การลดการใช้พลังงานสำหรับอุปกรณ์เครื่องทำน้ำเย็นชนิดระบายความร้อนด้วยน้ำด้วยวิธีการบำรุงรักษาทวีผล: กรณีศึกษาโรงงานผลิตนาฬิกา

Last modified: December 18, 2022
You are here:
Estimated reading time: 1 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การลดการใช้พลังงานสำหรับอุปกรณ์เครื่องทำน้ำเย็นชนิดระบายความร้อนด้วยน้ำด้วยวิธีการบำรุงรักษาทวีผล: กรณีศึกษาโรงงานผลิตนาฬิกา
Energy saving for water cooled chiller by total productive maintenance: A case study of factory manufacturing watches
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายบุญธรรม กล้าหาญ
Mr. Boomtum  Klahan
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ โสตรโยม
Asst. Prof. Dr. Arthit Sode-Yome
ระดับการศึกษา:
Degree:
วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (วศ.ม.)
Master of Engineering in Engineering Management
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการงานวิศวกรรม
Engineering Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง|Citation

บุญธรรม กล้าหาญ. (2561). การลดการใช้พลังงานสำหรับอุปกรณ์เครื่องทำน้ำเย็นชนิดระบายความร้อนด้วยน้ำด้วยวิธีการบำรุงรักษาทวีผล: กรณีศึกษาโรงงานผลิตนาฬิกา. (การค้นคว้าอิสระวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

Klahan B. (2018). Energy saving for water cooled chiller by total productive maintenance: A case study of factory manufacturing watches. (Master Independent Study). Bangkok: Siam University.


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้า ในเครื่องทําน้ําเย็นสําหรับระบบ ปรับอากาศ ในโรงงานประกอบนาฬิกาแห่งหนึ่ง จากการศึกษาพบว่าระบบดังกล่าวมีการใช้งาน มาแล้วกว่า 10 ปี จํานวน 6 เครื่อง เครื่องละ 250 ตัน มีการใช้พลังงานไฟฟ้าสําหรับผลิตน้ําเย็นใน ระบบปรับกาศอยู่ที่เฉลี่ย 1.08 kW/ton ซึ่งเป็นค่าที่ค่อนข้างสูงเพราะค่านี้เมื่อเริ่มต้นใช้งานใหม่มี ค่าเฉลี่ย 0.68 kW/ton จึงจําเป็นต้องศึกษาเพื่อลดอัตราการใช้พลังงานในระบบนี้

วิธีการศึกษาโดยใช้หลักของการบํารุงรักษาเชิงป้องกันแบบทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) โดย หลังจากการวัดค่าอัตราการใช้พลังงานแล้วจึงได้ศึกษารายละเอียดสาเหตุของการสิ้นเปลืองดังกล่าว พบว่าชุดระบายความร้อนของเครื่องทําน้ําเย็นทํางานไม่สมบูรณ์ โดยมีค่าอัตราการแลกเปลี่ยนความ ร้อนเฉลี่ย 9.8 °F ซึ่งค่ามาตราฐานคือ 5 °F รวมทั้งอัตราการไหลของน้ําเย็นมีค่า 746 GPM ซึ่งค่าที่ ถูกต้องคือ 600 GPM จึงได้ทําความสะอาดชุดระบายความร้อนของเครื่องทําน้ําเย็นให้ดีขึ้นและ ปรับแต่งวาล์วน้ําควบคุมอัตราการไหลของน้ําเย็นเฉลี่ยอยู่ที่ 600 GPM ตลอดจนให้ความรู้ความเข้าใจ แก่ผู้ใช้งานและช่างซ่อมบํารุง หลังจากการปรับปรุงดังกล่าววัดได้ค่าอัตราการใช้พลังงานเฉลี่ย 0.86 kW/ton หรือลดลง 0.22 kW/ton คิดเป็นร้อยละ 20.3

คําสําคัญ เครื่องทําน้ำเย็นชนิดระบายความร้อนด้วยน้ำ, การบํารุงรักษาทวีผล


Abstract

The aim of this work was to reduce electricity consumption of water cooling system for air conditioning in a watch assembly factory. According to preliminary study, this system has been used for more than 10 years. In this work, six water cooled chillers of 250 tons each were selected to measure the consumption. After the measurement, it was found that the electricity used to produce cold water in the refrigerating system was average of 1.08 kW/ton. This was a relatively high consumption because this value was only 0.68 kW/ton at the beginning. Therefore, it was necessary to reduce this consumption.

In this study, the principle of Total Productive Maintenance (TPM) was utilized. After careful consideration, causes of the problem were identified. Firstly, the cooling tower did not work properly. Secondly, the average heat exchange rate was 9.8 °F which was higher than the standard value of 5 °F. Thirdly, the flow rate of cold water was 746 GPM while the valid value is 600 GPM. From above observation the cooling tower had been cleaned up and the water valve was set at the average cold water flow rate of 600 GPM. Also, useful knowledge was provided to concerned staff members. After this improvement, the average electrical consumption was 0.86 kW/ton. or 0.22 kW/ton decreased or 20.3 Percent reduction.

Keywords:  Energy saving for water cooled chiller, Total productive maintenance.


การลดการใช้พลังงานสำหรับอุปกรณ์เครื่องทำน้ำเย็นชนิดระบายความร้อนด้วยน้ำด้วยวิธีการบำรุงรักษาทวีผล: กรณีศึกษาโรงงานผลิตนาฬิกา | Energy saving for water cooled chiller by total productive maintenance: A case study of factory manufacturing watches

Master of Engineering in Engineering Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 624
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles