Siam University

Academic Year 2023, Graduate School 2023, IMBA, IMBA 2023, Independent Study, Independent Study 2023, Master of Business Administration, Master of Business Administration (International Program) 2023, Master of Business Administration 2023, ปริญญาโท (Master’s Degree), บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School), วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม – Master of Engineering Program in Engineering Management,วศ.ม. (การจัดการงานวิศวกรรม) – M.Eng. (Engineering Management)

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 24
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code