การออกแบบและสร้างเครื่องมือวัดรองหนุนชนิดนาฬิกาเปรียบเทียบศูนย์เดี่ยว สำหรับใช้กับเครื่องพิมพ์ออฟเซตชนิดป้อนแผ่น

Last modified: September 30, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อบทความ: การออกแบบและสร้างเครื่องมือวัดรองหนุนชนิดนาฬิกาเปรียบเทียบศูนย์เดี่ยว สำหรับใช้กับเครื่องพิมพ์ออฟเซตชนิดป้อนแผ่น
Research Article: Design and Construction of a Mono Dial Packing Gauge for Offset Sheet fed Printing Machine
ผู้เขียน|Author: อนันต์ เขมพาณิชย์กุล และพิทักษ์พงษ์ บุญประสม | Anan Kempanichkul and Pitagpong Boonprasom
Email: anan.kem@siam.edu ; pitagpong.boo@siam.edu
ภาควิชา|คณะ: ภาควิชาวิศวกรรมการพิมพ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department|Faculty: Department of Printing Engineering, Faculty of Engineering, Institute of Printing Engineering, Siam University 10160
Published|แหล่งเผยแพร่: รายงานการวิจัย เรื่อง การออกแบบและสร้างเครื่องมือวัดรองหนุนชนิดนาฬิกาเปรียบเทียบศูนย์เดี่ยว สำหรับใช้กับเครื่องพิมพ์ออฟเซตชนิดป้อนแผ่น

การอ้างอิง|Citation

อนันต์ เขมพาณิชย์กุล และพิทักษ์พงษ์ บุญประสม. (2565). การออกแบบและสร้างเครื่องมือวัดรองหนุนชนิดนาฬิกาเปรียบเทียบศูนย์เดี่ยว สำหรับใช้กับเครื่องพิมพ์ออฟเซตชนิดป้อนแผ่น (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.

Kempanichkul A., & Boonprasom P. (2022). Design and construction of a mono dial packing gauge for offset sheet fed printing machine (Research Report). Bangkok: Faculty of Engineering, Siam University.


บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบและสร้างเครื่องมือวัดรองหนุนชนิดนาฬิกาเปรียบเทียบศูนย์เดี่ยว สำหรับใช้กับเครื่องพิมพ์ออฟเซตชนิดป้อนแผ่น เนื่องจากในปัจจุบันเครื่องมือวัดรองหนุนยังไม่เป็นที่นิยมใช้ในโรงพิมพ์ออฟเซตในประเทศไทย และเครื่องมือวัดรองหนุนยังเป็นเครื่องมือที่มีราคาสูง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ในขณะเดียวกันโรงพิมพ์ส่วนใหญ่ก็นิยมใช้เครื่องพิมพ์มือสองจากต่างประเทศที่ไม่ได้นำเข้ามาจากผู้ผลิตเครื่องพิมพ์โดยตรง เพราะมีราคาที่ถูกกว่า ซึ่งผู้นำเข้าก็ไม่ได้ให้เครื่องมือวัดรองหนุนเป็นอุปกรณ์พื้นฐานประจาเครื่องมาด้วย ดังนั้นเมื่อช่างพิมพ์ทำงานก็จะใช้ประสบการณ์และความรู้สึกในการควบคุมปริมาณการรองหนุน จึงเกิดปัญหาในการควบคุมคุณภาพทางการพิมพ์ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ออกแบบเครื่องวัดรองหนุน และเลือกใช้นาฬิกาเปรียบเทียบศูนย์เพียงหนึ่งชิ้น เพื่อให้ได้เครื่องมือที่มีราคาถูก โดยกระบวนการออกแบบ เริ่มจากการร่างต้นแบบจากแนวคิด สร้างแบบเครื่องมือวัดด้วยโปรแกรมช่วยออกแบบ (CAD) ทำต้นแบบสามมิติเพื่อทาแบบหล่อโลหะ และใช้โปรแกรมช่วยผลิต (CAM) สร้างคาสั่ง NC-Code ใช้ควบคุมเครื่องกัดซีเอ็นซี เพื่อกัดชิ้นงานให้ได้ระดับ และเครื่องมือวัดที่สร้างเสร็จแล้วถูกนาไปตรวจสอบความแม่นยำด้วยเครื่องวัดพิกัด (CMM) เพื่อหาค่าพิกัดความเผื่อเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนรูปร่างและตำแหน่ง ความฉาก ความตรง และความขนานของเครื่องมือวัดรองหนุน และสุดท้ายทดสอบคุณภาพงานพิมพ์ โดยใช้แม่พิมพ์แบบทดสอบการรองหนุน ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ ผลปรากฏว่า เครื่องมือวัดการรองหนุนชนิดนาฬิกาเปรียบเทียบศูนย์เดี่ยวที่ออกแบบมานี้ สามารถใช้ตรวจสอบการรองหนุนได้ เนื่องจากเมื่อรองหนุนผ้ายางเกินกว่าบ่าโม 0.1 มิลลิเมตร ค่าความดำของแถบควบคุมการรองหนุนในบริเวณของเส้นนอนจะเพิ่มขึ้น และเมื่อรองหนุนผ้ายางในระดับเสมอกับบ่าโม แถบควบคุมการรองหนุนจะให้ค่าความดำพื้นเท่ากันทั้งสามแถบ และผลของค่าการบวมของเม็ดสกรีนและค่าความดาพื้นทึบก็แสดงไปในทิศทางเดียวกัน

คำสาคัญ : เครื่องมือวัดรองหนุน, โปรแกรมช่วยออกแบบ, ความดำพื้นทึบ และแบบทดสอบมาตรฐาน


ABSTRACT

The objective of this study was to design and construct a mono dial packing gauge for offset sheet fed printing machine. Nowadays, the packing gauges
have are not popular to use for offset Printing factory in Thailand because they are so expensive and imported from abroad. Meanwhile, most of the Printing factory prefer to used old printing machine that were not import directly from manufacturer because there are cheaper than new one. Therefore the importer do not include the packing gauges as basic measurement tool for printing machine. When the press operator control amount of packing without a packing gauge, they frequently use trial and error that are habitude of them. So, it cause problem to control the printed quality. For this reason, the mono dial packing gauge for offset sheet fed printing machine was designed and constructed for this research. The research method consist of sketching from Idea, using computer aided designed (CAD), creating 3D prototype for molding sand, creating NC-Code for CNC Milling, testing the accuracy by Coordinate Measuring Machine (CMM) and finally testing the offset printing quality by a packing test form plate which was special designed. The result of research shown that the mono dial packing gauge was usable to test the cylinder packing because the density of packing control strip at horizontal lined increase when the blanket higher than bearer 0.1 millimeter and the packing control strip density at horizontal was equal to vertical lined when the height of blanket was same bearer level. Moreover, the result of dot gain and solid ink density also shown in the same direction.

Keyword: Packing Gauge, Computer Aided Designed (CAD), Solid ink density and Test form plate.


การออกแบบและสร้างเครื่องมือวัดรองหนุนชนิดนาฬิกาเปรียบเทียบศูนย์เดี่ยว สำหรับใช้กับเครื่องพิมพ์ออฟเซตชนิดป้อนแผ่น | Design and Construction of a Mono Dial Packing Gauge for Offset Sheet fed Printing Machine

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 400
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code