ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลของประชาชนที่ใช้สื่อออนไลน์

Last modified: March 12, 2024
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลของประชาชนที่ใช้สื่อออนไลน์
Title: Factors Associated with Irrational Antibiotic Use Behaviour among Social Media Users in Thailand
ผู้วิจัย:
Researcher:
ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี, กมลวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, พรพรรณ ประจักษ์เนตร, สุญาณี พงษ์ธนานิกร และณัฐกานต์ ทองแท้ – Shinnawat Saengungsumalee, Kamolwan Tantipiwattanasakul, Pornpun Prajaknate, Suyanee Pongthananikorn and Nattakarn Thongtae
หลักสูตรที่สอน:
Degree:
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม – Doctor of Pharmacy Program in Pharmaceutical Care
สาขาที่สอน:
Major:
เภสัชศาสตรบัณฑิต ภ.บ. (การบริบาลทางเภสัชกรรม) – Pharm.D. (Pharm.Care)
สังกัดคณะวิชา:
Faculty of study:
เภสัชศาสตร์ (Pharmacy)
ปีการศึกษา:
Academic year:
2566 (2023)
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่:
Published:
วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 33 ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์ 2567 หน้า 27-37 | Journal of Health Science of Thailand Vol. 33 No. 1, January – February 2024 p.27-37
https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/12945 

บทคัดย่อ

ปัจจุบันยาปฏิชีวนะได้มีประสิทธิภาพลดลงอย่างมาก เนื่องจากแบคทีเรียมีการปรับตัวให้ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาลดลง จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า หนึ่งในสาเหตุที่สําคัญของปัญหาเชื้อดื้อยาเกิดจากพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะไม่เหมาะสม การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส ัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลของประชาชนที่ใช้สื่อออนไลน์ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ (cross-sectional survey study) มีระยะเวลาการเก็บข้อมูล 60 วัน ตั้งแต่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 3 เมษายน 2564 กลุ่มตัวอย่างคือคนไทยที่ใช้สื่อออนไลน์จํานวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะโดยใช้การทดสอบไคสแควร์(Chi-square test) และวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson correlation) ผลการศึกษาพบว่า เพศ ระดับการศึกษา สาเหตุของการใช้ยาปฏิชีวนะ รายได้และแหล่งที่ได้รับยา-ปฏิชีวนะ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างมีนัยยะสําคัญ ส่วนปัจจัยด้านทัศนคติมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะในระดับตํ่า(0.320, p<0.001) ด้านความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและความรู้เกี่ยวกับเชื้อดื้อยาต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะไม่มีความสัมพันธ์กัน (p-value=0.554, 0.120) ดังนั้น ควรส่งเสริมให้ประชาชนมีทัศนคติที่ดีเพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องและเหมาะสม

Keywords: ยาปฏิชีวนะ, เชื้อดื้อยา, พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ


Abstract

The antibiotics are currently less effective as the bacteria adapt to resist the antibiotics, resulting in a lower efficacy affecting drug-resistant bacterial infections. Previous research indicated that improper use of antibiotics triggered one of the significant causes of resistance infection. This study aimed to examine factors related to the irrational use of antibiotics among social media users in Thailand. Quantitative research approach was employed in this study, using a cross-sectional survey. Selfadministered online questionnaires were distributed to 400 respondents who were social media users. The study was conducted between February and April 2021. Data were analyzed using the Chi-square test and Pearson correlation analysis. The study found that gender, education level, reason for using antibiotics, income, and source of antibiotic exposure were significantly related to antibiotic utilization behavior. As for the attitude factor, there was a low level relationship with antibiotic use behavior (p<0.001). There was no relationship between knowledge about antibiotic use or antibiotic resistance and antibiotic use behavior (p>0.05). Therefore, the public should be encouraged to have an proper attitude to use antibiotics correctly and appropriately.

Keywords: antibiotics, antimicrobial resistance, antibiotic use behaviour


Factors Associated with Irrational Antibiotic Use Behaviour among Social Media Users in Thailand. 2566 (2023). ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลของประชาชนที่ใช้สื่อออนไลน์. บทความ (Paper). Advisor: อ. ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี – Mr. Shinnawat Saengungsumalee. วิทยาศาสตร์สุขภาพ|Health Science. เภสัชศาสตร์ (Pharmacy). เภสัชศาสตรบัณฑิต ภ.บ. (การบริบาลทางเภสัชกรรม) – Pharm.D. (Pharm.Care). หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม – Doctor of Pharmacy Program in Pharmaceutical Care. Bangkok: Siam University

Academic Year 2023, วิทยาศาสตร์สุขภาพ|Health Science, เภสัชศาสตร์ (Pharmacy), เภสัชศาสตรบัณฑิต ภ.บ. (การบริบาลทางเภสัชกรรม) – Pharm.D. (Pharm.Care),หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม – Doctor of Pharmacy Program in Pharmaceutical Care

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 37
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code