โครงการออกแบบศิลปะปฏิสัมพันธ์เพื่อนำเสนอปัญหาความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นจาก AI Art

Last modified: August 1, 2024
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อเรื่อง –
Title:
โครงการออกแบบศิลปะปฏิสัมพันธ์เพื่อนำเสนอปัญหาความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นจาก AI Art
Designing Interactive Art to present conflicts arising from AI Art
ชื่อผู้เขียน –
Author:
นัฐพงษ์ ยศเครือ, Nattapong Yotkhruea
อาจารย์ที่ปรึกษา –
Advisor:
อาจารย์ภัทรพล เกิดปรางค์ – Mr. Pattarapon Koedprang
ชื่อปริญญา –
Degree:
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาแอนิเมชันและสื่อสร้างสรรค์ – Bachelor of Science Program in Animation and Creative Media
ภาควิชา/สาขาวิชา –
Major:
วท.บ. (แอนิเมชั่นและสื่อสร้างสรรค์) – B.Sc. (Animation and Creative Media)
คณะวิชา –
Faculty:
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology)
ภาคเรียน/ปีการศึกษา –
Semester/Academic year:
2566 (2023)

บทคัดย่อ

     โครงงานนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอถึงปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจาก AI Art ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อศิลปินและนักออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างของกระบวนการทางานออกแบบระหว่างมนุษย์และปัญญาประดิษฐ์ นำเสนอผ่านรูปแบบของศิลปะปฏิสัมพันธ์ ด้วยการจำลองพื้นที่ห้องทำงานของผู้จัดทำ โดยอ้างอิงจากแนวคิดศิลปะคือประสบการณ์ (Art as Experience) ของจอห์น ดิวอี (John Dewey) มาใช้ในการออกแบบและจัดแสดงผลงาน และนำเสนอการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันของผู้คนบนอินเทอร์เน็ต ถ่ายทอดประสบการณ์ ความคิดและอารมณ์ เพื่อให้ผู้ชมได้รับรู้ถึงปัญหาความขัดแย้งและสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นลงบนผลงานชิ้นนี้ได้

คำสำคัญ: ทัศนคติ, ปัญญาประดิษฐ์, ศิลปะ


Abstract

     This thesis aims to present the conflicts that arise from AI Art, which impact artists and designers. It also aims to create a work that illustrates the differences in the design process between humans and articial intelligence. The presentation uses of interactive art, simulating the workspace of the creator. It references John Dewey’s concept of “Art as Experience” in designing and exhibiting the work. Additionally, it showcases diverse opinions from people on the internet, conveying experiences, thoughts, and emotions, to help the audience become aware of the conflicts and participate in expressing their opinions on this conflict through this report.

คำสำคัญ: art, artificial intelligence, attitude


อาจารย์ภัทรพล เกิดปรางค์ – Mr. Pattarapon Koedprang, วท.บ. (แอนิเมชั่นและสื่อสร้างสรรค์) – B.Sc. (Animation and Creative Media), เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology), วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาแอนิเมชันและสื่อสร้างสรรค์ – Bachelor of Science Program in Animation and Creative Media, 1/2566 (2023)

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 51
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code