ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร

Last modified: April 16, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร
Factors Effecting the Quality of School Under the Office of Bangkok Primary Education Service Area
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นาย กันตพัฒน์  มณฑา
Mr. Kantaphat  Montha
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.บุญมี เณรยอด, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชญาพิมพ์ อุสาโห
Assoc.Prof.Boonmee Nenyod, Ed.D. , Asst.Prof.Chayapim Usaho, Ph.D
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การบริหารการศึกษา
Educational Administration
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง|Citation

กันตพัฒน์ มณฑา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Montha K. (2018). Factors effecting the quality of school under the office of Bangkok primary education service area. (Doctoral dissertation). Bangkok: Siam University.


บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ จากผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการแทน รองผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านวิชาการโรงเรียน และครูผู้สอนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวนรวมทั้งสิ้น 955 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรม LISREL

ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความพึงพอใจของผู้ปกครอง รองลงมาคือ ความพึงพอใจของครู  คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน  และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามลำดับ เมื่อพิจารณาค่าสถิติพื้นฐานของตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ปรากฏผล ดังนี้ ด้านผู้บริหาร ตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บทบาทของผู้บริหาร  ด้านครู ตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ คุณธรรมจริยธรรมของครู  ด้านการบริหารการศึกษา ตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ภารกิจนโยบายและจุดเน้น การจัดโครงสร้างและการบริหารอย่างเป็นระบบ  ด้านการจัดการเรียนรู้และการวิจัย ตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านความสัมพันธ์และความร่วมมือของชุมชน  ตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บทบาทการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษา

ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร พบว่า คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจากตัวแปรด้านครู  รองลงมาคือ ด้านการบริหารการศึกษา ด้านผู้บริหาร ด้านการจัดการเรียนรู้และการวิจัย  ด้านความสัมพันธ์และความร่วมมือของชุมชน โดยมีอิทธิพลทางบวก และโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  และสามารถอธิบายคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครได้ ผลการวิจัยได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านความเหมาะสมที่ระดับมากที่สุด ด้านความเป็นไปได้และด้านความเป็นประโยชน์ที่ระดับมากทั้งสองด้าน

คำสำคัญ: คุณภาพการศึกษา, โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร, การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ


Abstract

The purposes of this research were : 1) to analyze the educational quality of schools under the Office of Bangkok Education Service Area, and 2) to analyze the factors affecting  the educational quality  of schools under the Office of Bangkok Education Service Area. The research tool used in this research was a rating scale questionnaire. The data were collected from school director or officer in charged, the deputy director or officer in charged, and teachers through a questionnaire. Data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation, and a LISREL program.

The findings found that the educational quality of schools under the Office of Bangkok Education Service Area considering either individual aspect or overall were rated at high level. Considering each individual aspect, data showed that the parents’ satisfaction aspect had the highest score followed by the teachers’ satisfaction aspect, the students’ characteristics aspect, and the students’s achievement aspect respectively. When considering each factor it was shown that the administrative role had the highest score in the administrative factor, whereas the teachers ethic had the highest score in the teacher factor, policies and administrative structure had the highest score in the administrative process factor, student centered had the highest score in the instructional management and research factor, and parents’ participation had the highest score in the community relation and participation factor.

With regards to the educational quality of schools under the Office of Bangkok Education Service Area, data showed that the educational quality was affected mostly from teacher variables, followed by administrative process variables, administrator variables, instructional management and research variables, and community relation and participation variables respectively. Data also indicated that they all had the positive affected and also the finding model was appropriated to the present data and prescribe the educational quality of schools under the Office of Bangkok Education Service Area. Research findings were validated by experts through experts seminar and were rated at the most level on the appropriateness and at the more level on both the feasibility and the utility.

Keywords: educational quality, schools under the office of Bangkok education service area, structural equation modeling with LISREL.


ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร / Factors Effecting the Quality of School Under the Office of Bangkok Primary Education Service Area

Doctor of Philosophy in Leadership and Innovation in Educational Administration, Siam University, Thailand

Related by advisor:

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 2899
Previous: รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษระดับปฐมวัย
Next: รูปแบบการบริหารจัดการความขัดแย้งในพระพุทธศาสนา: วิเคราะห์จากพระไตรปิฎก
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles