รูปแบบการบริหารจัดการความขัดแย้งในพระพุทธศาสนา: วิเคราะห์จากพระไตรปิฎก

Last modified: October 8, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
รูปแบบการบริหารจัดการความขัดแย้งในพระพุทธศาสนา: วิเคราะห์จากพระไตรปิฎก
Conflict Management Model in Buddhism: Analysis from the Tipitaka
ชื่อนักศึกษา:
Author:
พระมหาศิวะเสน ญาณเมธี
Phramaha Siwasen Kanbut
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.บุญมี เณรยอด
Assoc. Prof. Dr. Boonmee  Nenyod
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การบริหารการศึกษา
Educational Administration
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง|Citation

พระมหาศิวะเสน ญาณเมธี. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการความขัดแย้งในพระพุทธศาสนา: วิเคราะห์จากพระไตรปิฎก. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Phramaha Siwasen Kanbut. (2018). Conflict management model in Buddhism: Analysis from the Tipitaka. (Master’s thesis). Bangkok: Graduate Schools, Siam University.


บทคัดย่อ

รูปแบบการบริหารจัดการความขัดแย้งในพระพุทธศาสนา : วิเคราะห์จากพระไตรปิฎก เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

1) เพื่อศึกษาหลักการและกระบวนการบริหารจัดการความขัดแย้งในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในพระไตรปิฎก

2) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการความขัดแย้งในพระพุทธศาสนาและหลักธรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก และ

3) เพื่อศึกษานำเสนอแนวทางการนำหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการความขัดแย้ง แหล่งข้อมูลที่ทำการศึกษาวิจัย คือ พระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช 2539 จำนวน 45 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร

ผลการวิจัยพบว่า

  1. หลักการและกระบวนการจัดการความขัดแย้งในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ประกอบด้วย 15 วิธีการ ได้แก่ 1) การลงโทษ 2) การบัญญัติพระวินัย 3) การพึ่งพาตนเอง 4) การใช้สติปัญญา 5) การวางตัวเป็นกลาง 6) การใช้อิทธิปาฏิหาริย์ 7) การเผชิญหน้า 8) การหลีกเลี่ยง 9) การเจรจา 10) การประนีประนอม 11) การให้รางวัล 12) การใช้กุศโลบาย 13) การพิสูจน์ความจริง 14) การใช้กฎแห่งธรรมชาติ และ 15) การใช้หลักศาสนาและวัฒนธรรม
  2. รูปแบบการบริหารจัดการความขัดแย้งในพระพุทธศาสนามี 4 รูปแบบ ประกอบด้วย 1) รูปแบบของไตรสิกขา 2) รูปแบบของโอวาท 3 3) รูปแบบของพรหมวิหาร 4 และ 4) รูปแบบอริยสัจ 4 แต่ในงานวิจัยนี้จะใช้รูปแบบของอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ (ทุกข์) สาเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย)   ความดับทุกข์ (นิโรธ) และหนทางแห่งความดับทุกข์ (มรรค) และหลักธรรมที่นำมาสนับสนุนการบริหารจัดการความขัดแย้งในพระพุทธศาสนาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ประกอบด้วยหลักธรรมดังต่อไปนี้    1) หลักขันติธรรม 2) หลักสามัคคี 3) หลักไตรสิกขา  4) หลักวจีสุจริต 5) หลักพละ 6) หลักพรหมวิหาร 7) หลักฆราวาสธรรม 8) หลักสังคหวัตถุ 9) หลักจักรวรรดิวัตร 10) หลักสาราณียธรรม 11) หลักโยนิโสมนสิการ และ 12) หลักกาลามสูตร
  3. แนวทางการนำหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการความขัดแย้ง พบว่าหลักธรรมที่สนับสนุนการบริหารจัดการความขัดแย้งในพุทธศาสนาเท่าที่สืบค้นได้จากพระไตรปิฎก สามารถนำมาบูรณาการใช้เป็นวิธีในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ให้ยุติลง สร้างสันติสุข สันติภาพขึ้นมาทดแทน เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข จำแนกออกเป็น 4 วิธี ได้แก่ 1) เอื้อต่อการดำเนินชีวิต 2) พัฒนาคุณภาพชีวิต 3) ตอบสนองชุมชน สังคม และประเทศชาติ และ 4) เกื้อกูล/เยี่ยวยา/รักษาวิกฤตการณ์โลก

Abstract

This research “Conflict Management Model in Buddhism: Analysis from the Tipitaka”, applied the historical research method. The purposes of this study were : 1) to study the principles and processes of conflict management in Buddhism which appeared in the Tipitaka, 2) to study the conflict management model of Buddhism and the Buddhist principles which support conflict management in Buddhism appeared in the Tipitaka, 3) to introduce the principle of applying the principles to the management of conflict. The source of the study were 45 copies of Thai Buddhist Tipitaka, Mahachulalongkornrajavidyalaya, B.E. 2539. The research instrument was a document analysis form.

The research results were as follows :

  1. Principles and processes of conflict management in Buddhism composed of 15 methods included : 1) the punishment, 2) the formulation of discipline, 3) the self-reliance, 4) the use of intelligence, 5) the neutrality, 6) the virtue of the miracle, 7) the confrontation, 8) the avoidance, 9) the negotiation, 10) the compromise, 11) the reward, 12) positive simplicity, 13) proof of truth, 14) use of natural law, and 15) the use of religions principles and culture.
  2. The conflict management models in Tipitaka were founded in Tisikkhà, Ovàda, Brahmavihàra, Ariyasaaca, however, this study will concentrate in the Four Noble Truths which composed of suffering (Dukkha), the cause of suffering (samudaya), the cessation of suffering (nirodha), and prescription of the remedy (Magga). Buddhist principles which would support the management of conflict in Buddhism were 1) Khanti, 2) Samaggi, 3) Sikkhà, 4) Vacã-sucarita, 5) Bala, 6) Brahmavihàra, 7) Gharàvàsa-dhamma, 8) Saïgahavatthu, 9) Cakkavatti-vatta, 10) Sàraõãyadhamma, 11) Yonisomanasikàra, 12) Kàlàmasutta.
  3. The principle which would support conflict management in Buddhism as found in the Tipitaka can be used as a means to resolve conflicts in society and to enhance peace. Guidelines for living together peacefully in society could be classified into 4 ways: 1) facilitates the life; 2) develops the quality of life; 3) responding to the community, society and nation; and 4) supporting / curing the world crisis.

รูปแบบการบริหารจัดการความขัดแย้งในพระพุทธศาสนา: วิเคราะห์จากพระไตรปิฎก | Conflict Management Model in Buddhism : Analysis from the Tipitaka

Doctor of Philosophy in  Educational Administration, Siam University, Thailand

Related by advisor:

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1672
Previous: ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร
Next: การพัฒนา ระบบการบริหารงานวิชาการ ที่มีประสิทธิผลสำหรับ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles