- KB Home
- หลักสูตรปริญญาตรี|Bachelor Degree
- คณะวิทยาศาสตร์
- -สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร
- การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตอาหารสัตว์บรรจุเพ้าซ์
ชื่อโครงงาน: Project Title: |
การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตอาหารสัตว์บรรจุเพ้าซ์ Increasing Efficiency of Productivity for PET Pouch Processes |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นางสาวปติมา ชะเสริมไพร Miss Patima Chachrempai |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
ผศ.ดร.ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ Asst. Prof. Tunyaporn Sirilert |
ระดับการศึกษา: Degree: |
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) Bachelor of Science |
ภาควิชา: Major: |
เทคโนโลยีการอาหาร Food Technology |
คณะ: Faculty: |
วิทยาศาสตร์ Science |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
3/2561 3/2018 |
การอ้างอิง/citation
ปติมา ชะเสริมไพร. (2561). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตอาหารสัตว์บรรจุเพ้าซ์. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด เป็นบริษัทแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลาทูน่าในรูปแบบบรรจุกระป๋อง และแปรรูปอาหารสัตว์ในภาชนะบรรจุชนิดอ่อน (เพ้าซ์) เป็นหลัก เนื่องจากปัจจุบันในส่วนของกระบวนการผลิตอาหารสัตว์บรรจุเพ้าซ์มีประสิทธิภาพในการทำงานลดต่ำลงเหลือ 143 Unit/MHr พบว่าสาเหตุมาจากความสูญเสียเวลาในกระบวนการทำงาน เช่น การรอปลา และการขนส่ง เป็นต้น ตามนโยบายแผนการผลิตจึงเสนอให้แก้ไขปรับปรุงกระบวนการผลิตและกำหนดให้ค่าเป้าหมายการผลิตไว้ที่ 165 Unit/MHr จากการศึกษาสาเหตุหลักที่แท้จริงของปัญหา โดยใช้หลักการ QC-Story และเครื่องมือวิเคราะห์คุณภาพ 7 ชนิด ในกระบวนการผลิตอาหารสัตว์บรรจุเพ้าซ์ จากการสำรวจหน้างาน พบว่าสาเหตุหลัก คือ 1) ความสูญเสียเวลาจากการสูญเสียความเร็วในการใช้เวลาเดินไปท็อปปิ้งของพนักงานนานคิดเป็น 16% 2) ความสูญเสียจากการรอปลาคิดเป็น 2% จากการรอกะบะใส่ปลา พนักงานขนส่งรอปลาครบตามบิล รถจอดห่างจากจุดขนส่ง โต๊ะคลุกผสมกว้าง เมื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขสาเหตุ พบว่าแผนกบรรจุสามารถปรับเปลี่ยนหน้าที่ของพนักงานขณะรอปลาโดยให้ประจำจุดท็อปปิ้งแทน และแผนกควบคุมสามารถจัดการผลิตรอบการส่งกะบะเปล่าเพิ่มขึ้นเป็นทุกๆ ชั่วโมง และปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของพนักงานขนส่ง กับพนักงานโต๊ะคลุกผสม เมื่อดำเนินการติดตามหลังลงมาตรการ พบว่าสามารถลดความสูญเสียเวลาที่เกิดจากการสูญเสียความเร็วของพนักงานลงคิดเป็น 15.9% โดยลดเวลาการสูญเสียของพนักงานเดินไปเติมท็อปปิ้ง 93.98% และสามารถลดความสูญเสียเวลาจากการรอปลาคิดเป็น 0.5% จากการจัดรอบส่งกะบะเปล่า ลดเวลาความสูญเสียพนักงานรอปลาครบตามบิล 4.86% ลดเวลาสูญเสียจากการขนส่ง 80.26% และลดเวลาสูญเสียคลุกผสม 55.37% ตามลำดับ โดยพบว่าบริษัทมีประสิทธิภาพผลิตอาหารแมวบรรจุเพ้าซ์เพิ่มขึ้น 156.1 Unit/MHr คิดเป็น 3.1 % ตรงตามเป้าที่นโยบายของบริษัทกำหนด ซึ่งปัจจุบันบริษัทยังคงใช้มาตรการดังกล่าวเป็นแบบแผนการดำเนินงานของโรงงานอย่างต่อเนื่อง
คำสำคัญ: อาหารสัตว์, กระบวนการผลิตเพ้าซ์, การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
Abstract
Thai Union Manufacturing Co.Ltd is one of the seafood processing company which mainly produce canned tuna products and pet foods in pouchs. Currently, the level of pet food production has decreased to 143 Unit/MHr as a result of time lost during the processes, for example, waiting and transportation processes. According to the policy of production plan, process improvement has been suggested and productivity is set at 165 Unit/MHr. The cause of the problem was analyzed by using the QC-Story principles and 7 quality analysis tools in the pet food production process. From a survey method, it found that the main cause were: 1) the loss of time from employee’s walking speed for topping took a long time, accounting for 16% and 2) loss of time for the waiting process and transportation, accounting for 2%. After setting guidelines for a solution, staff of packing section was adjusted from waiting spot to be at the topping spot instead. For the control section, the production was adjusted by increasing the time of empty basket sending every hour. Moreover, the working methods of staff at transportation and mixing section was adjusted. The results indicated that these methods could decrease loss of time from employee’s walking speed to 15.9%, loss of time for topping to 93.98% and loss of time for waiting process to 0.5%. After increasing time of empty basket sending, it could decrease loss of time for waiting, transportation and mixing to 4.86%, 80.26% and 55.37%, respectively. These measures resulted in an increase in productivity of pet food in pouch process to 156.1 Unit/MHr accounting for 3.1%, which consistent with the company policy. the company still use these measures as the operation plan of the factory.
Keywords: Loss of time, Pouch processes, Productivity.
การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตอาหารสัตว์บรรจุเพ้าซ์ | Increasing Efficiency of Productivity for PET Pouch Processes
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Science, Siam University, ฺBangkok, Thailand
Related:
- การกำจัดกลิ่นถั่วในน้ำนมถั่วเหลืองดิบโดยใช้แคลเซียมคาร์บอเนตร่วมกับการให้ความร้อน
- การผลิตซอสถั่วเหลืองโซเดียมต่ำโดยใช้กระบวนการแยกสารผ่านเยื่อด้วยไฟฟ้า
- การศึกษาของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสินค้าชนิด Filament IQF (Jumbo Stick)
- สมบัติทางเคมีกายภาพ จุลินทรีย์ และอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เต้าหู้หลอดไข่ไก่ และเต้าหู้หลอดถั่วเหลืองที่อุณหภูมิต่างๆ
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกอิมัลชั่นจากฟองเต้าหู้
- การประเมินอายุการเก็บรักษาผงปรุงรสบาร์บีคิว
- ต้มยำนํ้าข้นบรรจุกระป๋อง
- การวิเคราะห์จุดปนเปื้อนเชื้อราและยีสต์ในกระบวนการผลิตวุ้นเส้น
- การศึกษาลักษณะการเกิดของเสียจากสินค้าที่ผ่านกระบวนการพาสเจอไรซ์
- ศึกษากระบวนการผลิตและตรวจสอบคุณภาพน้ำเต้าหู้