ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนตามหลักบันไดขั้นที่ 2 ของร้านขายยาแผนปัจจุบันในเขตกรุงเทพมหานคร

Last modified: August 23, 2023
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อบทความ: ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนตามหลักบันไดขั้นที่ 2 ของร้านขายยาแผนปัจจุบันในเขตกรุงเทพมหานคร
Research Article: Factors Influencing Compliance with Regulation on the Second Stage of the Good Pharmacy Practice among Drugstores in Bangkok
ผู้เขียน|Author: เสถียร พูลผล, ณัฐธิดา วุฒิโสภากร, พันธ์วิรา ชาติสมพงษ์, ภัครินทร์ พณิชย์อมรกุล |  Sathian Phunpon, Nattida Wuttisopakorn, Phanvira Chartsompong, Parkarin Panichamonkul
Email: sathian.phu@siam.edu
สาขาวิชา|คณะ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department|Faculty: Faculty of Pharmacy,  Siam University, Bangkok 10160
Published|แหล่งเผยแพร่: วารสารเภสัชกรรมไทย ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน พ.ศ. 2566 หน้า 741-749 Thai Journal of Pharmacy Practice Vol. 15 No. 3 July – September 2023 p.741-749

การอ้างอิง|Citation

เสถียร พูลผล, ณัฐธิดา วุฒิโสภากร, พันธ์วิรา ชาติสมพงษ์, ภัครินทร์ พณิชย์อมรกุล. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนตาม หลักบันไดขั้นที่ 2 ของร้านขายยาแผนปัจจุบันในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเภสัชกรรมไทย, 15(3), 741-749.

Phunpon S., Wuttisopakorn N., Chartsompong P., & Panichamonkul P. (2023). Factors Influencing Compliance with Regulation on the Second Stage of the Good Pharmacy Practice among Drugstores in Bangkok. Thai Journal of Pharmacy Practice, 15(3), 741-749.


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (GPP) ตามหลักบันไดขั้นที่ 2 ของร้านยาในกรุงเทพมหานคร วิธีการ: งานวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้เก็บข้อมูลจากเจ้าของร้านยาหรือเภสัชกรประจำร้าน 108 แห่งที่เลือกมาโดยวิธีแบบตามความสะดวกโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ หรือแบบสอบถามทางไปรษณีย์ หรือการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ในช่วงธันวาคม 2563 – กุมภาพันธ์ 2564 แบบสอบถามที่ใช้สร้างโดยผู้วิจัยเพื่อสำรวจข้อมูลทั่วไปของร้านยาและประเมินความยากในการปฏิบัติตามข้อกำหนด GPP ขั้นที่ 2 โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้านได้แก่ ด้านสถานที่ ด้านอุปกรณ์ ด้านบุคลากร และด้านวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน ผลการวิจัย: ตัวอย่างร้อยละ 44.44 เป็นเจ้าของร้านที่เป็นเภสัชกร ร้านส่วนใหญ่เป็นร้านที่ติดถนนใหญ่ (ร้อยละ 39.8) มีคู่แข่งน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ร้าน (ร้อยละ 63.9) เปิดดำเนินการน้อยกว่า 3 ปี (ร้อยละ 49.1) มีพื้นที่มากกว่า 45 ตารางเมตร (ร้อยละ 35.2) เวลาทำการ 7 วัน (ร้อยละ 69.4) เปิดไม่เกิน 12 ชั่วโมงต่อวัน (ร้อยละ 63.9) มียอดขายต่อเดือน 200,000 – 500,000 บาท (ร้อยละ 37.0) เงินทุนสำหรับใช้ในการปรับปรุงร้านเพื่อให้ผ่านเกณฑ์น้อยกว่า 50,000 บาท (ร้อยละ 31.5) ตัวอย่างส่วนใหญ่ผ่านการประเมิน GPP แบบเต็มขั้นแล้ว (ร้อยละ 77.8)  ร้านยาสามารถปฏิบัติตามเกณฑ์ทั้ง 4 ด้านได้ง่าย (คะแนนเฉลี่ย = 1.33 ± 0.57 โดย 3 = ปฏิบัติได้ยากมากและ 1 = ปฏิบัติได้ง่าย) จำนวนคู่แข่ง สถานะการผ่านการประเมิน GPP ของร้านยา จำนวนปีที่เปิดดำเนินการ และเงินทุนสำหรับใช้ในการปรับปรุงร้านเพื่อให้ผ่านเกณฑ์ สามารถทำนายความสามารถในการปฏิบัติตามข้อกำหนด GPP ขั้นที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.002, 0.012, 0.015 และ 0.007 ตามลำดับ) สรุป: การสนับสนุนให้ร้านยาสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนด GPP ขั้นที่ 2 ควรให้ความสำคัญกับร้านที่มีคู่แข่งมากกว่า 2 ร้านขึ้นไป ร้านที่ต้องรับการประเมิน GPP ขั้นที่ 2 ร้านยาที่เปิดดำเนินการ มากกว่า 7 ปีขึ้นไป และร้านที่ต้องใช้เงินทุนสำหรับใช้ในการปรับปรุงร้านเพื่อให้ผ่านเกณฑ์มากกว่า 200,000 บาท

คำสำคัญ: วิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนตามหลักบันไดขั้นที่ 2, วิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน,ร้านยา,  กฎหมายยา


ABSTRACT

Objective: To determine the factors influencing compliance with the regulation on the stage 2 of the Good Pharmacy Practice (GPP) among drugstores in Bangkok. Methods: This survey research collected data from a convenient sample of 108 pharmacy owners or practicing pharmacistsusing online or mail questionnaires, and telephone interviews between December 2020 and February 2021. The questionnaire developed by the researchers to collect general information of drugstores and difficulty in complying with the regulation on the stage 2 of the GPP with 4 domains including premises, equipment, personnel, and GPP. Results: 44.44% of subjects were pharmacy owners who were also practicing pharmacists. The majority of drugstores were located on the main road (39.8%) with 2 or less competitors (63.9%), having operated for less than 3 years (49.1%), having more than 45 m2 of space (35.2%). Most drugstores opened 7 days per week (69.4%), having business hour was not more than 12 hours per day (63.9%) with monthly income of 200,000 to 500,000 baths (37.0%). Their funding for refurbishment to meet the criteria was less than 50,000 baht (31.5%). Most of the drugstores had passed the full GPP assessment (77.8%). Pharmacies could easily comply with all 4 domains of the Criteria (mean score of 1.33±0.57, with 3 = very difficult to implement and 1 = easy to implement). Number of competitors, status on GPP assessment, number of years in operation, and funding for refurbishment to meet the Criteria were statistically significant predictors of the stage 2 of GPP compliance (P = 0.002, 0.012, 0.015 and 0.007, respectively). Conclusion: Efforts to encourage pharmacies to comply with the stage 2 of GPP requirements should target at drugstores with more than 2 competitors, those requiring the stage 2 GPP assessment, those operating for more than 7 years and those requiring more than 200,000 baht for renovation in order to pass the Criteria.

Keywords: stage 2 of the Good Pharmacy Practice, Good Pharmacy Practice, drugstores, Drug Act.


ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชนตามหลักบันไดขั้นที่ 2 ของร้านขายยาแผนปัจจุบันในเขตกรุงเทพมหานคร Factors Influencing Compliance with Regulation on the Second Stage of the Good Pharmacy Practice among Drugstores in Bangkok

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Pharmacy, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 168
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code